ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam)
ประเทศบรูไนตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ บอร์เนียว แบ่งเป็นสี่เขตคือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong มีพื้นที่ทั้งสิ้น 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน มีประชากรทั้งสิ้น 37,000 คน มีอัตราการเพิ่มของประชากรปีละ 2 เปอร์เซ็นต์ ค่า GDP เท่ากับ 11.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีอัตราการเติบโตของGDP อยู่ที่ ร้อยละ 0.4 นับเป็นประเทศที่ค่อนข้างร่ำรวยในอาเซียน GDP เฉลี่ย ต่อคนเป็นอันดับที่สามในเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ บรูไนมีน้ำมันมากเป็นอันดับสามในภูมิภาคอาเซียน รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย จึงมีรายได้ หลักจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติโดยส่งออกไปยังญี่ปุ่น อังกฤษ ไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ในขณะเดียวกัน บรูไนฯ นำเข้าสินค้าส่วนใหญ่จากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯ มาเลเซีย โดยเป็น สินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่าง ๆ และสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว และผลไม้
บรูไน กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลักไปสู่ โครงสร้างเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากเริ่มตระหนักว่าประเทศชาติจะพึ่งพิงรายได้จาก ทรัพยากรเพียงสองอย่างนี้ไม่ได้ แต่ควรหันมาให้ความสนใจกับทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่ยังคงมีมากมาย เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำ และพื้นที่อันอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเกษตร เพื่อเป็นการเร่งรัดการพัฒนา รูปแบบของการลงทุน สุลตานบรูไนได้ทรงตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่คือกระทรวงอุตสาหกรรมและ ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ดูแลวางแผนและดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนโดยเฉพาะ โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนและเร่งรัดส่งเสริมเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับภาคเกษตร ป่าไม้ และการประมง
รัฐบาลบรูไนได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีบทบาทมากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมการ ลงทุนกับต่างประเทศและมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้าและสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ไม่เฉพาะแต่บริษัทในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต่าง ๆ จากกลุ่มอาเซียนและนานาประเทศด้วย นอกจากนี้ รัฐบาล บรูไน ฯ มีนโยบายพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism SHuTT 2003 Vision) และเป็นตลาดการขนถ่ายสินค้า ที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้อีกด้วย
การประมงทะเลของประเทศบรูไนดารูซาลัม มีมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่มากนักเมื่อเทียบกับรายได้ของ ประเทศที่ได้จากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ อย่างไรก็ตามสัตว์น้ำจัดว่าเป็นอาหารโปรตีนที่มีความสำคัญต่อ ประชากรของบูรไน คนบรูไนรับประทานปลาสูงถึงคนละ 45 กิโลกรัมต่อปี ทำให้บรูไนต้องนำเข้าอาหาร ทะเลเพื่อการบริโภคปีละ 7,750 ตัน หรือร้อยละ 50 ของความต้องการบริโภคปลาทั้งหมด 15,500 ตัน นอกจากนี้อุตสาหกรรมประมง ป่าไม้ การเกษตรนับเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับบรูไนเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็น 10.72% และเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าส่งออกเป็นอันดับ 5 ของประเทศ โดยโรงงานผลิต สินค้าประเภทปลาในบรูไนส่วนใหญ่ในเวลานี้เริ่มส่งสินค้าเหล่านี้ออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศมากขึ้น
บรูไนได้รับประโยชน์จากการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ ทำให้มีแหล่งน้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติซึ่งทำรายได้หลักให้กับประเทศทำให้การพัฒนาด้านการประมงไม่มีความจำเป็นมากนัก อย่างไรก็ ตามรัฐบาลไม่ต้องการพึ่งพาเศรษฐกิจจากน้ำมันและก๊าซเพียงอย่างเดียว จึงหันมาส่งเสริมการทำประมง พาณิชย์อย่างจริงจังโดยให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย ปัจจุบันบรูไนมีชาวประมงเพียง 925 คน โดยส่วน ใหญ่เป็นชาวประมงขนาดเล็ก
ในขณะที่ส่งเสริมให้มีการทำประมง รัฐบาลก็มีการควบคุมไม่ให้ การทำประมงเกินศักย์สูงสุดที่มีอยู่ จึงอนุญาตให้ทำการประมงได้เพียงร้อย ละ 80 ของศักย์การผลิตสูงสุด หรือประมาณ 21,300 ตันต่อปี แบ่งออกเป็น ปลาหน้าดิน 12,500 ตัน และปลาผิวน้ำ 8,800 ตัน นอกจากนี้น่านน้ำของ บรูไนยังเป็นเส้นทางอพยพย้ายถิ่นของปลาทูน่าด้วย บรูไนจึงวางแผนการ สำรวจ และการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย
ในปี 2544 บรูไนมีผลผลิตจากการจับปลาทะเลประมาณ 10,343 ตัน
และได้ส่งเสริมให้มีการทำ ประมงพาณิชย์มากขึ้น
โดยการใช้เรือติดเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ทำการประมงอวนลาก และอวนล้อมในทะเล
ที่ใกล้ฝั่งออกไป บรูไนแบ่งเขตการทำการประมงทะเลเป็น 3 เขต คือ เขต 1, 2 และ 3
โดยขออนุญาตให้ เรือประมงพาณิชย์ทำการประมงในเขต 2 และ 3 เท่านั้น เขต 2 ระยะ
ระหว่าง 3-20 ไมล์ทะเล เขต 3 ระยะ ระหว่าง 20-45 ไมล์ทะเล
โดยเครื่องมือประมงที่อนุญาตให้ทำการประมงในเขต 2 และ 3 ได้แก่ อวนลาก อวนล้อม
และเบ็ดราวทูน่า
บรูไนมีการเชิญชวนให้ต่างชาติไปลงทุนจับปลาในบรูไนได้ด้วย
โดยการทำประมงในน่านน้ำบรูไน จะต้องดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุน(joint-venture)
หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ผู้ประกอบการบรูไนสามารถเช่า เรือประมงต่างชาติ (chartering)
พร้อมลูกเรือเข้าไปทำการประมงในบรูไน โดยเรือต่างชาติเหล่านี้จะต้องทำ
การประมงในเขต 3 หรือระยะ 20 ไมล์ทะเลออกไป และต้องใช้อวนลากปลาที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า
38 มิลลิเมตร และจะต้องนำปลาไปขึ้นที่ท่าที่กำหนดก่อนส่งออกไปยังประเทศต่างๆ
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการบรูไน จำนวน 2 บริษัท สามารถเช่าเรือประมงต่างชาติจำนวน 19 ลำเข้าไป ทำการประมงอวนลาก อวนล้อม และเบ็ดราว ในบรูไนได้
|| หน้าถัดไป >>
รัฐบรูไนดารุสซาลาม
ข้อมูลทั่วไป
เกร็ดความรู้และวัฒนธรรมบรูไน
มาตรการ/กฏระเบียบทางการค้าบรูไน
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและบรูไน