ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam)

การประมงไทยในบรูไนดารูซาลัม

สำหรับประเทศไทยนั้น ได้เคยมีผู้ประกอบการไทยนำเรือไปให้เช่าจำนวน 6 ลำ แต่เมื่อทำการ ประมงไปได้ระยะหนึ่งก็ประสบปัญหาว่าด้วยระเบียบปฏิบัติ และความคุ้มทุนเนื่องจากพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตมี ปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำไม่มากนัก ประกอบกับสภาพท้องทะเลมีความลึกมากและเป็นพื้นโคลนที่ไม่เหมาะ สำหรับทำการประมง จึงได้ถอนเรือออกมา

ล่าสุดในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู เมื่อ 13-15 มกราคม 2550 ไทยและบรูไนได้ จัดตั้งกลไกความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกัน ซึ่งได้มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความสัมพันธ์และความ ร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การทหาร การค้า การลงทุน (รวมทั้งการประมง อุตสาหกรรม ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย) แรงงาน ความร่วมมือด้านวิชาการ การท่องเที่ยว และ การ สื่อสารและ วัฒนธรรม ผลการประชุมแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง ประเทศให้มีความคืบหน้ามากยิ่งขึ้น

  • เนื่องจากบรูไนเน้นเรื่องการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้การ พัฒนาด้านการประมงยังมีไม่มากนัก ส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์และ สามารถรองรับการพัฒนาและขยายกิจการประมงทะเลเพิ่มขึ้นได้
  • ผลการเยือนบรูไนในปี 2544 ฝ่ายไทยเสนอให้มีความร่วมมือด้านการประมงไทย-บรูไนมากขึ้น ใน ลักษณะเดียวกันกับความร่วมมือด้านการประมงไทย–มาเลเซีย (ซาราวัก) ขณะนี้ บรูไนเช่าเรือไทย ไปทำการประมงเพียง 2- 3 ลำในขณะที่ประเทศอื่น ๆ เข้าไปทำการประมงประมาณ 30 ลำแล้ว ฝ่าย ไทยเสนอให้ฝ่ายบรูไนเพิ่มการเช่าเรือประมงไทยมากขึ้น ฝ่ายไทยแจ้งด้วยว่า สมาคมการประมง ไทยพร้อมที่จะเข้าไปร่วมลงทุนกับฝ่ายบรูไนในด้านการแปรรูปสินค้าประมง

<< ย้อนกลับ ||

รัฐบรูไนดารุสซาลาม
ข้อมูลทั่วไป
เกร็ดความรู้และวัฒนธรรมบรูไน
มาตรการ/กฏระเบียบทางการค้าบรูไน
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและบรูไน

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย