ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชกำหนด บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. 2540
หน้า 2
หมวด 2
คณะกรรมการและการจัดการ
______
มาตรา 13 ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้ เป็นกรรมการ
(1) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่
เป็นโทษสำหรับความผิดได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(3) เป็นข้าราชการการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง กรรมการ บริหารพรรคการเมือง
หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(4) เป็นกรรมการหรือผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการจัดการของ สถาบันการเงิน
(5) เป็นหรือเคยเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินตาม
หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้
มาตรา 14 กรรมการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้รับ แต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการ แต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่ง เพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
มาตรา 15 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 14 กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อน ความสามารถ
(4) เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ
สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา 16 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธาน กรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็น ประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่ง ให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุม ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา 17 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุม ดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของบรรษัทภายในกรอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 อำนาจ หน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
(1) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เงินตอบแทน และค่าใช้จ่าย
(2) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การเงิน ทรัพย์สิน และการบัญชี
รวมทั้งการตรวจสอบและสอบบัญชีภายใน
(3) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานและการดำเนินกิจการ
(4) ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินราคาสินทรัพย์
และหลักประกันที่บรรษัทจะรับซื้อหรือรับโอน
(5) พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณของบรรษัท
มาตรา 18 คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้จัดการ ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี ผู้จัดการต้องสามารถปฏิบัติงานเต็มเวลาให้แก่บรรษัทและไม่มี ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 13 การแต่งตั้งและถอดถอนผู้จัดการตามวรรคหนึ่งต้องประกอบด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของกรรมการทั้งหมด มิให้นำมาตรา 9 (2) แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับ กรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการ
มาตรา 19 ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของบรรษัทให้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของบรรษัท และตามนโยบายหรือข้อบังคับ ที่คณะกรรมการกำหนด ในกิจการของบรรษัทที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้จัดการเป็นผู้แทน ของบรรษัท และเพื่อการนี้ผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ตัวแทนหรือบุคคลใดกระทำ กิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา 20 ให้กรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรี กำหนด
มาตรา 21 ในการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน บรรษัทอาจจัดให้มีการประเมินราคาสินทรัพย์นั้นโดยนิติบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจการ ประเมินราคาอิสระหรือผู้มีวิชาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน ในการนี้ให้คำนึงถึงกระแส รายรับที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย และการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ดังกล่าวต้อง ไม่เกินราคาตลาดหรือราคาประเมินกลาง
มาตรา 22 การโอนและการรับโอนสินทรัพย์ ตลอดจนสิทธิจำนอง สิทธิจำนำ หรือหลักประกันอย่างอื่น ให้บรรษัทและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับยกเว้น ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องบรรดาที่เกิดขึ้นเนื่องในการโอนและ รับโอนสินทรัพย์หรือหลักประกันของสินทรัพย์ดังกล่าว
มาตรา 23 การโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดหรือบางส่วนของสถาบัน การเงิน องค์การหรือ อบส. ไปยังบรรษัท และการโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดหรือ บางส่วนของบรรษัทไปยังสถาบันการเงิน องค์การ หรือ อบส. ให้กระทำได้โดยไม่ต้อง บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 308 วรรคสอง แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หมวด 3
การกำกับ การดำเนินงาน และการควบคุม
_______
มาตรา 25 ในกรณีที่บรรษัทขอให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ ที่บรรษัทกู้ยืมเงินจากแหล่งให้กู้ยืมในหรือนอกราชอาณาจักร ให้กระทรวงการคลัง มีอำนาจค้ำประกันเงินกู้นั้นได้ แต่จำนวนเงินกู้ที่จะค้ำประกันเมื่อรวมกับต้นเงินกู้ ที่การค้ำประกันของกระทรวงการคลังยังค้างอยู่ต้องไม่เกินสิบสองเท่าของเงิน กองทุนของบรรษัทเมื่อคำนวณเป็นเงินตราไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการค้ำประกัน ตามอำนาจที่มีอยู่ในกฎหมายใดการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยเพื่อทราบยอดรวม ของเงินกู้ตามวรรคหนึ่งให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ ธนาคารประเทศไทยกำหนดไว้ในวันทำสัญญา
หมวด 4
การจัดสรรกำไร
_______
[มาตรา 26 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดบรรษัทบริหาร สินทรัพย์สถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541]
หมวด 5
การสอบและตรวจบัญชี
_______
มาตรา 28 ให้บรรษัทจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรและขาดทุนทุกงวด หกเดือน
มาตรา 29 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือบุคคลอื่นเป็นผู้สอบบัญชีของบรรษัท ทำการตรวจสอบบัญชีรวมทั้งการเงินทุก ประเภทและเสนอรายงานผลการตรวจสอบบัญชีต่อรัฐมนตรี
มาตรา 30 ให้บรรษัทรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไร และขาดทุน ซึ่งผู้สอบบัญชีตามมาตรา 29 รับรองแล้วต่อรัฐมนตรีภายในสี่เดือน นับแต่วันสิ้นงวดการบัญชีเพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ และให้รัฐมนตรี ประกาศรายงานงบดุลและบัญชีดังกล่าวโดยเปิดเผย
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
นายกรัฐมนตรี
_____________________________
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในการแก้ไข ปัญหาระบบสถาบันการเงินและฟื้นฟูฐานะการดำเนินการของสถาบันการเงินบางแห่ง ที่ประสบปัญหา โดยการจัดตั้งองค์การของรัฐขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนิน มาตรการดังกล่าวอย่างเป็นระบบตามแนวทางสากล จำเป็นต้องจัดตั้งบรรษัทบริหาร สินทรัพย์สถาบันการเงินขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของ สถาบันการเงินดังกล่าวอันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน และโดยที่ เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ในอันจะรักษาความมั่นคง ทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ในขณะนี้ มีความจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างรวดเร็วเพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจของประเทศทั้งในภาคการเงินและภาคการลงทุน ด้วยเหตุนี้รัฐจึงได้กำหนด มาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการตรากฎหมายหลายฉบับเพื่อระดมทุนให้เกิดการ หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งในการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องทางการเงินส่วนหนึ่งนั้น ได้มีการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินขึ้นเพื่อดำเนินการรับซื้อหนี้ด้อย คุณภาพของสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่มีปัญหาในการดำเนินการมาจัดการบริหารต่อไป แต่การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของบรรษัทดังกล่าวจำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ในการรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพซึ่งตามกฎหมายปัจจุบันมีปัญหาในการเร่งระดมเงินของ บรรษัทเพราะการเพิ่มทุนกระทำได้อย่างจำกัด ทำให้ไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะรับซื้อ หนี้ด้อยคุณภาพมาบริหารให้เป็นหนี้มีคุณภาพและไม่อาจทำให้เกิดการหมุนเวียนทาง การเงินที่จะเสริมสร้างความมั่นใจในการลงทุนขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องกำหนดให้บรรษัท เพิ่มทุนได้โดยการขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปและมีมาตรการจูงใจให้มีผู้มาลงทุนใน บรรษัท รวมทั้งให้อำนาจบรรษัทในการเข้าช่วยเหลือโดยการให้กู้เงินแก่หนี้ด้อย คุณภาพซึ่งเป็นโครงการลงทุนต่าง ๆ ที่รับโอนมาเพื่อทำเป็นหนี้มีคุณภาพซึ่งจะส่งผล ให้เกิดการหมุนเวียนทางการเงินในระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอันเป็น ส่วนหนึ่งของการเสริมสภาพคล่องทางการเงินตามมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤติทาง เศรษฐกิจ และโดยที่การดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวจำเป็นต้องกระทำอย่าง รวดเร็วในขณะนี้เพื่อมิให้เกิดภาวะชงักงันทางการเงินอันจะกระทบต่อมาตรการ อื่น ๆ ขึ้นได้ จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ในการที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตรา พระราชกำหนดนี้ *
[รก.2541/23ก/11/7 พฤษภาคม 2541]
« ย้อนกลับ |