ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชกำหนด บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. 2540
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2540
เป็นปีที่ 52 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราช โองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ สถาบันการเงิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดบรรษัทบริหาร สินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. 2540"
มาตรา 2* พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *
[รก.2540/60ก/14/24 ตุลาคม 2540]
มาตรา 3 ในพระราชกำหนดนี้ "บรรษัท" หมายความว่า บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน "สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิต ฟองซิเอร์
"กองทุน" หมายความว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน การเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย
"องค์การ" หมายความว่า องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
"อบส." หมายความว่า องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2540
"เงินกองทุน" หมายความว่า ทุนประเดิมของบรรษัทตามมาตรา 9 เงินที่ได้จากการเพิ่มทุนตามมาตรา 10 เงินสำรองและกำไรสุทธิคงเหลือหลังจาก การจัดสรรแล้ว ทั้งนี้ เมื่อหักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชีออกแล้ว
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ สถาบันการเงิน
"กรรมการ" หมายความว่า กรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบัน การเงิน
"ผู้จัดการ" หมายความว่า ผู้จัดการบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้
มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตาม พระราชกำหนดนี้
หมวด 1
การจัดตั้งและเงินทุน
_______
มาตรา 6 ให้บรรษัทตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
มาตรา 7 วัตถุประสงค์ของบรรษัทมีดังต่อไปนี้
(1) ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ทุกประเภทของบริษัท เงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งสั่งโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่องค์การเห็นว่าไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟู ฐานะหรือการดำเนินการได้ หรือที่ อบส. เป็นผู้จำหน่าย รวมตลอดจนหลักประกัน ของสินทรัพย์นั้นเพื่อนำมาบริหารและจำหน่ายจ่ายโอนต่อไป
(2) ประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีการค้าง ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปของสถาบันการเงินอื่นที่กองทุนเข้าถือหุ้นและ มีอำนาจในการจัดการ
มาตรา 8 ให้บรรษัทมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบ วัตถุประสงค์ของบรรษัทตามมาตรา 7 อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(1) ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้งใน และนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้
(2) ค้ำประกันหรือรับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน
(3) เรียกเก็บดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม และค่าบริการทาง การเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(4) กู้หรือยืมเงินในหรือนอกราชอาณาจักร (4 ทวิ)* ให้กู้แก่ลูกหนี้ของ อบส. บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และสถาบันการเงินอื่นตามมาตรา 7
(5) ออกหุ้นกู้ ตั๋วเงิน หรือตราสารแห่งหนี้
(6) ลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐบาล หรือองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
(7) มีเงินฝากไว้ในสถาบันการเงินตามที่คณะกรรมการเห็นว่าจำเป็น และสมควร
(8) กระทำการอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของบรรษัท *
[(4 ทวิ) เพิ่มความโดยพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบัน การเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541]
มาตรา 9 ให้กำหนดทุนของบรรษัทเป็นจำนวนหุ้นสามัญสิบล้านหุ้นมี มูลค่าหุ้นละหนึ่งร้อยบาทรวมเป็นทุนหนึ่งพันล้านบาท โดยบรรษัทจะได้รับทุนประเดิม จำนวนนี้จากรัฐบาล และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา 10 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ บรรษัทอาจเพิ่มทุนได้ การเพิ่มทุนของบรรษัทให้ทำได้โดยการออกหุ้นใหม่ ทั้งนี้ โดยอนุมัติ ของคณะรัฐมนตรีให้บรรษัทเสนอต่อประชาชนหรือบุคคลใด ๆ ตามแต่บรรษัทจะกำหนด ให้เข้าชื่อซื้อหุ้นที่ระบุในวรรคสอง ตามเวลา วิธีการและจำนวนที่บรรษัทกำหนด และให้บรรษัทจัดออกหุ้นเหล่านั้นได้ เพื่อประโยชน์ในการเสนอขายหุ้นตามวรรคสาม บรรษัทอาจเปลี่ยน มูลค่าหุ้นและจำนวนหุ้นได้ตามที่เห็นสมควร *
[มาตรา 10 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ สถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541]
มาตรา 11 เงินที่ใช้หมุนเวียนในการดำเนินกิจการประกอบด้วย
(1) เงินกองทุนของบรรษัท
(2) เงินกู้ยืมจากในและนอกราชอาณาจักร
(3) รายได้ของบรรษัท
(4) เงินที่มีผู้มอบให้
| หน้าถัดไป »