ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชกำหนด บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2540

หน้า 2

หมวด 1
การจัดตั้งและเงินทุน
_______

มาตรา 5 ให้จัดตั้งองค์การของรัฐขึ้นเรียกว่า บรรษัทตลาดรอง สินเชื่อที่อยู่อาศัย เรียกโดยย่อว่า บตท. และให้เป็นนิติบุคคล

มาตรา 6 ให้บรรษัทตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร และจะตั้ง สาขา ณ ที่ใดภายในราชอาณาจักรก็ได้ แต่การตั้งสาขาต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี ก่อน

มาตรา 7 ให้บรรษัทมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจตลาดรองสินเชื่อ ที่อยู่อาศัยและกิจการอื่นที่ส่งเสริมและพัฒนาตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย

มาตรา 8 ภายในขอบวัตถุประสงค์ของบรรษัทตามมาตรา 7 ให้บรรษัท มีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพย์สิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ทั้งในและนอกราชอาณาจักร ตลอดจนรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้

(2) รับโอนสินเชื่อของสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์

(3) ดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์

(4) ออกหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน

(5) รับประกันความเสี่ยงให้แก่ผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่ออกในการ แปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ว่าจะได้รับชำระหนี้คืนตามรูปแบบหรือวิธีการที่ ชัดเจน

(6) เรียกเก็บดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม และค่าบริการ ทางการเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(7) กู้ยืมเงินในประเทศหรือต่างประเทศเพื่อธุรกิจของบรรษัท

(8) รับฝากเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของบรรษัทเพื่อให้ การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์สำเร็จลุล่วง หรือเพื่อระดมเงินจากสถาบัน การเงินและตลาดการเงิน แต่ไม่รวมถึงการระดมเงินฝากจากประชาชนทั่วไป

(9) ใช้เงินคงเหลืออยู่เปล่าของบรรษัทในการลงทุนเพื่อนำมา ซึ่งรายได้ตามที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ

(10) กระทำการอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของบรรษัท การออกหลักทรัพย์หรือการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ให้บรรษัท ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมาย ว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ แล้วแต่กรณี

มาตรา 9 ในการที่บรรษัทดำเนินการลงทุนในสินทรัพย์ใดให้บรรษัท และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 14 ถึงมาตรา 21 แห่งพระราช กำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ.2540 นั้นด้วย โดยอนุโลม

มาตรา 10 ให้กำหนดทุนประเดิมของบรรษัทเป็นจำนวนหนึ่งพันล้านบาท โดยจ่ายจากเงินสำรองเพื่อรักษาระดับกำไรนำส่งรัฐของธนาคารแห่งประเทศไทย

มาตรา 11 การเพิ่มทุนของบรรษัทให้กระทำโดยได้รับการจัดสรรจาก เงินงบประมาณแผ่นดินหรือจากแหล่งเงินอื่นโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

มาตรา 12 เงินที่ใช้หมุนเวียนในการดำเนินกิจการประกอบด้วย

(1) เงินกองทุน
(2) เงินที่ได้มาโดยการออกหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน ของบรรษัท
(3) เงินกู้ยืมจากในประเทศและต่างประเทศ
(4) รายได้ของบรรษัท
(5) เงินที่มีผู้มอบให้
(6) เงินจากแหล่งเงินอื่นที่รัฐมนตรีอนุมัติ

หมวด 2
คณะกรรมการและการจัดการ
 ________

มาตรา 13 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการบรรษัท ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมที่ดิน ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมาย ผู้แทนธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้แทน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก ไม่เกินสี่คนเป็นกรรมการ และผู้จัดการเป็นกรรมการและเลขานุการ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้วยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี โดยในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชนอย่างน้อยสองคน

มาตรา 14 กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ สามปี ในกรณีที่กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือ ในกรณีที่แต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว ยังมีวาระ อยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้น อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้ง กรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อ ดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกิน สองวาระติดต่อกัน

มาตรา 15 นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 14 กรรมการ ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือ หย่อนความสามารถ
(4) เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

มาตรา 16 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการ ไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานใน ที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่ง ให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุม ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา 17 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแล โดยทั่วไปซึ่งกิจการของบรรษัทภายในขอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 อำนาจหน้าที่ เช่นว่านี้ให้รวมถึง

(1) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เงินตอบแทน และค่าใช้จ่าย
(2) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การเงิน ทรัพย์สิน และการบัญชี รวมทั้งการตรวจสอบสอบและสอบบัญชีภายใน
(3) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานและดำเนินกิจการ
(4) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณสมบัติของลูกหนี้สิ้นเชื่อ ที่อยู่อาศัย ซึ่งบรรษัทจะรับโอน
(5) กำหนดมาตรฐานสัญญาสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่บรรษัทจะรับโอน
(6) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินราคาสินทรัพย์ที่บรรษัท จะรับโอน ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และการรับประกัน ความเสี่ยงให้แก่ผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่บรรษัทออกในการแปลงสินทรัพย์เป็น หลักทรัพย์
(7) พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณบรรษัท

มาตรา 18 คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร คณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้จัดการและกรรมการในคณะกรรมการไม่น้อยกว่า สามคนและไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการบริหาร และกำหนดให้กรรมการบริหาร คนหนึ่งนอกจากผู้จัดการเป็นประธานกรรมการบริหาร ให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

มาตรา 19 เพื่อประโยชน์แก่กิจการของบรรษัท ให้คณะกรรมการ มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งของบรรษัทได้

มาตรา 20 คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้จัดการด้วย ความเห็นชอบของรัฐมนตรี การแต่งตั้งและถอดถอนผู้จัดการตามวรรคหนึ่งต้องประกอบด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของกรรมการทั้งหมด ผู้จัดการไม่เป็นพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐาน สำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ

มาตรา 21 ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของบรรษัท ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของบรรษัท และตามนโยบายหรือ ข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด ในกิจการของบรรษัทที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้จัดการเป็น ผู้แทนของบรรษัท และเพื่อการนี้ผู้จัดการจะมอบอำนาจให้ตัวแทนหรือบุคคลใด กระทำกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการ กำหนด

มาตรา 22 ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการ บริหาร กรรมการบริหารและอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรี กำหนด

« ย้อนกลับ | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย