ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชกำหนด บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2540

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2540
เป็นปีที่ 52 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดบรรษัท ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2540"

มาตรา 2* พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *

[รก.2540/29ก/20/28 มิถุนายน 240]

มาตรา 3 ในพระราชกำหนดนี้

"บรรษัท" หมายความว่า บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย

"ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย" หมายความว่า การทำธุรกรรมทางการเงิน ที่เกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ และการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์

"สินทรัพย์" หมายความว่า สิทธิเรียกร้องหรือสิทธิอื่นใดที่จะก่อให้เกิด กระแสรายรับขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะแน่นอนหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับ สินเชื่อที่อยู่อาศัย

"หลักทรัพย์" หมายความว่า หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์

"ตราสารทางการเงิน" หมายความว่า ตั๋วเงิน และตราสารหนี้ หรือตราสารทุนตามที่คณะกรรมการกำหนด

"การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์" หมายความว่า การแปลงสินทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็น หลักทรัพย์

"เงินกองทุน" หมายความว่า ทุนประเดิมตามมาตรา 10 เงินที่ได้ จากการเพิ่มทุนตามมาตรา 11 เงินสำรอง และกำไรสุทธิคงเหลือหลังจากการ จัดสรรแล้ว ทั้งนี้ เมื่อหักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชีออกแล้ว รวมทั้ง เงินสำรองจากการตีราคาสินทรัพย์

"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการบรรษัทตลาดรองสินเชื่อ ที่อยู่อาศัย

"กรรมการ" หมายความว่า กรรมการบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย

"ผู้จัดการ" หมายความว่า ผู้จัดการบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกำหนดนี้

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราช กำหนดนี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

| หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย