ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2539
เป็นปีที่ 51 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ พ.ศ. 2539"

มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติแห่งหมวด 3 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป

*[รก.2539/42ก/1/27 กันยายน 2539]

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

"ข้าราชการ" หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัย ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการครู ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการ ทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตาม กฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และข้าราชการซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการ ตามพระราชบัญญัตินี้

"กองทุน" หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

"สมาชิก" หมายความว่า สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

"เงินเดือน" หมายความว่า เงินเดือนที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ นั้น ๆ รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชาสำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็น ปกติ สำหรับการสู้รบ หรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิดแต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่น

"เงินสะสม" หมายความว่า เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัตินี้

"เงินสมทบ" หมายความว่า เงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเงินสะสมตามพระราช บัญญัตินี้

"เงินประเดิม" หมายความว่า เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่ สมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด 3 ใช้บังคับและเลือกรับบำนาญ

"เงินชดเชย" หมายความว่า เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่ สมาชิกซึ่งรับบำนาญ

"บำนาญ" หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนเมื่อสมาชิกภาพของ สมาชิกสิ้นสุดลง

"บำเหน็จ" หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิก โดยจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อ สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง

"บำเหน็จตกทอด" หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทโดยจ่ายให้ครั้งเดียวใน กรณีที่สมาชิกหรือผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย

"เวลาราชการ" หมายความว่า เวลาตั้งแต่วันที่สมาชิกเริ่มรับราชการจนถึงวัน สุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และให้ หมายความรวมถึงการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย

"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

"กรรมการ" หมายความว่า กรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

"เลขาธิการ" หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ

"พนักงาน" หมายความว่า พนักงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

"ลูกจ้าง" หมายความว่า ลูกจ้างของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

*[นิยามคำว่า "ข้าราชการ" แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542]

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

 | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย