ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494

ในพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ให้ไว้ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2494
เป็นปีที่ 6 ในรัชกาลปัจจุบัน

หน้า 3

หมวด 3
ความสัมพันธ์กับรัฐบาล
_______

มาตรา 38 ในการดำเนินกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้คำนึงถึงประโยชน์ ของรัฐและประชาชนและความปลอดภัย

มาตรา 39 การรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะ รัฐมนตรีก่อน จึงจะดำเนินกิจการดังต่อไปนี้ได้ คือ (1) สร้างทางรถไฟสายใหม่ (2) เลิกสร้างทางรถไฟที่ได้เริ่มสร้างแล้ว หรือเลิกกิจการในทางซึ่งเปิดเดินแล้ว (3) เพิ่มหรือลดทุน *(4) กู้ยืมเงิน ให้กู้ยืมเงิน ลงทุน ร่วมลงทุน หรือออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใด เพื่อการลงทุน (5) จำหน่ายอสังหาริมทรัพย์

*[แก้ไขเพิ่มเติม (4) และยกเลิก (6) และ (7) โดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535]

มาตรา 40 ข้อบังคับดังกล่าวในมาตรา 25 (3) และ (4) ต้องเสนอรัฐมนตรีโดย ไม่ชักช้า เพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ในระหว่างที่รอการพิจารณาของรัฐมนตรีนั้น ให้ใช้ ข้อบังคับนั้นไปพลางก่อน และถ้ารัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบข้อบังคับดังกล่าวเป็นอันใช้ไม่ได้ ต่อไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระทั่งกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้ข้อบังคับนั้น

มาตรา 41 การรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องไม่วางระเบียบว่าด้วยการใช้รถไฟ บริการ และความสะดวกต่าง ๆ ตลอดจนการกำหนดค่าภาระการใช้รถไฟ บริการ และความ สะดวกเช่นว่านั้นอันจะเป็นการขัดกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีในทางเศรษฐกิจและการคลัง ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งนโยบายดังกล่าวในวรรคก่อนให้คณะกรรมการทราบ

มาตรา 42 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำงบประมาณประจำปียกเป็นงบ ลงทุนและงบทำการ สำหรับงบลงทุนให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ส่วนงบทำการให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ

มาตรา 43 รายได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับจากการดำเนินงานให้ตกเป็น ของการรถไฟแห่งประเทศไทยสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รายได้ที่ได้รับในปีหนึ่ง ๆ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายสำหรับดำเนินงานค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม เช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา และเงินสมทบกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงาน ในการรถไฟแห่งประเทศไทยและครอบครัว เงินสำรองธรรมดาซึ่งตั้งไว้เผื่อขาด เงินสำรอง ขยายงาน และเงินลงทุนตามที่ได้รับความเห็นชอบตามความในมาตรา 42 แล้ว เหลือเท่าใดให้นำ ส่งเป็นรายได้ของรัฐ แต่ถ้ารายได้มีจำนวนไม่พอสำหรับรายจ่ายดังกล่าว นอกจากเงินสำรองที่ระบุไว้ ในวรรคก่อน และการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่สามารถหาเงินจากทางอื่น รัฐพึงจ่ายเงินให้แก่การ รถไฟแห่งประเทศไทยเท่าจำนวนที่ขาด

มาตรา 44 ให้คณะกรรมการทำรายงานปีละครั้งเสนอรัฐมนตรีรายงานนี้ให้ กล่าวถึงผลงานในปีที่ล่วงแล้วของการรถไฟแห่งประเทศไทย และคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของ คณะกรรมการ โครงการและแผนกงานที่จะจัดทำในภายหน้า

หมวด 4
การร้องทุกข์และการสงเคราะห์
_______

มาตรา 45 ให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีสิทธิร้องทุกข์เกี่ยวกับ การลงโทษได้ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา 46 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดให้มีกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทยและครอบครัวในกรณี พ้นจากตำแหน่ง ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย หรือกรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ การจัดให้ได้มาซึ่งกองทุนดังกล่าวในวรรคก่อน การกำหนดประเภทของผู้ที่พึง ได้รับการสงเคราะห์จากกองทุนและหลักเกณฑ์การสงเคราะห์ตลอดจนการจัดการเกี่ยวกับกองทุน ให้เป็นไปตามข้อบังคับซึ่งคณะกรรมการกำหนด ข้อบังคับดังกล่าวในวรรคก่อน ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ ความเห็นชอบแล้ว ให้ใช้บังคับได้

หมวด 5
การบัญชี การสอบ และการตรวจ
_______

มาตรา 47 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีอัน ถูกต้อง แยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ มีการสอบบัญชีภายในเป็นประจำและมีสมุดบัญชีลง รายการ (1) การรับและจ่ายเงิน (2) สินทรัพย์และหนี้สินซึ่งแสดงการงานที่เป็นอยู่ตามจริงและตามที่ควรตาม ประเภทงานพร้อมด้วยข้อความอันเป็นเหตุที่มาของรายการนั้น ๆ

มาตรา 48 ทุกปีให้คณะกรรมการตั้งผู้สอบบัญชีคนหนึ่งหรือหลายคนเพื่อสอบ และรับรองบัญชีของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเป็นปี ๆ ไป

ห้ามมิให้ตั้งประธานกรรมการ กรรมการ ผู้ว่าการ ผู้อื่นซึ่งเป็นผู้แทนของ การรถไฟแห่งประเทศไทย พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือผู้มีส่วนได้เสียใน การงานที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดทำ เป็นผู้สอบบัญชี

มาตรา 49 ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุด บัญชีและเอกสารหลักฐาน ของการรถไฟแห่งประเทศไทยในเวลาอันสมควรได้ทุกเมื่อ และเพื่อการสอบบัญชี ให้มีอำนาจ ไต่ถามสอบสวนประธานกรรมการ กรรมการ ผู้ว่าการ และผู้แทน หรือพนักงานของการรถไฟ แห่งประเทศไทย

มาตรา 50 ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานว่าด้วยข้อความคำชี้แจงอันควรแก่การ สอบบัญชีที่ได้รับ ตลอดจนความสมบูรณ์ของสมุดบัญชีที่การรถไฟแห่งประเทศไทยรักษาอย และต้องแถลงด้วยว่า (1) งบดุลและบัญชีซึ่งตรวจสอบนั้นถูกต้องตรงกับสมุดบัญชีเพียงไรหรือไม่ (2) งบดุลและบัญชีซึ่งตรวจสอบนั้นแสดงการงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่เป็นอยู่ตามจริงและตามที่ควร ตามข้อความคำชี้แจงและความรู้ของผู้สอบบัญชีเพียงไรหรือไม่

มาตรา 51 ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจบัญชีของการรถไฟ แห่งประเทศไทยในเมื่อรัฐมนตรีร้องขอ

มาตรา 52 ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันหลังจากวันสิ้นปีบัญชีของการรถไฟแห่ง ประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยจะต้องโฆษณารายงานประจำปี แสดงบัญชีงบดุล บัญชี ทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน เพียงสิ้นปีบัญชี พร้อมกับรายงานของผู้สอบบัญชีที่คณะกรรมการ ตั้งขึ้นตามความในมาตรา 48

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

____________________________

พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2502

มาตรา 7 ผู้ว่าการ หรือพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้ใดมีอายุครบ หกสิบปีบริบูรณ์แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ภายใน ระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ เก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และถ้าไม่ได้รับการต่ออายุการทำงานตามความใน มาตรา 33 ทวิ ก็ให้พ้นจากตำแหน่งในวันถัดจากวันครบกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับ

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการรถไฟ แห่งประเทศไทยฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมแก่การบริหาร กิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าไปได้เท่าที่ควร จึงจำต้องแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทย

[รก.2502/62/5พ./12 มิถุนายน 2502]

____________________________

พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2509

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การรถไฟแห่งประเทศไทย มีความประสงค์จะช่วยส่งเสริมกิจการโรงแรมในต่างจังหวัดให้เจริญยิ่งขึ้น แต่โดยที่พระราชบัญญัติ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ไม่ได้บัญญัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจที่จะ ดำเนินการดังกล่าวได้อย่างแจ้งชัด จึงสมควรแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินกิจการโรงแรมและภัตตาคารได้ และในขณะเดียวกัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนผู้ว่าการหรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการในกรณีที่ผู้ว่าการ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือเมื่อตำแหน่งผู้ว่าการว่างลงเสียด้วย

[รก.2509/65/10พ./1 สิงหาคม 2509]

____________________________

พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2524)

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการ รถไฟแห่งประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการได้มาและการเข้าครอบครองซึ่งอสังหา ริมทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่การสร้างทางรถไฟโดยเฉพาะ ในการนี้เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อกำหนดเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการรถไฟขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

[รก.2524/164/1พ./2 ตุลาคม 2524]

____________________________

พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2530

มาตรา 4 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและประกาศ ของสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดที่ดินที่มีความจำเป็นต้องเวนคืน โดยเร่งด่วน ซึ่งออกโดยอาศัย อำนาจตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ให้คงใช้บังคับได้ การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ได้ ปฏิบัติแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นอันใช้ได้

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติว่าด้วยการ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ซ้ำซ้อนกับบทบัญญัติในกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปรับปรุง ใหม่แล้ว สมควรยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

[รก.2530/164/33พ./19 สิงหาคม 2530]

____________________________

พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการรถไฟ แห่งประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพและเหตุการณ์ ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้กระทำการต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนากิจการรถไฟแห่งประเทศให้กระทำการ ต่าง ๆ ภายในขอบวัตถุประสงค์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนากิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป และให้อำนาจผู้ว่าการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้ามาในเขตสองข้างทาง ของรางรถไฟได้เพื่อประโยชน์ในการเดินรถและสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การกำหนดอัตรา ค่าโดยสารและค่าระวางบรรทุกให้การรถไฟแห่งประเทศไทยสามารถกำหนดให้สอดคล้องกับ สภาพเศรษฐกิจได้อย่างคล่องตัว นอกจากนี้ สมควรกำหนดเครื่องแบบของพนักงานและแก้ไข เพิ่มเติมองค์ประกอบ ลักษณะ และการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการของการรถไฟแห่ง ประเทศไทย และลักษณะของผู้ว่าการให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับ กรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

[รก.2535/44/57/9 เมษายน 2535]

« ย้อนกลับ |

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย