ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494
ในพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ให้ไว้ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2494
เป็นปีที่ 6 ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นเอกเทศ พระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา จึงมีพระบรมราช โองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494
มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2494/40/4/30 มิถุนายน 2494]
มาตรา 3 ให้ยกเลิกบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ซึ่งขัดหรือแย้งกับ บทแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย หมายความว่า การรถไฟซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราช บัญญัตินี้ คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการ หมายความว่า ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจออก กฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด 1
การจัดตั้ง ทุน และเงินสำรอง
_______
มาตรา 7 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคล
มาตรา 8 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยตั้งสำนักงานใหญ่ในจังหวัดพระนคร และจะตั้งสาขาหรือผู้แทนขึ้น ณ ที่อื่นใดในราชอาณาจักรก็ได้ และจะตั้งสาขาหรือผู้แทนขึ้น ณ ต่างประเทศในเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีก็ได้
มาตรา 9* ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจที่จะกระทำการต่าง ๆ ภายใน ขอบวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 6 อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (1) สร้าง ซื้อ จ้าง รับจ้าง จัดหา จำหน่าย แลกเปลี่ยน เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม และดำเนินงานเกี่ยวกับเครื่องใช้ บริการ และความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการรถไฟ (2) ซื้อ จัดหา เช่า ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองอาศัย ให้อาศัย จำหน่าย แลก เปลี่ยน และดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ (3) กำหนดอัตราค่าภาระการใช้รถไฟ บริการ และความสะดวกต่าง ๆ ของ กิจการรถไฟ และจัดระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระค่าภาระดังกล่าว (4) จัดระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัย การใช้รถไฟ บริการ และความสะดวก ต่าง ๆ ของกิจการรถไฟ (5) กู้ยืมเงิน ให้กู้ยืมเงิน ลงทุน ร่วมลงทุน หรือออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใด เพื่อการลงทุน (6) รับส่งเงินทางรถไฟ (7) รับขนส่งคนโดยสาร สินค้า พัสดุภัณฑ์ และของอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ รถไฟ (8) ดำเนินกิจการโรงแรมและภัตตาคาร รวมตลอดถึงกิจการอื่นอันเป็นอุปกรณ์ แก่กิจการโรงแรมหรือภัตตาคาร (9) จัดบริการท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟ
*[มาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2509 และ พระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535]
มาตรา 10 ให้โอนทรัพย์สินและหนี้ทั้งสิ้นของกรมรถไฟให้แก่การรถไฟ แห่งประเทศไทย
มาตรา 11 ให้จ่ายเงิน 30,000,000 บาท จากงบประมาณรายจ่ายสามัญของ กรมรถไฟประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2494 กับเงินทั้งหมดในงบประมาณรายจ่ายวิสามัญลงทุน ที่เกี่ยวกับการรถไฟในงบเงินกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจและงบการรถไฟประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2494 ให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย
มาตรา 12 ทุนประเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ประกอบด้วย (1) สินทรัพย์ที่รับโอนมาจากกรมรถไฟเมื่อได้หักหนี้สินออกแล้ว (2) เงินที่ได้รับตามมาตรา 11
มาตรา 13 ทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยย่อมไม่อยู่ในความรับผิด แห่งการบังคับคดี
มาตรา 14 บรรดาคดี การสอบสวน หรือการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการซึ่ง กรมรถไฟเป็นคู่ความหรือเข้าเกี่ยวข้องในฐานะใด ๆ ที่ค้างอยู่ในชั้นไต่สวน สอบสวนพิจารณา หรือบังคับคดีนั้น ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นคู่ความหรือผู้เกี่ยวข้องในฐานะนั้น ๆ แล้วแต่ กรณี แทนที่กรมรถไฟและให้ถือว่าทนายความซึ่งกรมรถไฟได้แต่งตั้งไว้ในคดีหรือการพิจารณา ดังกล่าวเป็นทนายความของการรถไฟแห่งประเทศไทยต่อไปด้วย
มาตรา 15 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ บรรดา ที่กฎหมายให้ไว้แก่กรมรถไฟ
มาตรา 15 ทวิ* เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการรถไฟ ให้ผู้ว่าการหรือผู้ซึ่งได้ รับมอบหมายจากผู้ว่าการมีอำนาจสั่งให้บุคคลผู้ซึ่งปลูกสร้างสิ่งใดโดยไม่มีเหตุอันชอบด้วย กฎหมายภายในระยะสี่สิบเมตรวัดจากขอบรางรถไฟด้านริมสุดของแต่ละด้านรางรถไฟแต่ต้อง ไม่เกินเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย รื้อถอน หรือทำลายสิ่งปลูกสร้างนั้นภายในกำหนด เวลาอันสมควรได้ ถ้าไม่ปฏิบัติตามให้ผู้ว่าการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าการมีอำนาจรื้อถอน หรือทำลาย โดยผู้นั้นจะเรียกร้องค่าเสียหายไม่ได้และต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการนั้น
*[มาตรา 15 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535]
มาตรา 16 พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 และบรรดากฎข้อบังคับที่ได้ออกตามพระราชบัญญัตินั้นให้คงใช้บังคับต่อไป ทั้งนี้เพียงเท่าที่มิได้ มีความบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้และที่มิได้มีความขัดหรือแย้งต่อบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์แห่งการนำพระราชบัญญัติและกฎข้อบังคับดังกล่าวในวรรคก่อน มาใช้บังคับต่อไป ให้อ่านคำบางคำในพระราชบัญญัติและกฎข้อบังคับนั้นดังต่อไปนี้ คำว่า กรมรถไฟแผ่นดิน และคำว่า กรมรถไฟ ให้อ่านว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย คำว่า ผู้บัญชาการรถไฟแผ่นดิน และคำว่า อธิบดีกรมรถไฟ ให้อ่านว่า ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
มาตรา 17 ภายใต้บังคับมาตรา 16 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับที่ออกตาม มาตรา 15 (13) และ (14) และมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟและทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 หรือการออกกฎข้อบังคับใหม่ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ให้ทำโดย กฎกระทรวง
มาตรา 18 ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้ว่าการและพนักงานของการรถไฟ แห่งประเทศไทย เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา
มาตรา 19 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร
มาตรา 20 เงินสำรองของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ประกอบด้วย เงินสำรอง เผื่อขาด และเงินสำรองอื่น ๆ เพื่อความประสงค์แต่ละอย่างโดยเฉพาะ เช่นค่าเสื่อมราคาและค่า ทำให้ดีขึ้นเป็นต้น ตามแต่คณะกรรมการจะเห็นสมควร
มาตรา 21 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารตาม ระเบียบของคณะกรรมการซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
| หน้าถัดไป »