ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2542
เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบัน
หน้า 2
หมวด 3
ความเสียหาย
________
มาตรา 20 การพิจารณาว่ามีความเสียหายอย่างสำคัญที่เกิดแก่อุตสาหกรรมภายใน ตามมาตรา 19 (1) ต้องมีพยานหลักฐานโดยตรงสนับสนุนเกี่ยวกับกรณีดังต่อไปนี้ (1) ปริมาณของสินค้าทุ่มตลาดและผลของการทุ่มตลาดที่มีต่อราคาของสินค้าชนิด เดียวกัน (2) ผลกระทบของการทุ่มตลาดนั้นที่มีต่ออุตสาหกรรมภายใน ในกรณีมีการทุ่มตลาดสินค้าใดจากประเทศผู้ส่งออกมากกว่าหนึ่งประเทศอยู่ ระหว่างการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดพร้อมกันถ้าปรากฏว่าส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดและปริมาณ การนำเข้าจากแต่ละประเทศดังกล่าวมีจำนวนมากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำตามมาตรา 28 การพิจารณาความ เสียหายตามมาตรา 19 (1) จะประเมินผลของการนำเข้าจากแต่ละประเทศดังกล่าวรวมกันก็ได้ ถ้ากรณีมีความเหมาะสมต่อสภาพการแข่งขันในระหว่างสินค้าทุ่มตลาดด้วยกันและในระหว่าง สินค้าตลาดกับสินค้าชนิดเดียวกันในตลาดภายในประเทศ
มาตรา 21 ในการพิจารณาความเสียหายตามมาตรา 19 (1) ความสัมพันธ์ ระหว่างสินค้าทุ่มตลาดกับความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายใน จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐาน เกี่ยวข้องทั้งหมดโดนอกจากผลจากสินค้าทุ่มตลาดจะต้องพิจารณาผลจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ปรากฏว่า ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในในเวลาเดียวกันประกอบด้วย ปัจจัยดังกล่าวให้ รวมถึงปริมาณและราคาของสินค้านำเข้าที่มิได้ขายในราคาที่มีการทุ่มตลาด การที่อุปสงค์ลดลง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภค การผูกขาดตัดตอนทางการค้า การแข่งขันระหว่างผู้ผลิตใน ต่างประเทศและผู้ผลิตภายในประเทศการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ประสิทธิภาพในการส่งออก และความสามารถในการผลิต
มาตรา 22 การพิจารณาว่ามีความเสียหายอย่างสำคัญที่อาจเกิดแก่อุตสาหกรรม ภายในตามมาตรา 19 (2) ต้องมีข้อเท็จจริงสนับสนุนอันมิใช่เป็นเพียงการกล่าวอ้าง หรือการ คาดการณ์ หรือความเป็นไปได้ที่ไกลเกินเหตุ โดยจากเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เห็นได้ว่า การทุ่มตลาดนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างเห็นได้ชัดและใกล้จะเกิดขึ้น หรือมีแนวโน้มว่า อาจมีสินค้าทุ่มตลาดเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างสำคัญได้ถ้าไม่ ดำเนินการป้องกันเสียก่อน ในการนี้อาจพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ (1) อัตราเพิ่มขึ้นที่เห็นได้ชัดของสินค้าทุ่มตลาดอันแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ ว่ามีการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมาก (2) ขีดความสามารถของผู้ส่งออกได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและระบบสินค้าได้ อย่างอิสระอันแสดงให้เห็นความเป็นไปได้ว่าอาจมีการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการมีอยู่ของตลาดส่งออกอื่นที่อาจรองรับสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นประกอบด้วย (3) ความชัดเจนของผลของราคาสินค้าทุ่มตลาดที่เป็นการกดหรือลดราคาของ สินค้าชนิดเดียวกันในตลาดภายในและแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้านั้น (4) ปริมาณคงเหลือของสินค้าทุ่มตลาด
มาตรา 23 การพิจารณาว่ามีอุปสรรคล่าช้าอย่างสำคัญต่อการก่อตั้งหรือการ พัฒนาอุตสาหกรรมสร้างภายในตามมาตรา 19 (3) ต้องมีข้อเท็จจริงที่ทำให้คาดหมายได้ว่าจะทำ ให้เกิดความล่าช้าอย่างสำคัญซึ่งรวมถึง ความเป็นไปได้หรือระยะเวลาในการก่อตั้งหรือการพัฒนา อุตสาหกรรมภายในด้วย
หมวด 4
อุตสาหกรรมภายใน
________
(1) ถ้าผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันรายใดเป็นผู้นำเข้าสินค้าทุ่มตลาด หรือมีความ เกี่ยวข้องกับผู้นำเข้าสินค้าทุ่มตลาดหรือผู้ส่งออกสินค้าทุ่มตลาดจากต่างประเทศในกรณีเช่นนี้จะ ไม่ถือว่าผู้ผลิตดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมภายในก็ได้ (2) ถ้าในอาณาเขตของประเทศได้มีการแบ่งตลาดของสินค้าชนิดเดียวกันเป็น ตลาดมากกว่าหนึ่งตลาดขึ้นไป จะถือว่าผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันในแต่ละตลาดเป็นอุตสาหกรรม ภายในแยกต่างหากจากกันก็ได้ ถ้าปรากฏว่าผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันของตลาดหนึ่งขายสินค้าของ ตนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดในตลาดนั้น และผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันรายอื่นภายในประเทศมิได้ ส่งสินค้าไปยังตลาดนั้นมากพอควรแก่ความต้องการของตลาดดังกล่าว ให้ถือว่ามีผู้ผลิตมีความเกี่ยวข้องกับผู้นำเข้าสินค้าทุ่มตลาดหรือผู้ส่งออกสินค้า ทุ่มตลาดจากต่างประเทศตามวรรคหนึ่ง (1) ถ้าปรากฏว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถควบคุมอีกฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายถูกควบคุมโดยบุคคลที่สาม หรือทั้งสองฝ่ายร่วมกันควบคุมบุคคลที่สาม ทั้งนี้ ไม่ว่า โดยทางตรงหรือทางอ้อม โดยมีเหตุให้เชื่อหรือสงสัยได้ว่าผลจากการเกี่ยวข้องกันจะเป็นเหตุให้ผู้ ผลิตรายนั้นมีพฤติกรรมแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเช่นว่านั้น ในการนี้ให้ ถือว่าฝ่ายหนึ่งควบคุมอีกฝ่ายหนึ่งได้ถ้าฝ่ายแรกอยู่ในฐานะทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติที่จะยับยั้ง หรือสั่งการฝ่ายหลังได้ ในกรณีที่มีการแบ่งตลาดตามวรรคหนึ่ง (2) ความเสียหายให้พิจารณาผล ที่เกิดขึ้นเฉพาะในตลาดนั้น แม้ว่าส่วนใหญ่ของอุตสาหกรรมภายในประเทศจะไม่เสียหายก็ตาม และ ให้เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสำหรับสินค้าทุ่มตลาดที่ส่งมาเพื่อการบริโภคเฉพาะในตลาดนั้น ได้ แต่ถ้าปรากฏในทางปฏิบัติว่าการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดเฉพาะสินค้าทุ่มตลาดที่ ส่งมาเพื่อการบริโภค ในตลาดนั้นไม่อาจปฏิบัติได้ หรือเมื่อผู้ส่งออกสินค้าทุ่มตลาดไม่มีข้อเสนอ ทำความตกลงที่เหมาะสมภายในเวลาอันควรตามมาตรา 44 จะเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด จากสินค้าทุ่มตลาดทั้งหมดที่ส่งเข้ามาในประเทศไทยก็ได้
หมวด 5
การพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด
________
ส่วนที่ 1
บททั่วไป
_________
มาตรา 26 ข้อมูลข่าวสารใดเป็นข้อมูลข่าวสารที่ต้องปกปิดโดยสาระและเนื้อหา หรือผู้ให้ข้อมูลข่าวสารนั้นขอให้ปกปิด การพิจารณาจะต้องไม่กระทำการใดให้เป็นการเปิดเผย ข้อมูลข่าวสารนั้น ข้อมูลข่าวสารที่ผู้ให้ข้อมูลข่าวสารให้ปกปิดนั้น การเปิดเผยจะต้องได้รับความ เห็นชอบจากผู้นั้นก่อน และในการพิจารณาจะต้องขอให้ผู้ให้ข้อมูลข่าวสารจัดทำย่อสรุปที่สามารถ เปิดเผยได้เพื่อประกอบการพิจารณา ถ้าผู้ให้ข้อมูลข่าวสารนั้นไม่จัดทำย่อสรุปดังกล่าวและไม่แจ้ง ความยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ให้มาภายในเวลาที่กำหนด ในการนี้จะไม่รับฟังข้อมูลข่าว สารนั้นประกอบการพิจารณาก็ได้
มาตรา 27 ในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียผู้ใดปฏิเสธที่จะนำพยานหลักฐานมาแสดง หรือไม่นำพยานหลักฐานดังกล่าวมาแสดงภายในเวลาตามที่กำหนด หรือไม่ให้ความร่วมมือเพื่อให้ ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน หรือขัดขวางกระบวนการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดการพิจารณาจะรับ ฟังเพียงข้อเท็จจริงเท่าที่มีอยู่หรืออาจรับฟังไปในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้นั้นก็ได้
มาตรา 28 การพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดให้เป็นอันยุติ หากปรากฏว่าส่วน เหลื่อมการทุ่มตลาดมีจำนวนน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือมีปริมาณการนำเข้า สินค้าทุ่มตลาดน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 29 ในการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด กรมการค้าต่างประเทศหรือ คณะกรรมการ แล้วแต่กรณี จะดำเนินการเพื่อให้มีการตรวจสอบความเป็นจริงของข้อกล่าวอ้างหรือ พยานหลักฐานอันเกี่ยวกับการพิจารณาก็ได้ การตรวจสอบความเป็นจริงนั้นจะกระทำในขั้นตอนใดของกระบวนการพิจารณา ตอบโต้การทุ่มตลาดและจะกระทำในประเทศไทย ประเทศผู้ส่งออก หรือประเทศที่เกี่ยวข้องก็ได้
มาตรา 30 ก่อนที่ประกาศคำวินิจฉัยชั้นที่สุดของคณะกรรมการเกี่ยวกับผลการ ไต่สวนการทุ่มตลาดและความเสียหาย ให้กรมการค้าต่างประเทศแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบถึง ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาวินิจฉัย เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมีโอกาสยื่น ข้อโต้แย้งในการป้องกันผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียเหล่านั้น ทั้งนี้ ต้องให้ระยะเวลาอันควร สำหรับการยื่นข้อโต้แย้งดังกล่าว
มาตรา 31 เมื่อการประกาศไต่สวนการทุ่มตลาดและความเสียตามมาตรา 39 แล้ว หากพฤติการณ์มีเหตุอันควรเชื่อว่าในชั้นที่สุดอาจต้องมีการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดตั้งแต่ ก่อนวันใช้บังคับมาตรการชั่วคราว คณะกรรมการอาจขอให้กรมศุลกากรเรียกหลักประกันอากรตาม พระราชบัญญัตินี้สำหรับสินค้าที่ถูกพิจารณาที่นำเข้ามาตามระยะเวลาที่กำหนดได้ ในการนี้ ให้กรม ศุลกากรมีอำนาจเรียกหลักประกันตามจำนวนที่คณะกรรมการมีคำขอ
ส่วนที่ 2
การเริ่มต้นกระบวนการพิจารณา
_______
มาตรา 32 ให้เริ่มดำเนินกระบวนการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด เมื่อมีคำขอ ของกรมการค้าต่างประเทศหรือของบุคคลหรือคณะบุคคลตามมาตรา 33
มาตรา 33 บุคคลหรือคณะบุคคลอาจเสนอตนทำการแทนอุตสาหกรรมภายใน เพื่อขอให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดได้ โดยยื่นคำขอต่อกรมการค้า ต่างประเทศ คำขอตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันใน ประเทศซึ่งมีการผลิตรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตสินค้าชนิดเดียวกันของผู้ที่ได้แสดง ความเห็นทั้งส่วนที่สนับสนุนและส่วนที่คัดค้านรวมกัน โดยปริมาณการผลิตของฝ่ายสนับสนุนนั้น ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของปริมาณการผลิตสินค้าชนิดเดียวกันทั้งหมดในประเทศ การยื่นคำขอให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศ กำหนด
มาตรา 34 ถ้าคำขอตามมาตรา 33 มีรายละเอียดหรือหลักฐานไม่ครบถ้วนหรือ ไม่ถูกต้องให้กรมการค้าต่างประเทศแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการให้ครบถ้วนหรือถูกต้องภายในเวลา ที่กำหนด เมื่อมีคำขอมีรายละเอียดและพยานหลักฐานครบถ้วนและถูกต้องแล้ว ให้กรมการ ค้าต่างประเทศเสนอคำขอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
มาตรา 35 เมื่อคณะกรรมการได้รับคำขอตามมาตรา 32 แล้ว ให้กรมการค้า ต่างประเทศแจ้งให้รัฐบาลของประเทศผู้ส่งออกที่เกี่ยวข้องทราบถึงการมีคำขอดังกล่าว
มาตรา 36 ผู้ยื่นคำขออาจถอนคำขอได้ แต่ถ้าได้มีการประกาศไต่สวนการ ทุ่มตลาดและความเสียหายตามมาตรา 39 แล้ว คณะกรรมการจะยุติการพิจารณาตอบโต้การทุ่ม ตลาดหรือดำเนินการพิจารณาต่อไปก็ได้
มาตรา 37 ในกรณีที่คณะกรรมการมีคำวินิจฉัยว่าคำขอมีมูลเกี่ยวกับการทุ่มตลาด และความเสียหาย ให้กรมการค้าต่างประเทศดำเนินการไต่สวนต่อไปโดยไม่ชักช้า ถ้าคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยว่าคำขอนั้นไม่มีมูลเกี่ยวกับการทุ่มตลาดหรือความ เสียหายให้กรมการค้าต่างประเทศแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าวให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยไม่ชักช้า
มาตรา 38 ถ้ารัฐบาลของประเทศใดร้องเรียนว่าสินค้าทุ่มตลาดจากประเทศอื่น ที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายในของประเทศนั้น และคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยเห็นสมควรให้ดำเนินการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดตามที่ถูก กล่าวหานั้น ให้กรมการค้าต่างประเทศดำเนินการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการต่อไป โดยให้นำ บทบัญญัติในหมวดนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ แต่การพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดดังกล่าวต้อง ได้รับความเห็นชอบจากองค์การการค้าโลกก่อน เมื่อกรมการค้าต่างประเทศเห็นสมควร หรือเมื่ออุตสาหกรรมภายในร้องเรียน ว่ามีการนำสินค้าจากประเทศอื่นเข้าไปทุ่มตลาดในอีกประเทศหนึ่งและก่อให้เกิดความเสียหายต่อ อุตสาหกรรมภายในและกรมการค้าต่างประเทศเห็นว่าคำร้องดังกล่าวมีมูล ให้กรมการค้าต่างประเทศ ดำเนินการร้องขอให้ทางการประเทศนั้นดำเนินการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป หลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไป ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง