ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2542
เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาดและ การอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาด และการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542
มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่ วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2542/22ก/56/31 มีนาคม 2542]
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันการทุ่มตลาด พ.ศ. 2507
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ ความเสียหาย หมายความว่า ความเสียหายตามหมวด 3 อุตสาหกรรมภายใน หมายความว่า อุตสาหกรรมภายในตามหมวด 4 สินค้าที่ถูกพิจารณา หมายความว่า สินค้ารายที่ถูกกล่าวหาว่ามีการทุ่มตลาด หรือได้รับการอุดหนุน สินค้าชนิดเดียวกัน หมายความว่า สินค้าที่มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ กับสินค้าที่ถูกพิจารณา แต่ในกรณีที่ไม่มีสินค้าดังกล่าวให้หมายความว่าสินค้าที่คล้ายคลึงกันอย่างมาก กับสินค้าดังกล่าว ขั้นตอนทางการค้า หมายความว่า ขั้นตอนต่าง ๆ ในการจำหน่ายสินค้า ทอดตลาดต่าง ๆ จนถึงผู้บริโภค ส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด หมายความว่า ส่วนที่ราคาส่งออกจากต่างประเทศ ต่ำกว่ามูลค่าปกติ ผู้มีส่วนได้เสีย หมายความว่า (1) ผู้ผลิตในต่างประเทศ ผู้ส่งออกจากต่างประเทศ ผู้นำเข้าซึ่งสินค้าที่ถูกพิจารณา หรือสมาคมในทางการค้าที่สมาชิกมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าซึ่งสินค้าที่ถูก พิจารณา แล้วแต่กรณี (2) รัฐบาลของประเทศผู้ส่งออกซึ่งสินค้าที่ถูกพิจารณา (3) ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันภายในประเทศ หรือสมาคมในทางการค้าที่มีสมาชิก ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตสินค้าดังกล่าว หรือ (4) บุคคลอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนด อากร หมายความว่า อากรชั่วคราว อากรตอบโต้การทุ่มตลาด หรืออากรตอบโต้การอุดหนุน แล้วแต่กรณี คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการการพิจารณาการทุ่มตลาดและ การอุดหนุน
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของกรมศุลกากร และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงตามมาตรา 11 เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มี อำนาจ>ออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้
มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการใด ๆ เกี่ยวกับการพิจารณาการทุ่มตลาด การพิจารณาการอุดหนุน การพิจารณา ความเสียหายการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดและการพิจารณาตอบโต้การอุดหนุน การทบทวน มาตรการตอบโต้ รวมทั้งการดำเนินการใด ๆ อันเกี่ยวกับพระราชบัญญัตินี้ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่สมควร กฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งนั้นจะกำหนดให้กรณีหนึ่งกรณีใด อาจกระทำได้โดยออกเป็นประกาศกระทรวงพาณิชย์
หมวด 1
บททั่วไป
______
มาตรา 8 เพื่อประโยชน์ในการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ เมื่อคณะกรรมการเห็น สมควรจะมีหนังสือขอให้กรมศุลกากรดำเนินการจัดทำทะเบียนการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าใด หรือรวบรวมข้อมูลข่าวสารอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าได้ ในกรณีนี้ให้ กรมศุลกากรมีอำนาจกำหนดให้ผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออกแจ้งข้อเท็จจริงใด ๆ ตามที่คณะกรรมการ ร้องขอได้ และให้นำกฎหมายว่าด้วยศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวข้องใช้บังคับแก่กรณีนี้
มาตรา 9 ผู้ซึ่งยื่นคำขอให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด หรือพิจารณาตอบโต้การอุดหนุน ผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออกจากต่างประเทศอาจขอรายละเอียดที่ เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นฐานในการกำหนดมาตรการชั่วคราวการกำหนดอากร หรือการทบทวน อากรได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนด คำขอตามวรรคหนึ่งจะยื่นเมื่อพ้นหนึ่งเดือนนับแต่วันที่มีการกำหนดมาตรการ ชั่วคราวหรือการกำหนดอากรไม่ได้
มาตรา 10 ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้ผู้ใดอาจมีคำขอให้พิจารณา ตอบโต้การทุ่มตลาด พิจารณาตอบโต้การอุดหนุน ให้ทำความตกลง การขอให้ทบทวนมาตรการ ต่าง ๆ ตลอดจนการขอข้อมูลข่าวสารใดนั้น ให้กระทรวงพาณิชย์มีอำนาจออกประกาศกำหนดให้ มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายได้ตามความเหมาะสมแก่ภาระในการดำเนินงานดังกล่าว
มาตรา 11 การคืนอากรหรือหลักประกันการชำระอากรตามพระราชบัญญัตินี้ให้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
หมวด 2
การทุ่มตลาด
_______
มาตรา 13 การทุ่มตลาดตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ การส่งสินค้าเข้ามาใน ประเทศไทยเพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ โดยมีราคาส่งออกที่ต่ำกว่ามูลค่าปกติของสินค้าชนิด เดียวกัน
มาตรา 14 ราคาส่งออก ได้แก่ ราคาส่งออกจากประเทศผู้ส่งออกมายังประเทศ ตามที่ได้ชำระหรือควรจะมีการชำระกันจริง ในกรณีที่ไม่ปรากฏราคาส่งออกหรือราคาส่งออกนั้นไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากมีการ ร่วมมือกันหรือจัดให้มีการชดเชยประโยชน์กันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องให้คำนวณหาราคาส่งออกจาก ราคาสินค้านั้นที่ได้จำหน่ายต่อไปทอดแรกยังผู้ซื้ออิสระ แต่ในกรณีที่สินค้านั้นไม่มีการจำหน่าย ต่อไปยังผู้ซื้ออิสระหรือไม่ได้จำหน่ายต่อไปตามสภาพสินค้าที่เป็นอยู่ในขณะนำเข้า ให้คำนวณ ราคาส่งออกตามหลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดที่เหมาะสมแก่กรณีดังกล่าว ในกรณีตามวรรคสอง การคำนวณหาราคาส่งออกให้หักค่าใช้จ่ายและค่าภาระ ต่าง ๆ ตลอดจนภาษีอากร และกำไรที่ได้รับอันเกิดขึ้นระหว่างการนำเข้าและการจำหน่ายต่อไปออกด้วย
มาตรา 15 มูลค่าปกติ ได้แก่ ราคาที่ผู้ซื้ออิสระในประเทศ ผู้ส่งออกได้ชำระหรือ ควรจะมีการชำระกันจริงในทางการค้าปกติสำหรับสินค้าชนิดเดียวกันที่ขายเพื่อการบริโภคภายใน ประเทศนั้นโดยพิจารณาจากการขายสินค้าดังกล่าวในปริมาณใดปริมาณหนึ่งที่เหมาะสมซึ่งไม่น้อย กว่าร้อยละห้าของปริมาณสินค้านั้นที่ส่งออกจากประเทศผู้ส่งออกมายังประเทศไทย แต่จะนำปริมาณ การขายที่ตำกว่านั้นมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาก็ได้ ถ้ามีเหตุอันรับฟังได้ว่าราคาขายที่พิจารณาจาก ปริมาณสินค้าดังกล่าวเป็นราคาในตลาดประเทศผู้ส่งออก ในกรณีไม่ปรากฏราคาตามวรรคหนึ่งหรือราคานั้นไม่น่าเชื่อถือเนื่องจากมีการ ร่วมมือกันหรือจัดให้มีการชดเชยประโยชน์กันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือตลาดในประเทศผู้ส่งออก มีลักษณะเฉพาะทำให้ไม่อาจหาราคาที่เปรียบเทียบกันได้โดยเหมาะสม ให้พิจารณาหามูลค่าปกติ จากราคาต่อไปนี้
(1) ราคาส่งออกในทางการค่าปกติของสินค้าชนิดเดียวกันที่ส่งออกจากประเทศ ผู้ส่งออกไปยังประเทศที่สามที่เหมาะสม ถ้ามีเหตุอันรับฟังได้ว่าราคานั้นแสดงถึงราคาในตลาด ประเทศผู้ส่งออก หรือ (2) ราคาที่คำนวณจากต้นทุนการผลิตในประเทศแหล่งกำเนิดรวมกับจำนวน ที่เหมาะสมของค่าใช้จ่ายในการจัดการ การขาย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตลอดจนกำไรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในกรณีที่ราคาตามวรรคหนึ่งหรือราคาตามวรรคสอง (1) ต่ำกว่าต้นทุนการ ผลิตรวมกับค่าใช้จ่ายในการจัดการ การขาย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เมื่อได้พิจารณาการขายสินค้าดังกล่าว ในระยะเวลาหนึ่งที่สมควรโดยมีปริมาณการขายที่มากพอแล้ว ถ้าปรากฏว่าราคาเหล่านั้นจะไม่ สามารถทำให้คืนทุนได้ภายในเวลาที่เหมาะสม จะถือว่าราคานั้นเป็นราคาในทางการค่าปกติที่จะนำ มาพิจารณาหามูลค่าปกติไม่ได้เว้นแต่ราคานั้นสูงกว่าต้นทุนการผลิตถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต่อหน่วย ที่ปรากฏในการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด
มาตรา 16 ในกรณีที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศผู้ส่งออกไปใช้กลไกตลาดการ หามูลค่าปกติตามมาตรา 15 ให้พิจารณาเทียบเคียงจากข้อมูลราคาที่เป็นอยู่ในประเทศที่สามซึ่งมีระบบ เศรษฐกิจที่ใช้กลไกตลาดและเหมาะสมแก่การเปรียบเทียบ แต่ถ้าหาประเทศที่สามที่เหมาะสมไม่ได้ ให้พิจารณาจากราคาของสินค้าชนิดเดียวกันที่จำหน่ายในประเทศไทยหรือจากพื้นฐานอื่นใดตามที่ เหมาะสมแก่กรณี
มาตรา 17 ในกรณีเป็นการนำสินค้าเข้ามาในประเทศไทยโดยการส่งออกจาก ประเทศอื่นซึ่งมิใช่ประเทศแหล่งกำเนิด ให้ใช้ข้อมูลราคาที่เป็นอยู่ในประเทศผู้ส่งออกนั้นเป็น เกณฑ์ในการหามูลค่าปกติตามมาตรา 15 แต่ถ้ามีเหตุอันควรจะใช้ราคาในประเทศแหล่งกำเนิดเป็น เกณฑ์ในการหามูลค่าปกติก็ได้โดยเฉพาะในกรณีที่สินค้านั้นเป็นเพียงการขนถ่ายผ่านประเทศผู้ ส่งออก หรือสินค้านั้นไม่มีการผลิตในประเทศผู้ส่งออก หรือไม่มีราคาที่จะเปรียบเทียบกันได้ใน ประเทศผู้ส่งออก
มาตรา 18 การพิจารณาหาส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดให้มีการเปรียบเทียบอย่าง เป็นธรรมและให้กระทำที่ขั้นตอนทางการค้าเดียวกันและในเวลาเดียวกัน โดยคำนึงถึงบรรดา ข้อแตกต่างที่มีผลกระทบต่อการเปรียบเทียบราคาประกอบด้วย ในกรณีที่ราคาส่งออกและมูลค่า ปกติมิได้อยู่บนขั้นตอนทางการค้าเดียวกันหรือเวลาเดียวกัน ให้มีการปรับลดองค์ประกอบต่าง ๆ ที่แตกต่างกันอันมีผลกระทบต่อการเปรียบเทียบราคาออกด้วย ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง วิธีการหาส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดต่อหน่วยให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะมีเหตุสมควรที่จะใช้วิธีการอื่น (1) เปรียบเทียบระหว่างมูลค่าปกติถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักกับราคาส่งออกถัวเฉลี่ย ถ่วงน้ำหนัก (2) เปรียบเทียบระหว่างมูลค่าปกติกับราคาส่งออกของธุรกรรมแต่ละรายโดยเฉลี่ย หรือ (3) ในกรณีที่ปรากฏว่าราคาส่งออกมายังตลาดภายในประเทศมีความแตกต่างกัน ในสาระสำคัญระหว่างผู้ซื้อต่างคนกัน ภูมิภาคที่ส่งออก หรือระยะเวลาที่ส่งออก และวิธีการตาม (1) หรือ (2) ไม่อาจส่งออกของธุรกรรมแต่ละรายโดยเฉลี่ย ในการหาส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนดก็ได้
| หน้าถัดไป »