ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ การเดินอากาศ พ.ศ. 2497
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2497
เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและ ยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2497/58/1249/14 กันยายน 2497]
มาตรา 3 ให้ยกเลิก (1) พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พุทธศักราช 2480 (2) พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2490 (3) พระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2492 และ (4) บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่ง พระราชบัญญัตินี้
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ อากาศยาน หมายความรวมตลอดถึงเครื่องทั้งสิ้นซึ่งทรงตัวในบรรยากาศ โดย ปฏิกริยาแห่งอากาศ เว้นแต่วัตถุซึ่งระบุยกเว้นไว้ในกฎกระทรวง อากาศยานขนส่ง หมายความว่า อากาศยานซึ่งใช้หรือมุ่งหมายสำหรับใช้ขนส่ง ของหรือคนโดยสารเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้า *อากาศยานส่วนบุคคล หมายความว่า อากาศยานซึ่งใช้หรือมุ่งหมายสำหรับ ใช้เพื่อประโยชน์ในกิจการอันมิใช่เพื่อบำเหน็จเป็นทางค้า *[คำนิยามนี้เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2534] อากาศยานต่างประเทศ หมายความว่า อากาศยานซึ่งจดทะเบียนและมีสัญชาติ ตามกฎหมายต่างประเทศ ร่มอากาศ หมายความว่า ร่มที่ใช้สำหรับหน่วงการหล่นของคน สิ่งของหรือสัตว์ จากที่สูงโดยความต้านทานของอากาศ สนามบิน หมายความว่า พื้นที่ที่กำหนดไว้บนพื้นดินหรือน้ำสำหรับใช้ทั้งหมด หรือแต่บางส่วนเพื่อการขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยาน รวมตลอดถึงอาคาร สิ่งติดตั้งและ บริภัณฑ์ซึ่งอยู่ภายในสนามบินนั้น สนามบินอนุญาต หมายความว่า สนามบินที่บุคคลได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัตินี้ และสนามบินที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด *ที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน หมายความว่า พื้นที่ที่จัดไว้บนพื้นดินหรือ น้ำสำหรับใช้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเพื่อการขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยานเป็นการชั่วคราว รวมตลอดถึงพื้นที่ดินที่บุคคลซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินนั้นได้หักร้างตัดฟันต้นไม้ หรือทำด้วยประการ ใด ๆ ให้เป็นที่เรียบซึ่งอากาศยานอาจขึ้นลงได้และเป็นพื้นที่กว้างตั้งแต่สามสิบเมตรขึ้นไป และยาว ตั้งแต่สามร้อยเมตรขึ้นไปด้วย *[คำนิยามนี้เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2498]
*ลานจอดอากาศยาน หมายความว่า บริเวณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็น ที่จอดอากาศยานของสนามบินอนุญาต และหมายความรวมถึงสถานที่อื่นนอกบริเวณดังกล่าว ในสนามบินอนุญาตที่อากาศยานได้รับอนุญาตให้จอดชั่วคราวเพื่อรับหรือรอรับบริการในกรณี จำเป็นหรือฉุกเฉิน *[คำนิยามนี้เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2521] *บริการในลานจอดอากาศยาน หมายความว่า บริการใดๆ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับ อากาศยานหรือธุรกิจการเดินอากาศในลานจอดอากาศยานนอกจากบริการช่างอากาศ *[คำนิยามนี้เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2521] *บริการช่างอากาศ หมายความว่า บริการที่เกี่ยวกับเทคนิคในด้านความ ปลอดภัยของอากาศยานหรือการซ่อมบำรุงอากาศยานในลานจอดอากาศยาน ทั้งนี้ ตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง *[คำนิยามนี้เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2521] เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ หมายความว่า เครื่องให้บริการ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินอากาศของอากาศยาน รวมตลอดถึงอาคารสิ่งติดตั้ง และบริภัณฑ์ของบริการนั้น อนุสัญญา หมายความว่า อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ซึ่งทำขึ้นที่เมืองชิคาโก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2487 รวมตลอดถึงภาคผนวกและบทแก้ไขเพิ่มเติม ภาคผนวกหรืออนุสัญญานั้น ผู้ประจำหน้าที่ หมายความว่า นักบิน ต้นหน นายช่าง พนักงานวิทยุ พนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ พนักงานอำนวยการบิน และผู้ทำหน้าที่อื่นตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง ผู้ดำเนินการเดินอากาศ หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจในการเดินอากาศ รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้แก่การเดินอากาศในราชการทหาร ราชการ ตำรวจ และราชการส่วนอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 6* ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับมีอำนาจออกกฎกระทรวงในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
1. ใบสำคัญการจดทะเบียนอากาศยาน *1 ทวิ ใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล
2. ใบสำคัญสมควรเดินอากาศ (1) สำหรับอากาศยานต้นแบบที่สร้างในราชอาณาจักร (2)
สำหรับอากาศยานที่สร้างในราชอาณาจักรตามต้นแบบ (3)
สำหรับอากาศยานที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
3. ใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่หรือการรับรองใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ซึ่งออกโดย
รัฐภาคีแห่งอนุสัญญาหรือรัฐที่ได้ทำความตกลงกับประเทศไทย
4. ใบอนุญาตจัดตั้งสนามบิน
5. ใบอนุญาตจัดตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ
6. ใบอนุญาตจัดตั้งที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
7. ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการให้บริการในลานจอดอากาศยาน
8. ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการให้บริการช่างอากาศ
9. ใบแทนใบสำคัญหรือใบอนุญาต
(ข) กำหนดอัตราขั้นสูงสำหรับค่าธรรมเนียม ตามมาตรา 56 (ค) ยกเว้นค่าธรรมเนียม ตาม (ก) หรือ (ข) (ง) กำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ *[มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2525 และ มาตรา 6 (ก) 1 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2534]