ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456

หน้า 2

หมวดที่ 2*
หน้าที่นายเรือเมื่อเวลาเรือเข้ามาหรือออกจากน่านน้ำไทย
______

มาตรา 17* เรือกำปั่นตามประเภทที่เจ้าท่าประกาศกำหนดลำใด เมื่อเข้ามาในน่านน้ำไทยต้องปฏิบัติดังนี้ (1) แจ้งต่อเจ้าท่า (2) ชักธงสำหรับเรือนั้นขึ้นให้ปรากฏ (3) ติดตั้งและเปิดใช้โคมไฟตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกถึงเวลา พระอาทิตย์ขึ้น การปฏิบัติตาม (1) (2) และ (3) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่เจ้าท่าประกาศกำหนด *[มาตรา 17 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2540]

มาตรา 18* เรือกลที่เป็นเรือเดินทะเล และเป็นเรือไทยขนาด ตั้งแต่หกสิบตันกรอสส์ขึ้นไป และเรือกำปั่นต่างประเทศ เมื่อเข้ามาในเขตท่าเรือ ใด ๆ ในน่านน้ำไทย นายเรือต้องรายงานการเข้ามาถึงต่อเจ้าท่าตามแบบพิมพ์ ของกรมเจ้าท่าภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่จอดเรือเรียบร้อย *[มาตรา 18 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525]

มาตรา 19* เรือกลที่เป็นเรือเดินทะเลและเป็นเรือไทยขนาดตั้งแต่ หกสิบตันกรอสส์ขึ้นไป และเรือกำปั่นต่างประเทศที่เตรียมจะออกไปจากเขต ท่าเรือใด ๆ ในน่านน้ำไทย นายเรือต้องชักธงลา (คือธงที่เรียกว่า บลูปีเตอร์)

ถ้าเรือกำหนดออกในเวลาบ่ายให้ชักธงขึ้นในเวลาเช้า ถ้าเรือกำหนดออกใน เวลาเช้าให้ชักธงขึ้นในเวลาบ่ายของวันก่อน *[มาตรา 19 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525]

มาตรา 20* เรือกำปั่นต่างประเทศ เมื่อเข้ามาในเมืองท่าของ ประเทศไทย ซึ่งมิได้กำหนดเป็นเขตท่าเรือ นายเรือต้องรายงานการเข้า มาหรือออกไปต่อเจ้าท่าภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เรือเข้ามาหรือก่อน เรือออกไปและต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าท่า *[มาตรา 20 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525]

มาตรา 21* เรือกลที่เป็นเรือเดินทะเลและเป็นเรือไทยขนาด ตั้งแต่หกสิบตันกรอสส์ขึ้นไป เมื่อจะออกจากเขตท่าเรือใด ๆ ในน่านน้ำไทย นายเรือต้องแจ้งกำหนดออกเรือต่อเจ้าท่าก่อนออกเรือเป็นเวลาไม่น้อยกว่า หกชั่วโมง เพื่อให้เจ้าท่าตรวจสอบว่าปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่เสียก่อน เมื่อเห็นว่าถูกต้องแล้วจึงอนุญาตให้ออกเรือได้ *[มาตรา 21 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525]

มาตรา 22* เรือกำปั่นที่ใช้เดินทะเลระหว่างประเทศลำใดที่ต้องมี ใบสำคัญตามที่กำหนดในกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือตามมาตรา 163 เมื่อจะออกจากเขตท่าเรือใด ๆ ในน่านน้ำไทย นายเรือต้องแจ้งกำหนดออก เรือต่อเจ้าท่าก่อนออกเรือเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกชั่วโมง เพื่อให้เจ้าท่าตรวจ ใบอนุญาตใช้เรือ และใบสำคัญดังกล่าว ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ ให้ถูกต้องและใช้การได้ *[มาตรา 22 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525]

มาตรา 23* เรือกลที่เป็นเรือเดินทะเลและเป็นเรือไทย และเรือ กำปั่นต่างประเทศที่ต้องมีใบสำคัญตามที่กำหนดในกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ ตามมาตรา 163 เมื่อจะออกจากเขตท่าเรือใด ๆ ในน่านน้ำไทยยังเมืองท่าต่าง ประเทศ นายเรือจะต้องได้รับใบอนุญาตเรือออกจากท่าจากเจ้าท่าเสียก่อน *[มาตรา 23 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2525]

มาตรา 24* ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาตรา 20 มาตรา 21 มาตรา 22 หรือมาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท *[มาตรา 24 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535]

มาตรา 25 นายเรือกำปั่นลำใดที่เข้ามาถึงแล้ว เมื่อก่อนจะเปิด ระวางเอาสินค้าขึ้นจากเรือ ต้องทำรายงานบัญชีสินค้าที่มีมาในเรือลำนั้น โดยถี่ถ้วนยื่นต่อกรมศุลกากร และนายเรือกำปั่นลำใดที่จะออกไปต้องทำรายงานบัญชีสินค้าในเรือ โดยถี่ถ้วน ยื่นต่อกรมศุลกากรภายในหกวันก่อนเวลาที่ไป และต้องยื่นรายงาน บอกแจ้งจำนวนเพศ และชาติของคนโดยสารในเรือนั้น ต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ที่เมืองสมุทรปราการด้วย เรือกำปั่นลำใดที่เข้ามาในเขตท่า ถ้านายเรือยังไม่ทราบพระราช บัญญัตินี้ ก็ให้เจ้าพนักงานจัดหาให้ไว้เล่มหนึ่งและคิดราคาสองบาท

มาตรา 26 เรือกำปั่นเดินทะเลลำใดที่เตรียมจะไปจากเขตท่าต้อง ชักธงลา (คือธงที่เรียกว่า บลูปีเตอร์) ขึ้นบนเสาหน้าและต้องชักไว้จนกระทั่ง เรือออกเดิน ถ้าเป็นเรือที่กำหนดจะออกเวลาบ่าย ต้องชักธงลาขึ้นไว้เสียตั้งแต่ เวลาเช้า ถ้ากำหนดจะออกเวลาเช้า ต้องชักธงลาขึ้นไว้ให้ปรากฏเสียตั้งแต่ตอน บ่ายวันก่อน

มาตรา 27* เรือกำปั่นไฟลำใดกำลังปล่อยถอยหลังให้ล่องตามน้ำ ลงมาในเขตท่ากรุงเทพฯ ต้องชักธงสัญญาณที่เรียกว่าธง L.U. ตามแบบข้อบังคับ ธงระหว่างนานาประเทศไว้ข้างตอนหน้าเรือ ในที่แลเห็นได้โดยง่าย และถ้ามี เรือกำปั่นไฟลำอื่นกำลังแล่นตามน้ำลงมาด้วย ให้เรือกำปั่นลำที่ปล่อยถอยหลังนั้น ออกกลางน้ำ และให้ใกล้ที่สุดที่จะเป็นได้กับพวกเรือที่จอดทอดสมออยู่กลางลำน้ำ และคอยอยู่ที่นั้นจนกว่าเรือลำที่แล่นตามน้ำลงมาจะแล่นพ้นไป ถ้าเรือที่กำลัง ปล่อยถอยหลังให้ล่องตามน้ำลงมานั้นเป็นเรือโป๊ะ หรือโป๊ะจ้าย หรือเรือสำเภา ต้องชักเครื่องสัญญาณเป็นรูปลูกตะกร้อสีดำกว้างไม่ต่ำกว่าห้าสิบเซนติเมตร ไว้ใน ที่แลเห็นได้โดยง่าย *[มาตรา 27 แก้ไขโดยประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติการเดินเรือ ในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2456 และอักษรโรมัน L.U. แก้ไขโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไข เพิ่มเติม พุทธศักราช 2477]

มาตรา 28 นายเรือคนใดกระทำความละเมิดต่อบัญญัติในมาตรา 22 23, 24, 25, 26 และ 27 แห่งพระราชบัญญัตินี้ ท่านว่าต้องระวางโทษปรับ เป็นเงินไม่เกินสี่ร้อยบาท

หมวดที่ 3
ว่าด้วยทำเลทอดจอดเรือ
_______

มาตรา 29 ภายในเขตท่ากรุงเทพฯ ถ้าเรือกำปั่นลำใดที่มิได้ผูกจอด เทียบเท่าเรือหรือทำโรงพักสินค้า เรือกำปั่นลำนั้นต้องทอดสมอจอดอยู่กลางลำน้ำ ด้วยสมอสองตัว มีสายโซ่ให้พอทั้งสองตัวเพื่อกันมิให้เรือเกาสมอเคลื่อนจากที่นั้นได้

มาตรา 30 เรือเก็บสินค้า เรือท้องแบน และเรือใด ๆ ที่ทอดจอด ประจำอยู่นั้น ต้องผูกจอดอยู่กับสมอทุ่นอย่างมั่นคงสมกับกำลังของสายโซ่ที่ทอดอยู่นั้น

มาตรา 31 ห้ามมิให้เรือกำปั่น เรือเก็บสินค้า เรือท้องแบนอย่างใด ๆ ทอดสมอ หรือผูกจอดอยู่ในทางเรือเดินในลำแม่น้ำเป็นอันขาด ม

าตรา 32 ห้ามมิให้เรือกำปั่นลำใดที่ผูกจอดเทียบท่าเรือ ท่าพักสินค้า หรือเทียบฝั่งนั้น ทอดสมอลงไปในแม่น้ำห่างจากหัวเรือเกินกว่าสามสิบเมตร

มาตรา 33 เรือลำใดที่เจ้าท่าไม่ยอมออกใบอนุญาตให้ หรือเรียกคืน หรือยึดใบอนุญาตไว้ โดยเรือนั้นมีความไม่สมประกอบสำหรับเดินทะเลนั้น ต้องให้ ผูกจอดทอดไว้ในที่ใดที่หนึ่งซึ่งเจ้าท่าจะกำหนดให้

มาตรา 34 เรือโป๊ะหรือเรือโป๊ะจ้าย เรือลำเลียง เรือสำเภา เรือบรรทุกสินค้า เรือเป็ดทะเล และเรืออื่น ๆ ต้องจอดทอดสมอกลางแม่น้ำ และถ้าไม่เป็นการขัดขวาง ก็ให้ทอดจอดค่อนข้างฝั่งตะวันตก แต่ต้องไว้ช่องทาง เรือเดินไม่น้อยกว่าร้อยเมตร ในระหว่างเรือกับฝั่งตะวันตก หรือกับบรรดาเรือที่ จอดเทียบฝั่งตะวันตก หรือกับแพคนอยู่ที่ผูกเทียบอยู่กับฝั่งตะวันตก

มาตรา 35 บรรดาเรือโป๊ะ หรือเรือโป๊ะจ้าย เรือลำเลียง เรือสำเภา เรือบรรทุกสินค้า เรือเป็ดทะเล และเรืออื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้การนั้น ต้องให้ถอยไปอยู่ที่ทำเลสำหรับทอดจอดเรือแห่งใดแห่งหนึ่งในเขตท่าตามที่เจ้าท่า เห็นสมควรจะกำหนดตามครั้งคราว และประกาศให้ทราบทั่วกันในหนังสือราชกิจจา นุเบกษา และในหนังสือพิมพ์จดหมายเหตุในท้องที่ตั้งแต่สองรายขึ้นไป

มาตรา 36 ห้ามมิให้เรือกำปั่นเดินทะเลลำใดจอดทอดสมอตาม ลำแม่น้ำ ในระหว่างคลองสะพานหันกับคลองบางลำภูบน เว้นไว้แต่มีเหตุจำเป็น เพราะในระหว่างสองตำบลนั้นเป็นที่ทอดจอดเรือรบไทย และบรรดาเรือกำปั่น เดินทะเลหรือเรือรบต่างประเทศจะแล่น หรือมีเรืออื่นจูงผ่านคลองสะพานหัน ขึ้นไปตามลำแม่น้ำนั้น ให้ถือเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย เว้นไว้แต่จะได้รับอนุญาต พิเศษจากเจ้าท่า และโดยอาศัยข้อบังคับกำกับอนุญาตนั้นอยู่ด้วยตามซึ่งเจ้าท่า จะเห็นสมควร

มาตรา 37* ถ้าไม่มีเหตุฉุกเฉินอันจำเป็นที่จะต้องทำเช่นนั้น ห้ามมิให้ เรือกำปั่นลำใด จอดทอดสมอในลำแม่น้ำ ระหว่างวัดบุคคโล กับ ในระยะทาง 200 เมตร ใต้ปากคลองบางปะแก้ว และระหว่างปากคลองผดุงกับคลองสำเพ็ง เพราะในระหว่างตำบลเหล่านี้เป็นทำเลยกเว้นไว้สำหรับทางให้เรือเดินขึ้นล่อง *[มาตรา 37 แก้ไขโดยประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติการเดินเรือ ในน่านน้ำไทย พุทธศักราช 2456]

มาตรา 38* เรือกำปั่นทุกลำที่บรรทุกคนโดยสารหรือของจากเมืองท่า หรือตำบลใด ๆ ในต่างประเทศเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา หรือเรือใด ๆ ที่เข้ามา ในแม่น้ำเจ้าพระยาโดยขนถ่ายคนโดยสารหรือของจากเรือกำปั่นมาจากต่างประเทศ เมื่อผ่านด่านสมุทรปราการแล้ว ถ้าจะส่งคนโดยสารหรือของที่บรรทุกมานั้นขึ้นบก ต้องจอด ณ ที่จอดเรือ หรือเทียบท่าเทียบเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เว้นไว้แต่เมื่อที่จอดเรือ หรือท่าเทียบเรือไม่ว่างพอจะจอดหรือเทียบได้ หรือ เพราะเหตุจำเป็นอย่างอื่น ซึ่งถ้าตรงตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดไว้ และอธิบดีกรมเจ้าท่าลงนามอนุญาตแล้ว จึงจะเข้าจอดหรือเทียบในที่ที่ได้รับ อนุญาตได้

คณะกรรมการดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้มีจำนวนห้าคน ประกอบด้วย อธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมศุลกากร และผู้อำนวยการการ ท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และบุคคลอื่นอีกสองคนซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้ง *[มาตรา 38 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2510]

มาตรา 38 ทวิ* การประชุมของคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติการตาม ความในมาตรา 38 ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนกรรมการ ทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่สามารถมาประชุม ให้ที่ประชุมเลือก กรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน การลงมติวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ผู้นั่งเป็นประธานออกเสียงอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด *[มาตรา 38 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2493]

มาตรา 38 ตรี* ภายใต้บังคับมาตรา 38 ให้เจ้าท่ามีอำนาจที่จะ กำหนดที่ทอดจอดเรือสำหรับเรือกำปั่นและเรือเล็กทุกลำ และนายเรือต้อง เอาเรือไปทอดจอดตามที่เจ้าท่าจะชี้ให้ และห้ามมิให้เอาเรือไปจากที่นั้น หรือ ย้ายไปทอดจอดที่อื่นโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็น ซึ่งเจ้าท่าจะพิเคราะห์เห็นสมควร เมื่อเรือกำปั่นลำใดกำลังเข้ามา นายเรือจะต้องยอมให้เจ้าท่าขึ้นไป บนเรือ และถ้าจำเป็นจะหยุดเรือรอรับก็ต้องหยุด *[มาตรา 38 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2493]

มาตรา 38 จัตวา* นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือลำใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 38 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 38 ตรี ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สามพันบาท ถึงสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง *[มาตรา 38 จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2493]

มาตรา 39 เรือกำปั่นลำใดเมื่อเข้ามาถึงในเขตท่าแล้ว มิได้ กระทำการถ่ายสินค้า หรือขนสินค้าขึ้นเรืออย่างหนึ่งอย่างใด นับตั้งแต่ 10 วัน ขึ้นไปก็ดี ท่านว่าถ้าจะต้องการเอาที่ซึ่งเรือลำนั้นจอดอยู่ให้เรืออื่นที่ใช้ในการ ค้าขายทอดจอด ก็ให้ถอยเรือที่ไม่ได้ทำการเช่นว่านั้น ไปทอดจอดในที่อื่นภายใน เขตท่าตามที่เจ้าท่าจะกำหนดให้

มาตรา 40* เรือกำปั่นลำใดต้องการจะเปลี่ยนที่ทอดจอด หรือ เรือกำปั่นลำใดที่เทียบท่าเรือ หรือท่าสินค้า ต้องการจะหาที่ทอดจอดในลำแม่น้ำ ก็ให้ชักธงสัญญาณอักษร B.A.Z. ตามแบบข้อบังคับระหว่างนานาประเทศสำหรับ การใช้ธงสัญญาณ แล้วเจ้าท่าจะได้ขึ้นไปบนเรือลำนั้นและชี้ให้ทอดจอด *[มาตรา 40 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477]

มาตรา 41* เรือกำปั่นลำใดต้องการให้กองตระเวนมาช่วย ก็ให้ ชักธงสัญญาณหมายอักษร S.T. ตามแบบข้อบังคับระหว่างนานาประเทศสำหรับ การใช้ธงสัญญาณ ถ้ามีเหตุสำคัญขัดขืนต่อการบังคับบัญชาเกิดขึ้นในเรือฉะนั้นแล้ว ให้ชักธงสัญญาณหมายอักษร R.X. *[มาตรา 41 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477]

มาตรา 42 ก่อนที่เรือกำปั่นไฟหรือเรือกำปั่นใบเดินทะเลลำใด จอดทอดหรือผูกจอดเป็นปกตินั้น ห้ามมิให้เรืออื่นเข้าไปเทียบข้าง ให้เข้าเทียบได้ แต่เฉพาะเรือไฟเล็กและเรือเล็กของกรมเจ้าท่า เรือของเจ้าพนักงานแพทย์สุขา หรือของกรมศุลกากร หรือของผู้นำร่องหรือเรือของกระทรวงทหารเรือ ซึ่งจะ มีหน้าที่พิเศษ ในเวลาที่เรือกำปั่นลำใดที่กำลังแล่นขึ้นหรือล่องในลำแม่น้ำนั้นห้าม เป็นอันขาดมิให้เรือจ้าง เรือบรรทุกสินค้าหรือเรือเล็กหรือเรืออย่างใด ๆ เข้าไปเกี่ยวพ่วงข้าง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นพิเศษของนายเรือลำนั้น

มาตรา 43 เมื่อจะทอดจอดเรือกำปั่นลำใด นายเรือหรือผู้นำร่อง ต้องทอดจอดเรือนั้น โดยให้กินเนื้อที่อย่างน้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ และความบังคับ ข้อนี้ เจ้าท่าต้องระวังเป็นธุระอยู่เสมอให้มีผู้ปฏิบัติตามโดยถูกต้อง

มาตรา 44 ตามลำแม่น้ำเล็กและในคลองต่าง ๆ นั้นอนุญาตให้ จอดเรือต่าง ๆ ทั้งสองฟาก แต่อย่าให้เป็นที่กีดแก่ทางเรือขึ้นล่องที่กลางลำน้ำ และห้ามไม่ให้จอดซ้อนลำหรือจอดขวางหรือตรงกลางลำน้ำ ลำคลอง เป็นอันขาด มา

ตรา 45 เรือกำปั่น เรือเล็ก และแพต่าง ๆ ที่จอดเทียบฝั่ง แม่น้ำ หรือเทียบท่าสินค้า หรือท่าเรือนั้น ห้ามมิให้จอดขวางลำน้ำ ต้องจอดให้ หัวเรือท้ายเรือ หัวแพท้ายแพ หันตามยาวของทางน้ำ มา

ตรา 46 ตามท่าขนสินค้าและท่าขึ้นทั้งสองฟากแม่น้ำเจ้าพระยา หรือตามสองข้างเรือกำปั่นก็ดี ห้ามมิให้เรือบรรทุกสินค้า เรือไฟเล็ก เรือเป็ดทะเล และเรืออื่น ๆ จอดหรือผูกเทียบซ้อนกันเกินกว่าสองลำ ถ้าเป็นแพคนอยู่ ห้ามมิให้จอดเทียบหน้าแพเกินกว่าลำหนึ่ง

มาตรา 46 ทวิ* ให้เจ้าท่ามีอำนาจสั่งห้ามใช้ และให้แก้ไขท่า รับส่งคนโดยสาร ท่ารับส่งสินค้า ท่าเทียบเรือ และแพในแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ อันเป็นทางสัญจรของประชาชน หรือที่ประชาชนใช้ ประโยชน์ร่วมกัน หรือทะเลภายในน่านน้ำไทย ซึ่งมีสภาพไม่ปลอดภัยในการใช้ หรืออาจเกิดอันตรายแก่ประชาชน หรือแก่การเดินเรือ โดยแจ้งให้เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองทราบเป็นหนังสือ ในกรณีที่ไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ให้ปิดคำสั่งไว้ ณ ท่ารับส่งคนโดยสาร ท่ารับส่งสินค้า ท่าเทียบเรือ หรือแพนั้น และให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองได้รับคำสั่งนั้นแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครองซึ่งได้รับคำสั่งจากเจ้าท่าตามความใน วรรคหนึ่ง มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมภายในสิบห้าวันนับแต่ วันที่ได้รับคำสั่ง คำชี้ขาดของรัฐมนตรีเป็นที่สุด แต่ในระหว่างที่รัฐมนตรียังมิได้ ชี้ขาด คำสั่งห้ามใช้นั้นมีผลบังคับได้ ในกรณีไม่มีอุทธรณ์คำสั่ง หรือมีอุทธรณ์ แต่รัฐมนตรีสั่งให้ยกอุทธรณ์ และเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ภายในเวลาที่เจ้าท่ากำหนด หรือภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัย อุทธรณ์ให้เจ้าท่ามีอำนาจจัดการแก้ไขให้เป็นไปตามคำสั่งโดยคิดค่าใช้จ่ายจาก เจ้าของหรือผู้ครอบครอง เมื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองได้แก้ไขเสร็จเรียบร้อยตามคำสั่งแล้ว ให้เจ้าท่าเพิกถอนคำสั่งห้ามใช้ ในกรณีที่เจ้าท่าจัดการแก้ไขเอง จะรอการ เพิกถอนคำสั่งห้ามใช้ไว้จนกว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองจะชำระค่าใช้จ่ายให้ เจ้าท่าก็ได้ *เจ้าของหรือผู้ครอบครองคนใดใช้เอง หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ท่ารับส่ง คนโดยสาร ท่ารับส่งสินค้า ท่าเทียบเรือ หรือแพ ซึ่งเจ้าท่า มีคำสั่งห้ามใช้ และ ยังไม่ได้เพิกถอนคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สามพันบาทถึงสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

*[มาตรา 46 ทวิ เพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 50 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2515 และความในวรรคสี่ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535]

มาตรา 47 ห้ามมิให้แพไม้ซุงที่กว้างกว่ายี่สิบตันซุงจอดผูกเทียบ ข้างเรือกำปั่น หรือเทียบท่าขนสินค้า หรือท่าขึ้น และห้ามมิให้เรือโป๊ะจ้าย เรือลำเลียงหรือเรือสำเภาผูกจอดผูกเทียบข้างเรือกำปั่นมากกว่าข้างละหนึ่งลำ และห้ามมิให้เรือเช่นว่ามานี้จอดผูกเทียบท่าขนสินค้า หรือท่าขึ้นมากกว่าสองลำ

มาตรา 48 ห้ามมิให้เรือโป๊ะจ้าย เรือลำเลียง เรือสำเภา เรือบรรทุกสินค้า เรือกลไฟเล็ก และเรือและแพไม้ต่าง ๆ จอดผูกกับฝั่งแม่น้ำ มากลำ หรือโดยอย่างที่ให้ล้ำออกมาในทางเรือเดิน หรือจนเป็นที่กีดขวาง แก่การเดินเรือ

มาตรา 49 เรือกำปั่นหรือเรือเล็กที่จอดมากกว่าสองลำ ในแม่น้ำ นอกแนวเรืออื่น ๆ หรือนอกแนวแพคนอยู่ ซึ่งจอดอยู่ในท้องที่เดียวกันนั้น ท่านให้ ถือว่าเรือกำปั่นหรือเรือเล็กนั้น เท่ากับจอดล้ำออกมาในทางเรือเดิน

มาตรา 50 ข้อห้ามต่าง ๆ ที่ว่ามาแล้วในมาตรา 46 และ 47 นั้น เจ้าท่าจะเห็นสมควรลดหย่อนโดยให้อนุญาตพิเศษก็ได้

มาตรา 51* นายเรือหรือผู้ที่ควบคุมเรือหรือแพผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 มาตรา 39 มาตรา 42 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 46 มาตรา 47 มาตรา 48 หรือมาตรา 49 ถ้าเป็นเรือกำปั่น ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท และปรับ เป็นรายวันวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องถ้าเป็นเรือเล็กหรือแพ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท และปรับเป็นรายวันวันละ ห้าสิบบาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

*[มาตรา 51 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535]

« ย้อนกลับ | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย