ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 294
หน้า 2
หมวด 3
การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
--------
ข้อ 12 เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับนี้ได้แก่เด็กซึ่งมีปัญหาทางความประพฤติ อันได้แก่เด็กซึ่งบิดามารดา หรือผู้ปกครองไม่สามารถควบคุมความประพฤติได้ หรือเด็กซึ่งประพฤติตนไม่สมควร
ข้อ 13 วิธีการให้การคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็กตามข้อ 12 มีดังต่อไปนี้
(1) ให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กที่ได้รับการว่ากล่าว ตักเตือนตามข้อ 7 (5) มาแล้ว ทำทัณฑ์บนโดยกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครอง ของเด็กระวังมิให้เด็กนั้นประพฤติตนไม่สมควรอีก ตลอดเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่ วันที่ทำทัณฑ์บนและกำหนดเบี้ยปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทซึ่งบิดามารดาหรือผู้ปกครอง จะต้องชำระเมื่อผิดทัณฑ์บน และเมื่อได้ปรับฐานผิดทัณฑ์บนแล้วให้มีอำนาจส่งเด็ก ไปยังสถานแรกรับเด็ก หรือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพ อย่างอื่นตามที่เห็นสมควร
(2) ให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือเด็กได้รับการบริการจาก
สถานแนะแนวปัญหาเด็กและครอบครัว
(3) สอดส่องความประพฤติของเด็ก
(4) ส่งเด็กไปอยู่ในความปกครองดูแลของบุคคลหรือองค์การ ที่เหมาะสม
(5) ส่งเด็กไปยังสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
ให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งรับราชการ
อยู่ในท้องที่ที่เด็กนั้น มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ มีอำนาจดำเนินวิธีการตาม (1)
และ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินวิธีการตาม (1) และ (2) แต่ถ้าจะดำเนิน
วิธีการตาม (3) (4) และ (5) พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี
หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเสียก่อน
เมื่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรให้เด็กซึ่งกำลังรับการ
คุ้มครองสวัสดิภาพตาม (4) หรือ (5) กลับไปอยู่ในความปกครองของบิดามารดา
หรือผู้ปกครอง ให้มีอำนาจสั่งให้เด็กนั้นพ้นจากการคุ้มครองสวัสดิภาพ และมอบตัว
เด็กคืนบิดามารดาหรือผู้ปกครองได้
ถ้าอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าสมควรให้เด็กซึ่งรับการ
คุ้มครองสวัสดิภาพตาม (4) หรือ (5) ได้รับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์ เด็ก
ให้มีอำนาจส่งเด็กนั้นไปยังสถานสงเคราะห์เด็กได้
ถ้าเด็กซึ่งกำลังรับการคุ้มครองสวัสดิภาพตาม (5) หลบหนีจาก สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ ตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปซึ่งรับราชการอยู่ในท้องที่ที่สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ตั้งอยู่ ร้องขอต่อศาลคดีเด็กและเยาวชน ให้ส่งเด็กนั้นไปยังสถานพินิจและคุ้มครอง เด็กตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน หรือต่อศาลจังหวัดในกรณี ที่ไม่มีศาลคดีเด็กและเยาวชนในท้องที่นั้นให้ส่งเด็กนั้นไปรับการฝึกอบรม ณ สถานที่ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดการฝึกและอบรมเด็กบางจำพวก
ข้อ 14 ในการสอดส่องความประพฤติของเด็ก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจแนะนำตักเตือนหรือวางข้อกำหนดใด ๆ ให้เด็กปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ห้ามมิให้เด็กเข้าไปในสถานที่ที่กำหนดหรือคบหาสมาคมกับบุคคลใด อันจะเป็นเหตุจูงใจให้เด็กประพฤติชั่ว
(2) ห้ามมิให้เด็กเที่ยวเตร่ในเวลาค่ำคืนตามเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนด
(3) ให้เด็กรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นครั้งคราว
(4) ให้เด็กศึกษาหรือประกอบอาชีพภายใต้การควบคุมดูแลของพนักงาน เจ้าหน้าที่
(5) วางข้อกำหนดอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขความประพฤติ ของเด็ก เมื่อเด็กซึ่งได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพมีอายุครบสิบแปดบริบูรณ์ อธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดอาจสั่งให้บุคคลนั้นอยู่ภายใต้การสอดส่องความประพฤติ หรือ อยู่ในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กต่อไปจนถึงอายุไม่เกินยี่สิบปีบริบูรณ์ก็ได้
ข้อ 15 ภายใต้บังคับข้อ 13 และข้อ 14 บิดามารดาหรือผู้ปกครอง
อาจนำเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามข้อ 12 มายังที่ทำการของพนักงาน
เจ้าหน้าที่เพื่อขอรับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบถาม
ข้อเท็จจริงจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่นำเด็กมาและหรือจากเด็กนั้นเองแล้ว
เห็นว่าสมควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ เมื่อได้รับความยินยอมเป็นหนังสือตาม
แบบพิมพ์ของทางราชการจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองดังกล่าวแล้วให้ดำเนินการ
ให้การคุ้มครองสวัสดิภาพได้ตามที่เห็นสมควร แต่ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควร
ทำการวิเคราะห์และพิจารณาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็กเสียก่อน
จะส่งตัวเด็กนั้นไปยังสถานแรกรับเด็กก็ได้
หมวด 4
สถานสงเคราะห์เด็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก
และสถานแนะแนวปัญหาเด็กและครอบครัว
--------
ข้อ 16 ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการส่งเสริมการ ดำเนินงานของสถานสงเคราะห์เด็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก และสถานแนะแนวปัญหา เด็กและครอบครัว ของเอกชน เพื่อให้การคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็ก รวมทั้งควบคุม สถานดังกล่าวให้ดำเนินงานไปในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่ความเจริญเติบโต ทางร่างกายและจิตใจของเด็ก ให้กระทรวงมหาดไทยให้การอุดหนุนสถานสงเคราะห์เด็ก สถาน รับเลี้ยงเด็ก และสถานแนะแนวปัญหาเด็กและครอบครัวของเอกชน ตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ภายในวงเงินงบประมาณ
ข้อ 17 ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานสงเคราะห์เด็ก สถานรับเลี้ยง เด็กหรือสถานแนะแนวปัญหาเด็กและครอบครัว ตามข้อ 16 ต้องได้รับอนุญาตจาก อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี การขออนุญาตจัดตั้งสถานสงเคราะห์เด็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก และสถานแนะแนวปัญหาเด็กและครอบครัว คุณสมบัติของเจ้าของหรือผู้จัดการ การดำเนินงาน การควบคุม การออกใบอนุญาต การกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตของสถานดังกล่าวให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ 18 ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้จัดการสถานสงเคราะห์เด็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือสถานแนะแนวปัญหาเด็กและครอบครัวฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามกฎกระทรวง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในใบอนุญาตหรือคำสั่งของ พนักงานเจ้าหน้าที่ ให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณีมีอำนาจ
(1) ส่งพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมการดำเนินงานของสถาน สงเคราะห์เด็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือสถานแนะแนวปัญหาเด็กและครอบครัว เป็นการชั่วคราว
(2) เพิกถอนใบอนุญาต ในกรณีเพิกถอนใบอนุญาต ให้ส่งเด็กคืนบิดามารดาหรือผู้ปกครอง หรือส่งเด็กไปยังสถานสงเคราะห์เด็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ของทางราชการ หรือของเอกชนอื่น
หมวด 5
การปฏิบัติต่อเด็ก
--------
ข้อ 20 ห้ามมิให้บุคคลใด
(1) ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานพยาบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือ ทอดทิ้งเด็กไว้กับบุคคลที่รับจ้างเลี้ยงเด็ก
(2) โฆษณาเพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้บุคคลอื่น เว้นแต่เพื่อประโยชน์ ของทางราชการ
(3) ซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนเด็กด้วยทรัพย์สิน เว้นแต่กรณีที่ ทรัพย์สินนั้นเป็นสินสอดหรือของหมั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(4) ใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทาน หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุส่งเสริมให้เด็กขอทาน
(5) ขายหรือให้สุราหรือบุหรี่หรือสิ่งเสพติดให้โทษอื่นใดแก่เด็ก หรือชักจูงให้เด็กดื่มสุราหรือสูบบุหรี่หรือเสพสิ่งเสพติดให้โทษอื่นใด เว้นแต่การ ปฏิบัติทางการแพทย์
(6) ยอมให้เด็กเข้าเล่นการพนัน
(7) ชักจูงหรือส่งเสริมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร
หมวด 6
บทกำหนดโทษ
--------
ข้อ 22 ผู้ใดตั้งสถานสงเคราะห์เด็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือ สถานแนะแนวปัญหาเด็กและครอบครัวโดยไม่ได้รับอนุญาตตามข้อ 17 หรือเจ้าของ หรือผู้จัดการสถานสงเคราะห์เด็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือสถานแนะแนวปัญหา เด็กและครอบครัว ไม่ยื่นคำขออนุญาตตั้งสถานดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนดตาม ข้อ 25 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งยังคงดำเนินงานต่อไป หรือเจ้าของ หรือผู้จัดการสถานสงเคราะห์เด็ก สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือสถานแนะแนวปัญหาเด็ก และครอบครัว ยังคงดำเนินงานต่อไป ภายหลังที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามข้อ 18 (2) หรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 25 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้
อ 23 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ 19 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ห้าร้อยบาท
ถ้าการไม่ปฏิบัติตามข้อ 19 เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ และศีลธรรมของเด็ก ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อ 24 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
--------
การใช้บังคับ
--------
ข้อ 26 ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติในข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 และข้อ 18 ให้ใช้บังคับเฉพาะในนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และจะใช้บังคับข้อใด ในท้องที่อื่นใด เมื่อใด ให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้บังคับในท้องที่ใด บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นใดซึ่งมีข้อความขัดหรือแย้งกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้มิให้ ใช้บังคับในท้องที่นั้น
[รก.2515/182/108พ/29 พฤศจิกายน 2515]
ข้อ 27 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามประกาศ ของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับนี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2515
จอมพล ถ. กิตติขจร
หัวหน้าคณะปฏิวัติ
« ย้อนกลับ |