ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37

หน้า 2

ข้อ 19* ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเก็บวัตถุที่ใช้ในการผลิตอาวุธและ อาวุธที่ผลิตขึ้นไว้ภายในโรงงานหรือสถานที่เก็บตามที่รัฐมนตรีกำหนดในใบอนุญาต สถานที่เก็บวัตถุที่ใช้ในการผลิตอาวุธและอาวุธที่ผลิตขึ้นต้องมีลักษณะ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในใบอนุญาต ในกรณีที่วัตถุที่ใช้ในการผลิตอาวุธ หรืออาวุธที่ผลิตขึ้น มีกฎหมายใด กำหนดวิธีการเก็บไว้โดยเฉพาะ นอกจากกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้นด้วย

*[ข้อ 19 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2522, มาตรา 6]

ข้อ 20 ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องสำรองวัตถุที่ใช้ในการผลิตอาวุธตาม ชนิดและปริมาณที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในสถานที่เก็บตามข้อ 19

ข้อ 21 ห้ามมิ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขนย้ายวัตถุที่ใช้ในการผลิตอาวุธ หรืออาวุธที่ผลิตขึ้นออกจากโรงงานหรือสถานที่เก็บ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมาย ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องนำหนังสืออนุญาตการขนย้ายตามวรรคหนึ่งกำกับ ไปพร้อมกับการขนย้ายด้วย

ข้อ 22* ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ขายหรือจำหน่ายด้วยประการ ใด ๆ ซึ่งอาวุธที่ผลิตขึ้น เว้นแต่ขายหรือจำหน่ายให้แก่กระทรวงกลาโหมหรือ กรมตำรวจ หรือได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีให้ขายหรือจำหน่ายแก่บุคคลอื่น ไม่ว่า โดยการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หรือขายหรือจำหน่ายในราชอาณาจักร การขออนุญาตขายหรือจำหน่ายอาวุธให้แก่บุคคลอื่น นอกจากกระทรวง กลาโหมหรือกรมตำรวจ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน กฎกระทรวง ในการที่รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ขายหรือจำหน่ายโดยการส่งออกไปนอก ราชอาณาจักรจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน

*[ข้อ 22 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะป ฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2522, มาตรา 7]

ข้อ 23 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครอง แผ่นดินฉบับนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ

(1) เข้าไปตรวจสถานที่ทำการ โรงงาน หรือสถานที่เก็บวัตถุที่ใช้ ในการผลิตอาวุธ และอาวุธที่ผลิตขึ้นของผู้ได้รับใบอนุญาต
(2) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการซื้อขายวัตถุ ที่ใช้ในการผลิตอาวุธหรืออาวุธที่ผลิตขึ้น
(3) ตรวจสอบบัญชีและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
(4) ออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาเพื่อประกอบการ พิจารณา

ข้อ 24 ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามข้อ 12 หรือข้อ 23 ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องให้ความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่และ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควร

ข้อ 25 ในการปฏิบัติการตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครอง แผ่นดินฉบับนี้ เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวเมื่อผู้ซึ่ง เกี่ยว ข้องร้องขอ บัตรประจำตัวตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด

ข้อ 26 เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาต

(1) ไม่มีลักษณะตามข้อ 6 วรรคสอง หรือ
(2) ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต หรือ
(3) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 21 หรือข้อ 22 ให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลา ที่กำหนด ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลา ที่กำหนด หรือเป็นที่เห็นได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถจะดำเนินการให้ถูกต้อง ตามเงื่อนไข หรือตามที่บทบัญญัติไว้ในคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับนี้ได้ หรือเมื่อปรากฏว่าการฝ่าฝืนหรือการไม่ปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาต ดังกล่าวเป็นการกระทบกระเทือนอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัย ของประเทศ ให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอน ใบอนุญาตหรือจะสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ได้รับใบอนุ ญาตหยุดประกอบกิจการที่ได้รับ อนุญาตเป็นการชั่วคราว เพื่อให้ส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมเข้าดำเนินการ แทนจนกว่าจะเป็นที่พอใจว่าผู้ได้รับใบอนุญาตนั้นได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือตามที่บัญญัติ ไว้ในคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับนี้แล้ว

ข้อ 27* ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตมีความจำเป็นต้องหยุดดำเนินการ ผลิตหรือไม่อาจดำเนินการผลิต หรือดำเนินการในลักษณะที่ลดปริมาณการผลิตซึ่ง อาวุธที่ได้รับอนุญาตให้ผลิต ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ราชการของกระทรวง

กลาโหมต้องได้รับความเสียหายหรือเกิดขึ้นในระหว่างประเทศอยู่ในภาวะการรบ หรือการสงคราม ให้รัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ส่วน ราชการของกระทรวงกลาโหมเข้าดำเนินการผลิตอาวุธในโรงงานของผู้ได้รับ ใบอนุญาตได้ ทั้งนี้ จนกว่าพฤติการณ์อันเป็นเหตุให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องหยุด ดำเนินการผลิตหรือไม่อาจดำเนินการผลิตหรือลดปริมาณการผลิตนั้นจะสิ้นสุดลง

*[ข้อ 27 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2522, มาตรา 8]

ข้อ 28 ในกรณีที่ส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมเข้าดำเนินการ แทนผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ 26 หรือข้อ 27 ผู้ได้รับใบอนุญาตมีสิทธิที่จะได้รับ ชดใช้ราคาอาวุธที่ส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมผลิตขึ้นตามราคาอันเป็นธรรม

ข้อ 29 เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการของกระทรวง กลาโหม รัฐมนตรีมีอำนาจอนุญาตให้ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ตั้งและประกอบกิจการ โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานอยู่แล้ว ผลิตเฉพาะส่วนประกอบของอาวุธที่ กำหนดในกฎกระทรวงตามข้อ 4 เป็นการเฉพาะคราวได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด *ให้นำข้อ 7 ข้อ 12 ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 21 ข้อ 22 ข้อ 23 ข้อ 24 และข้อ 25 มาใช้บังคับ แก่ผู้ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

*[ข้อ 29 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (ฉบับที่ 2), พ.ศ. 2525, มาตรา 3]

ข้อ 30* เพื่อประโยชน์แก่การผลิตอาวุธสำหรับราชการทหารและ ตำรวจ ถ้ากรณีมีความจำเป็นเพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถดำเนินการผลิต อาวุธไปได้โดยสม่ำเสมอ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจอนุญาตให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว ผลิตอาวุธไว้เพื่อขายหรือจำหน่ายแก่บุคคลอื่นนอกจากกระทรวงกลาโหมและ กรมตำรวจเป็นการเฉพาะคราวได้ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตนั้นร้องขอ การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง การขายหรือจำหน่ายอาวุธที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตตามวรรคหนึ่งให้เป็น ไปตามข้อ 22

*[ข้อ 30 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2522, มาตรา 9]

ข้อ 31 ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ กระทรวง หรือตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

ข้อ 32 ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ 10 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองพันบาท

ข้อ 33 ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 19 ข้อ 20 หรือข้อ 21 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองแสนบาท

ข้อ 34 ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 17 ข้อ 18 หรือข้อ 21 วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

ข้อ 35 ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนข้อ 22 ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินห้าแสนบาท

ข้อ 36 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ 24 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

ข้อ 37 ผู้ได้รับอนุญาตตามข้อ 29 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ในกฎกระทรวงหรือตามที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 ข้อ 18 ข้อ 19 ข้อ 20 ข้อ 21 ข้อ 22 หรือ ข้อ 24 ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามข้อ 29 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับที่ บัญญัติไว้สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาต

ข้อ 38 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอ นุญาตหรือผู้ได้รับอนุญาตตามข้อ 29 กระทำความผิดเพราะฝ่าฝืนข้อ 13 ข้อ 15 ข้อ 16 หรือข้อ 22 กรรมการ ผู้จัดการ หรือพนักงานของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี เว้นแต่ จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นด้วย

ข้อ 39 บรรดาวัตถุที่ใช้ในการผลิตอาวุธและอาวุธที่ผลิตขึ้น ซึ่งได้ผลิต สั่ง นำเข้ามาใน หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร มีกรรมสิทธิ์ มีไว้ ในครอบครอง ขาย หรือจำหน่าย โดยมิชอบด้วยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครอง แผ่นดินฉบับนี้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ให้ริบเสียทั้งสิ้น และ ให้ส่งมอบแก่กระทรวงกลาโหมเพื่อจัดการตามที่เห็นสมควร

ข้อ 40* ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามคำสั่ง ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายคำสั่งของคณะปฏิรูป

การปกครองแผ่นดินฉบับนี้ และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของคณะปฏิรูป การปกคร องแผ่นดินฉบับนี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้ บังคับได้

*[ข้อ 40 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2522, มาตรา 10]

ข้อ 41 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับนี้ ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2519

พลเรือเอก สงัด ชลออยู่
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

อัตราค่าธรรมเนียม
__________

(1) ใบอนุญาตตั้งโรงงานทำอาวุธ ฉบับละ 250,000 บาท
(2) ใบอนุญาตตั้งโรงงานประกอบอาวุธ ฉบับละ 100,000 บาท
(3) ใบอนุญาตตั้งโรงงานซ่อมแซมอาวุธ ฉบับละ 100,000 บาท
(4) ใบอนุญาตตั้งโรงงานเปลี่ยนลักษณะ อาวุธ ฉบับละ 100,000 บาท
(5) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 250 บาท
(6) การต่ออายุใบอนุญาตตั้งโรงงาน ทำอาวุธ ครั้งละ 25,000 บาท
(7) การต่ออายุใบอนุญาตตั้งโรงงาน ประกอบอาวุธ ครั้งละ 10,000 บาท
(8) การต่ออายุใบอนุญาตตั้งโรงงาน ซ่อมแซมอาวุธ ครั้งละ 10,000 บาท
(9) การต่ออายุใบอนุญาตตั้งโรงงาน เปลี่ยนลักษณะอาวุธ ครั้งละ 10,000 บาท

_______________________________

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37
ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2522

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่คำสั่งของ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับนี้กำหนดว่าอาวุธที่จะอนุญาตให้เอกชนผลิตได้นั้น ต้องเป็นอาวุธตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงก ่อให้เกิดความไม่สะดวกและล่าช้า ในทางปฏิบัติเพราะอาจต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกันบ่อยครั้งในการ อนุญาต ทั้งที่เป็นเรื่องเล็กน้อย นอกจากนั้นอาวุธที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ผู้ใด จะทำ ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะ สั่ง นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอก ราชอาณาจักร มี ขาย หรือจำหน่ายก็ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตตามคำสั่ง ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับนี้ และการฝ่าฝืน บทบังคับนี้จะมีโทษทาง อาญา ซึ่งทำให้มีปัญหาว่าเป็นการซ้ำซ้อนกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่อง กระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน เพราะกฎหมายดังกล่าว ได้บัญญัติถึงวิธีการอนุญาตในเรื่องเดียวกันนี้ไว้ด้วย อันก่อความยุ่งยากแก่ผู้ขอรับ ใบอนุญาต เพราะต้องขออนุญาตตามกฎหมายทั้งสองฉบับ ดังนั้น สมควรให้รัฐมนตรีมี อำนาจอนุญาตให้มีการผลิตอาวุธใด ๆ ได้โดยไม่ต้องกำหนดในกฎกระทรวง และ สมควรยกเลิกบทกำหนดโทษที่ซ้ำซ้อนกันนั้นเสีย เพราะการฝ่าฝืนมีความผิดตาม กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องประสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืนอยู่แล้ว นอกจากนั้นบทบัญญัติในปัจจุบันบางประการยังไม่เหมาะสม สมควร กำหนดใ ห้ผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตเป็นบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเพื่อให้ มีการควบคุมอย่างใกล้ชิด และสมควรส่งเสริมให้โรงงานผลิตอาวุธที่ได้รับใบอนุญาต จัดตั้งขึ้นสามารถดำเนินงานได้โดยคล่องตัวยิ่งขึ้น ในการสั่งสิ่งของเข้ามาในการ ผลิตอาวุธ การจัดให้มีสถานที่เก็บอาวุธและวัตถุที่ใช้ในการผลิตอาวุธ ตลอดจน สามารถผลิตอาวุธสำหรับขายหรือจำหน่ายแก่บุคคลอื่นใดนอกจากกระทรวงกลาโหม และกรมตำรวจได้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้โรงงานนั้นสามารถดำเนินกิจการไป ได้อย่างสม่ำเสมอตามกำลังการผลิต อันจะเป็นประโยชน์แก่การผลิตอาวุธสำหรับ ราชการทหารและตำรวจด้วยในตัว นอกจากนั้น สมควรเพิ่มเติมการเก็บค่า ธรรมเนียมในการอนุญาตและจัดประเภทของใบอนุญาตเสียใหม่ให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

[รก.2522/28/4พ/1 มีนาคม 2522]

_______________________________

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37
ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2525

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้การ ผลิตอาวุธสำหรับราชการทหารและตำรวจดำเนินไปได้คล่องตัวยิ่งขึ้น สมควร แก้ไขให้ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งและประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วย โรงงานอยู่แล้ว ที่ไม่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ สามารถผลิตเฉพาะส่วนประกอบของ อาวุธดังกล่าวเป็นการเฉพาะคราวได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

[รก.2525/21/1พ/15 กุมภาพันธ์ 2525]

« ย้อนกลับ |

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย