ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37

โดยที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมีนโยบายที่จะให้เอกชนได้เข้ามา มีส่วนร่วมในการทำ ประกอบ ซ่อมแซมและเปลี่ยนลักษณะอาวุธสำหรับราชการทหาร และตำรวจ โดยขออนุญาตจัดตั้งโรงงานขึ้นในประเทศ ในการนี้จำเป็นต้องกำหนด มาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับการควบคุม การทำ ประกอบ ซ่อมแซมและเปลี่ยนลักษณะ อาวุธสำหรับราชการทหารและตำรวจให้เป็นไปโดยรัดกุม เพื่อความปลอดภัยของ ประเทศและความสงบสุขของประชาชน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจึงมี คำสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้ว ในคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งของ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับนี้ ให้ใช้คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับนี้แทน

ข้อ 2 ในคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับนี้ อาวุธ หมายความว่า

(1) อาวุธปืน หรืออาวุธอย่างอื่นซึ่งใช้ส่งกระสุนปืน โดยวิธีระเบิด หรือกำลังดันของก๊าซหรืออัดลมหรือเครื่องกลไกอย่างใด ๆ ซึ่งต้องอาศัยอำนาจ ของพลังงานรวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งนั้น ๆ ด้วย

(2) กระสุนปืน และหมายความรวมถึงกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ทั้งชนิดที่มีหรือไม่มีกรด ก๊าซ เชื้อเพลิง เชื้อโรค ไอพิษ หมอกหรือควัน หรือกระสุน ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน หรือเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำ หรือใช้ประกอบกระสุนปืน รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งนั้น ๆ ด้วย

(3) วัตถุที่สามารถส่งกำลังดันอย่างแรกต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลัน ในเมื่อระเบิดขึ้นโดยมีสิ่งเหมาะมาทำให้เกิดกำลังดัน หรือโดยการสลายตัวของ วัตถุระเบิดนั้นทำให้มีแรงทำลายหรือแรงประหาร และหมายความรวมถึงเชื้อประทุ ต่าง ๆ หรือวัตถุอื่นใดอันมีสภาพคล้ายคลึงกัน ซึ่งใช้หรือทำขึ้นเพื่อให้เกิดการระเบิด รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งนั้น ๆ ด้วย หรือ

(4) สิ่งอื่นใดที่มีอำนาจในการประหาร ทำลายหรือทำให้หมด สมรรถภาพในทำนองเดียวกับอาวุธตาม (1) (2) หรือ (3) รวมทั้งส่วนประกอบ ของสิ่งนั้น ๆ ด้วย เพื่อประโยชน์แห่งคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับนี้ คำว่า ส่วนประกอบ หมายความว่า ส่วนต่าง ๆ ของอาวุธตาม (1) (2) (3) หรือ (4) และหมายความรวมถึงอุปกรณ์อย่างใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาประกอบกับอาวุธดังกล่าวแล้ว ทำให้อาวุธนั้นมีประสิทธิภาพหรือเกิดประโยชน์แก่การใช้เพิ่มขึ้น หรือทำให้คุณลักษณะ เปลี่ยนแปลงไป ผลิต หมายความว่า ทำ ประกอบ ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนลักษณะ พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติการตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับนี้ รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามคำสั่งของ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับนี้

ข้อ 3 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับนี้ ไม่ใช้บังคับแก่

(1) การผลิตอาวุธโดยส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม
(2) การซ่อมแซมอาวุธโดยส่วนราชการของกรมตำรวจ

ข้อ 4* รัฐมนตรีมีอำนาจอนุญาตให้บุคคลใดผลิตอาวุธสำหรับราชการ ทหารและตำรวจได้ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับนี้

*[ข้อ 4 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2522, มาตรา 3]

*[รก.2522/28/4พ./1 มีนาคม 2522]

ข้อ 5* นอกจากที่บัญญัติไว้แล้วในคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครอง แผ่นดินฉบับนี้ การกระทำใดซึ่งได้รับอนุญาตตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครอง แผ่นดินฉบับนี้ ให้การกระทำนั้นได้รับยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตและปฏิบัติตาม กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืน

*[ข้อ 5 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2522, มาตรา 3]

*[รก.2522/28/4พ./1 มีนาคม 2522]

ข้อ 6* ผู้ใดประสงค์จะผลิตอาวุธตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการ ปกครองแผ่นดินฉบับนี้ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อรัฐมนตรีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ผู้ ยื่นคำขอต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ตั้ง โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานด้วย ผู้ขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน จำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

*[ข้อ 6 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519,พ.ศ. 2522, มาตรา 3]

*[รก.2522/28/4พ./1 มีนาคม 2522]

ข้อ 7 ในการออกใบอนุญาต รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขไว้ ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ

(1) ปริมาณและคุณภาพของอาวุธที่ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องผลิต
(2) การขายหรือจำหน่ายอาวุธให้แก่กระทรวงกลาโหมหรือ กรมตำรวจ
(3) การรับเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมเข้า ฝึกอบรมการปฏิบัติงานในโรงงานผลิตอาวุธของผู้ได้รับใบอนุญาต
(4) การกำหนดชนิด คุณภาพ อัตราส่วน และแหล่งกำเนิดของวัตถุ ที่ใช้ในการผลิตอาวุธ
(5) สถานที่เก็บวัตถุที่ใช้ในการผลิตอาวุธ และอาวุธที่ผลิตขึ้น
(6) เรื่องอื่น ๆ

ข้อ 8* ประเภทของใบอนุญาตมีดังนี้

(1) ใบอนุญาตตั้งโรงงานทำอาวุธ
(2) ใบอนุญาตตั้งโรงงานประกอบอาวุธ
(3) ใบอนุญาตตั้งโรงงานซ่อมแซมอาวุธ
(4) ใบอนุญาตตั้งโรงงานเปลี่ยนลักษณะอาวุธ

ผู้ได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานทำอาวุธให้ถือว่าได้รับอนุญาตตั้งโรงงาน ประกอบ ซ่อมแซม และเปลี่ยนลักษณะอาวุธด้วย ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อนี้ให้ถือว่าได้รับอนุญาตให้มีไว้ในครอบครอง ซึ่งอาวุธที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำ ประกอบ ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนลักษณะ แล้วแต่กรณี

*[ข้อ 8 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งของคณะปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2522, มาตรา 4]

ข้อ 9 ใบอนุญาตซึ่งออกตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับนี้ ให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีกำหนดไว้ในใบอนุญาต แต่มิได้กำหนดเกิน สิบปีนับแต่วันออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดในกฎกระทรวง

ข้อ 10 ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยตามที่ ระบุไว้ในใบอนุญาต ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับ ใบอนุญาตขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ใบอนุญาตสูญหายหรือ ชำรุดเสียหาย

ข้อ 11 เมื่อตั้งโรงงานเสร็จแล้ว ก่อนเปิดดำเนินการผลิตอาวุธ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแจ้งเป็นหนังสือให้รัฐมนตรีทราบเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ไปตรวจสอบโรงงานเสียก่อน ถ้าเห็นว่าโรงงานยังไม่ถูกต้องตามที่กำหนดใน กฎกระทรวงหรือตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้ผู้ได้รับ ใบอนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าระยะเวลาดังกล่าวไม่ เพียงพอ ก็ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขอขยายระยะเวลาต่อรัฐมนตรีเพื่อสั่งขยายระยะ เวลาให้ตามสมควร ถ้าเห็นว่าโรงงานถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือตามที่ระบุ ไว้ในใบอนุญาต จึงให้รัฐมนตรีอนุญาตเป็นหนังสือให้ดำเนินการผลิตอาวุธได้

ข้อ 12 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการดำเนินการผลิตอาวุธ ของผู้ได้รับใบอนุญาต ให้รัฐมน ตรีมีอำนาจวางระเบียบการจัดให้เจ้าหน้าที่ของ ส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมอยู่ประจำโรงงานของผู้ได้รับใบอนุญาต เพื่อ ตรวจสอบการปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นไปตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการ ปกครองแผ่นดินฉบับนี้

ข้อ 13 ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิตอาวุธอื่นใดนอกจากที่ได้ระบุ ไว้ในใบอนุญาต

ข้อ 14 ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเปลี่ยนแปลงหรือใช้โรงงาน หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงงานให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่ได้รับอนุญาต เป็นหนังสือจากรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมาย

ข้อ 15* ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะสั่งหรือนำเข้ามาใน ราชอาณาจักรซึ่งวัตถุใด ๆ เพื่อใช้ในการผลิตอาวุธ หรือสั่งหรือนำเข้ามาใน ราชอาณาจักรซึ่งอาวุธใด ๆ เพื่อใช้ในการผลิตอาวุธหรือเป็นตัวอย่างหรือ เพื่อวิจัยเกี่ยวกับการผลิต ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี และต้องปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ใดรับใบอนุญาตซึ่งได้รับอนุญาตให้สั่งหรือนำเข้ามาใน ราชอาณาจักร ซึ่งวัตถุหรืออาวุธตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับอนุญาต และปฏิบัติตาม กฎหมายอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการขออนุญาตสั่งหรือนำวัตถุหรืออาวุธนั้น ๆ เข้าใน ราชอาณาจักรและการมีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุหรืออาวุธดังกล่าว

*[ข้อ 15 วรรคหนึ่ง ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่ง ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2522, มาตรา 5]

ข้อ 16 ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้วัตถุหรืออาวุธที่ได้สั่งหรือ นำเข้ามาในราชอาณาจักรให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาตตามข้อ 15

ข้อ 17 ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ทราบเวลาทำงานของโรงงาน และห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงเวลาทำงาน เว้นแต่ได้ แจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทราบล่วงหน้าก่อน

ข้อ 18 ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องส่งรายงานและบัญชีเกี่ยวกับชนิดและ ปริมาณของวัตถุที่ใช้ในการผลิตอาวุธและอาวุธที่ผลิตขึ้นต่อพนักงานเจัาหน้าที่ตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง บัญชีตามวรรคหนึ่งต้องมีรายงานถูกต้องตรงกับชนิดและปริมาณของ วัตถุหรืออาวุธที่เก็บไว้ภายในโรงงานหรือสถานที่เก็บตามข้อ 19

| หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย