ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บรรพ 3
เอกเทศสัญญา
_______
ลักษณะ 21
ตั๋วเงิน
_________
หมวด 1
บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
_________
มาตรา 899 ข้อความอันใดซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะนี้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่
มาตรา 900 บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อม จะต้องรับผิดตามเนื้อความ ในตั๋วเงินนั้น ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงไดหรือลายพิมพ์นิ้วมืออ้าง เอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไซร้ แม้ถึงว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็น ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่
มาตรา 901 ถ้าบุคคลคนใดลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงิน และมิได้เขียนแถลงว่า กระทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนั้นย่อมเป็นผู้รับผิดตามความในตั๋วเงินนั้น มาตรา 902 ถ้าตั๋วเงินลงลายมือชื่อของบุคคลหลายคน มีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจจะเป็น คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลย หรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผลไซร้ ท่านว่าการนี้ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึง ความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงิน
มาตรา 903 ในการใช้เงินตามตั๋วเงิน ท่านมิให้ให้วันผ่อน
มาตรา 904 อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดย ฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรง เหมือนกัน
มาตรา 905 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ใน ครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุด จะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลัง ลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคลผู้ที่ลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุด นั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียแล้วท่านให้ถือเสมือน ว่ามิได้มีเลย ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดง ให้ปรากฏสิทธิของตนในตั๋วตามวิธีการดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาจำต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่ จะได้มาโดยทุจริต หรือได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่งข้อความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ด้วย
มาตรา 906 คำว่าคู่สัญญาคนก่อน ๆ นั้น รวมทั้งผู้สั่งจ่าย หรือผู้ออกตั๋วเงินและ ผู้สลักหลังคนก่อน ๆ ด้วย
มาตรา 907 เมื่อใดไม่มีที่ในตั๋วเงินซึ่งจะสลักหลังได้ต่อไปไซร้ท่านอนุญาตให้ เอากระดาษแผ่นหนึ่งผนึกต่อเข้ากับตั๋วเงินเรียกว่าใบประจำต่อ นับเป็นส่วนหนึ่งแห่งตั๋วเงินนั้น การสลักหลังในใบประจำต่อครั้งแรกต้องเขียนคาบบนตั๋วเงินเดิมบ้างบนใบประจำ ต่อบ้าง
| หน้าถัดไป »
- บรรพ 1
- บรรพ 2
- บรรพ 3
-
ลักษณะ 1 ซื้อขาย
-
ลักษณะ 2 แลกเปลี่ยน
-
ลักษณะ 3 ให้
-
ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์
-
ลักษณะ 5 เช่าซื้อ
-
ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน
-
ลักษณะ 7 จ้างทำของ
-
ลักษณะ 8 รับขน
-
ลักษณะ 9 ยืม
-
ลักษณะ 10 ฝากทรัพย์
-
ลักษณะ 11 ค้ำประกัน
-
ลักษณะ 12 จำนอง
-
ลักษณะ 13 จำนำ
-
ลักษณะ 14 เก็บของในคลังสินค้า
-
ลักษณะ 15 ตัวแทน
-
ลักษณะ 16 นายหน้า
-
ลักษณะ 17 ประนีประนอมยอมความ
-
ลักษณะ 18 การพนันและขันต่อ
-
ลักษณะ 19 บัญชีเดินสะพัด
-
ลักษณะ 20 ประกันภัย
-
ลักษณะ 21 ตั๋วเงิน
-
ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท
-
ลักษณะ 23 สมาคม
- บรรพ 4
- บรรพ 5
- บรรพ 6