ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
ประเทศจีน
ท่องเที่ยวเมืองจีน
- พระราชวังโบราณในปักกิ่ง
-
กำแพงเมืองจีน
- หอบวงสรวงสวรรค์
-
พระราชวังฤดูร้อน
-
สุสานจักรพรรดิจิ๋นซี
- เมืองโบราณลี่เจียง
-
ทิวทัศน์ในเมืองกุ้ยหลิน
ท่องเที่ยวเมืองจีน
หอบวงสรวงสวรรค์
"หอเทียนถาน" หรือ "หอบวงสรวงสวรรค์" ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงปักกิ่งนั้น เริ่มสร้างเมื่อปีค.ศ.1420เป็นสถานที่ประกอบพิธีสักการบูชาฟ้าและดินของ กษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644) และชิง (ค.ศ.1644-1911) ของจีนซึ่งเป็นพระราชพิธีที่กระทำขึ้นเพื่อบวงสรวงฟ้าขอฝนให้พืชผลใน ไร่นาอุดมสมบูรณ์และ พสกนิกรอยู่ร่มเย็นเป็นสุขนั่นเอง บนพื้นที่กว่า 2.7 ล้านตารางเมตรของเทียนถาน ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า "กู้กง" หรือ "พระราชวังโบราณ" ถึง 4 เท่านั้น ประกอบด้วยกำแพงโอบล้อม 2 ชั้น ซึ่งแบ่งเรียกเป็น "เขตชั้นนอก" คือ พื้นที่ในส่วนระหว่างกำแพงชั้นในกับชั้นนอก และ "เขตชั้นใน" คือ พื้นที่ใจกลางที่ล้อมรอบอยู่ด้านในของกำแพงชั้นในและจากความเข้าใจลึกซึ้งในเรื่องของฟ้าและดินของชาวจีนในสมัยโบราณที่ว่า แผ่นฟ้าโค้ง ผืนดินเหลี่ยม และ ฟ้าสูง แผ่นดินต่ำ จึงได้มีการออกแบบก่อสร้าง "เทียนถาน" ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมพิเศษที่ เน้นความเชื่อดังกล่าว คือ ให้กำแพงด้านทิศเหนือสูงกว่าด้านใต้และมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมส่วนด้านใต้จะต่ำกว่าและเป็นรูปเหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งถูกเรียกว่า "กำแพงฟ้าดิน" สำหรับสิ่งปลูกสร้างสำคัญต่าง ๆ ในเทียนถาน เช่น "หยวนชิว" หรือ "แท่นบวงสรวงฟ้า" "ฉี่เหนียนเตี้ยน" หรือ "ตำหนักสักการะ" และ "ตำหนักหวงฉุงยูว์" หรือ "หอเทพสถิต" เป็นต้น ต่างก็เป็นทรงกลมเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นปรากฏการณ์แห่งดวงดาว "ฉีเหนียนเตี้ยน" หรือ "ตำหนักสักการะ" เป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีเอกลักษณ์ของจีนและก็เป็นสิ่ง ปลูกสร้างที่ยิ่งใหญ่สวยงามและโดดเด่นที่สุดในเทียนถาน เป็นสถานที่สำหรับบวงสรวงฟ้า เพื่อขอให้พืชพันธ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ตำหนักนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง32เมตรและมีความสูงราว 40 เมตร
เป็นตำหนักทรงกลมโครงไม้โดยมีหลังคาลักษณะพิเศษที่ไม่มีคานไม้เลย ส่วนเสาใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณกลางห้องโถงทั้ง 4 เสานั้นต่างมี ความสูงราว 20 เมตร เป็นสัญลักษณ์แห่งความหมายของ 4 ฤดูกาลในรอบหนึ่งปีนั่นเอง อีก 12 เสาที่เล็กกว่าซึ่งก็ตั้งอยู่ในห้องโถงใหญ่ของฉีเหนียนเตี้ยนเช่นกันนั้น เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงเดือนทั้ง 12 เดือนในรอบหนึ่งปีนั่นเอง นอกจากนั้นยังมีอีก12เสาที่รวมเข้าอยู่กับกำแพงของ "ฉีเหนียนเตี้ยน" ด้วยกันซึ่งมีความหมายว่า วันหนึ่งมี 12 ช่วงและแต่ละ ช่วงในอดีตนั้นตรงกับเวลา 2 ชั่วโมงในสมัยปัจจุบัน ส่วนฝ้าเพดานในห้องโถง ที่เป็นรูปปั้นมังกร 9 ตัวนั้นมีสีสันหลากหลาย มีความประณีตและมีความโอ่อ่างดงามยิ่ง ส่วนยอดหลังคาที่หุ้มทองนั้นมีความงามสอดคล้องกับหลังคา กระเบื้องเคลือบสีน้ำเงินอย่างกลมกลืน อีกทั้งตำหนักนี้ได้สร้างบนแท่นหินอ่อนสีขาวสามชั้นที่มีความใหญ่โต ยิ่งทำให้ลักษณะ ของ "ฉีเหนียนเตี้ยน" มองดูแล้วช่างยิ่งใหญ่และงดงามตระการตายิ่ง
"หยวนชิว" หรือ "แท่นบวงสรวงฟ้า" มีลักษณะทรงกลม เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีเซ่นไหว้ฟ้าในช่วงฤดูหนาวของแต่ละปีและ ขอฝนในช่วงฤดูร้อน โดยเมื่อย่างเข้าสู่เหมันฤดู จักรพรรดิจะต้องเสด็จมา ณ สถานที่แห่งนี้เพื่อกราบไหว้ขอบคุณสวรรค์ที่ ช่วยบันดาลความสมบูรณ์พูนสุขแห่งพืชผลมาตลอดปี รวมถึงขอให้ไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินอยู่ร่มเย็นเป็นสุขในปีต่อ ๆ ไป "แท่นบวงสรวงฟ้า" มีฐานทั้ง 3 ชั้น สร้างขึ้นจากหินอ่อนสีขาว ซึ่งมีความสูงกว่า 5 เมตร เมื่อยืนอยู่จากจุดของ "แท่นบวงสรวงฟ้า"แล้ว มองไปทั้งสี่ทิศจะสามารถเห็นท้องฟ้าสีครามที่กว้างใหญ่ไพศาลไร้ขอบเขต ส่วนจุดของพื้นที่เท้ากำลังสัมผัสอยู่นั้นเป็นฐานหินสีขาวอมเทา ทำให้รู้สึกประดุจยืนอยู่ท่ามกลางมวลหมอกในท้องทะเลกว้างหรือเหมือนอยู่บนชั้นอวกาศ สถาปัตยกรรมของ "หยวนชิว" ก็มีการออกแบบที่มีเอกลักษณ์เช่นกัน จำนวนก้อนหินที่ใช้ในการ ก่อสร้างนั้นต่างผูกพันกับหมายเลข "9" เพื่อแสดงให้เห็นปรากฏการณ์ของดวงดาว อย่างเช่น พื้นหินส่วนใจกลางแท่นบูชาฟ้าชั้นบนสุด โดยแผ่นหินลักษณะคล้ายรูปพัด จะเรียงกระจายตัวออกไปเป็นรัศมีวงกลม เพิ่มขึ้นทีละ 9 แผ่น ทบไปเรื่อยๆ รวมทั้งสิ้น 3,402 แผ่น หินแต่ละก้อนจะมีขนาด และการจัดวางที่ประณีตยิ่ง แม้ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเป็นเวลานับร้อย ๆ ปี ก็ยังสามารถคงสภาพ สมบูรณ์และเป็นระเบียบเหมือนเมื่อแรกสร้างจนถึงปัจจุบันอย่างน่าอัศจรรย์ ตามความเชื่อของคนจีนในสมัยโบราณ เรียกที่นี่ว่า "สวรรค์ 9 ชั้น" เป็นจุดสูงสุดและเชื่อว่า เป็นที่ประทับของเทพเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้ การคำนวณ การใช้วัสดุก่อสร้างและการก่อสร้างเป็นต้นของสิ่งปลูกสร้างวงกลมต่างมี ความสลับซับซ้อนมากกว่าสิ่งปลูกสร้างทรงสี่เหลี่ยม หากยืนอยู่ ณ ตำแหน่งหินใจกลางแท่นบูชาฟ้าแห่งนี้ แล้วตะโกนออกไปเพียงเบาๆเท่านั้น ก็จะมีเสียงสะท้อนก้องตอบกลับมาให้ได้ยินในทันท่วงทีอีกด้วย โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของ "เทียนถาน" ที่มีความสลับซับซ้อนและมีความเป็นวิทยาศาสตร์นี้ต่างสะท้อนให้เห็นระดับของวิทยาการสมัยใหม่ด้านสถาปัตยกรรม ในยุคกลางของศตวรรษที่ 16 ของจีนได้อย่างน่าทึ่ง
สำหรับสีสันที่ใช้ในการตกแต่งสิ่งปลูกสร้างของ "หอเทียนถาน" นั้นก็มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในสมัยนั้น เนื่องจากว่า ในสมัยโบราณของจีน มักจะใช้สีเหลืองอร่ามซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจแห่งพระจักรพรรดิที่ล่วงละเมิดไม่ได้นำมาตกแต่งพระราชวังแต่ในการตกแต่ง "หอเทียน ถาน" นั้นกลับใช้สีน้ำเงินซึ่งเป็นสีของฟ้ามาเป็นสีสันสำคัญ สิ่งปลูกสร้าง สำคัญอื่น ๆ ใน "เทียนถาน" ต่างก็มุงด้วยหลังคากระเบื้องเคลือบที่เป็นสีน้ำเงินเช่นกัน พอเดินเข้าสู่"เทียนถาน" ก็จะเห็นสีน้ำเงินเป็นส่วนใหญ่ซึ่งช่วย เพิ่มสีสันและเสริมความหมายอันทรงพลังให้แก่"เทียนถาน"ที่เป็นสถานที่ สำหรับประกอบพระราชพิธีสักการบูชาฟ้า ยิ่งทำให้ผู้คนตระหนักถึงความหมายอันลึกซึ้งและยิ่งใหญ่ของ "เทียนถาน" แห่งนี้ นอกจากนี้"เทียนถาน"ยังมีสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญและโดดเด่นอื่น ๆ อีก ได้แก่ "เทียนซินสือ" หรือ "หินใจกลางสวรรค์" หินแผ่นนี้มีความสำคัญ คือ หากยืนอยู่ ณ หินก้อนนี้แล้วพูดด้วยเสียงเบาๆ ก็จะทำให้มีเสียงสะท้อนก้องตอบ กลับมาให้ได้ยินในทันทีอีกด้วย นับเป็นหินสัญลักษณ์ที่ต้องการสะท้อนความหมายว่า เมื่อจักรพรรดิได้พระราชทานพระดำริในกิจการใดก็ตาม ประชาชนทั่วไปทุกคนต่างก็จะต้องรีบตอบสนองพระราชประสงค์ทันที มิฉะนั้นก็จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนเจตนาแห่งสวรรค์ เพราะเชื่อกันว่า จักรพรรดิเป็นโอรสสวรรค์นั่นเอง "สะพานตันปี้" ที่มีความยาว 360 เมตรและมีความกว้าง 30 เมตรนั้นเป็นทางเชื่อมระหว่างตำหนัก "ฉีเหนือนเตี้ยน" กับ "แท่นบวงสรวงฟ้า" โดยทางเดินที่เหยียดยาวจากด้านใต้ที่สูงเพียง 1 เมตรนั้น จะค่อยๆเพิ่มความสูงขึ้นจนไปสูงสุดที่จุดหมายปลายทางด้านเหนือที่มี ความสูงถึง3เมตรได้แฝงความหมายสำคัญเอาไว้ว่าในแต่ละก้าวที่องค์จักรพรรดิ์เสด็จย่ำพระบาทผ่านมาบนเส้นทางสายนี้ จะค่อย ๆ สูงขึ้นเรื่อย ๆ ไปสู่สรวงสวรรค์ ซึ่งถูกเรียกว่า"เสินเต้า"หรือ"ทางศักดิ์สิทธิ์"เป็นทางเดินของสวรรค์และเทพเทวดาองค์ต่าง ๆ โดยถนนฝั่งซ้ายสำหรับองค์จักรพรรดิเสด็จผ่าน ส่วนถนนฝั่งขวาสำหรับขุน นางชั้นผู้ใหญ่
"ตำหนักหวงฉุงยูว์" หรือ"หอเทพสถิต" เป็นสถานที่ประดิษฐานแผ่นป้ายองค์เทพเทวาทั้งหลายโดยเป็นอาคารสูง 19.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางที่ฐาน 15.6 เมตร สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง สำหรับกำแพงสะท้อนเสียงที่มีชื่อเสียงเรืองนามไปทั่วโลกนั้นก็เป็นกำแพงทรงกลมรอบนอกของหอเทพสถิต มีความยาว 193.2 เมตร สูง 3.7 เมตร และหนา 0.9 เมตร สามารถส่งผ่านเสียงผ่านไปถึงผู้ยืนอยู่ที่กำแพงฝั่งตรงข้ามได้อย่างชัดเจน แม้เสียงนั้นจะเบาราวกับเสียงกระซิบระหว่างคู่รักกันก็ตาม
"ไจกง" หรือตำหนักรักษาศีล ซึ่งเป็นสถานที่ประทับในช่วงถือศีลกินเจก่อนถึงวันจัดพระราชพิธีต่าง ๆ ของจักรพรรดินั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ "ตำหนักฉีเหนียน เตี้ยน" ส่วนฐานสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว เดิมทีเรียกตำหนักนี้ว่า "ตำหนักไร้คาน"เนื่องจากส่วนหลังคาของอาคารแห่งนี้สร้างขึ้นโดยไม่ต้องใช้คานไม้นั่นเอง นอกจากนั้น "หอเทียนถาน" ยังได้สร้างระบบภาวะนิเวศที่ส่งเสริมให้มนุษย์อยู่กับธรรมชาติได้อย่างประสานกลมกลืนกันด้วยการปลูกต้นไม้ร่มรื่นจำนวนมากและยังปลูกพืชคลุมดินอย่างสมบูรณ์ไว้อีกส่วนหนึ่ง เมื่อท่าน เดินเข้าสู่"หอเทียนถาน"ก็จะเห็นต้นไม้สูงใหญ่เขียวชอุ่มให้ความร่มเย็นอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะต้นไป๋ ที่มีอายุหลายร้อยปีแผ่กิ่งก้านโน้มเข้าหากันจำนวนมาก ซึ่งได้สร้างบรรยากาศที่เคร่งขรึมสง่างามน่าเกรงขามให้กับ "หอเทียนถาน" ยิ่งขึ้น ตามสถิติที่มีผู้ศึกษาไว้ เฉพาะต้นไป๋ภายใน "เทียนถาน" ก็มีจำนวนมาก กว่า 4,000 ต้นแล้ว เพราะตามความเชื่อของคนจีนในสมัยโบราณ สีเขียวเป็นสัญลักษณ์แสดงถึง "ความเคารพระลึกถึงและความปรารถนา" ทั้งนี้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนจีนมักจะปลูกต้นสน และต้นไป๋ไว้ตามหอสักการะวัดวาอารามและสุสานต่างๆซึ่งมีให้เห็นทั่วประเทศนั่นเอง "เทียนถาน" นับเป็นกลุ่มสิ่งปลูกสร้างสำคัญที่ยังคงสภาพความสวยงาม ขนาดใหญ่โตและสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของจีนในปัจจุบัน โดยมีชื่อเสียงไปทั่วโลกด้วยแบบการก่อสร้างและสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยโครงสร้างที่มีเอกลักษณ์และการตกแต่งที่สง่างามของโบราณสถานแห่งนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นกลุ่มสิ่งก่อสร้างโบราณที่สร้างด้วยฝีมือประณีตและสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของจีนซึ่งไม่เพียงแต่เป็นอัญมณีเม็ดงามสุกสกาวที่ประดับในประวัติสถาปัตยกรรมจีนเท่านั้น หากยังเป็นสิ่งล้ำค่าในประวัติสถาปัตยกรรมของโลกอีกด้วย หลังจากคณะกรรมการมรดกโลก ได้ไปสำรวจโบราณสถาน "เทียนถาน" แห่งนี้แล้ว จึงได้พิจารณาว่า ไม่ว่าพิจารณาจากการออกแบบทั่วไปหรือสิ่งปลูกสร้างส่วนใดส่วนหนึ่ง ของ "เทียนถาน" ต่างสะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดเรื่อง "ดิน" กับ "ฟ้า" ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้มีบทบาท สำคัญตามความเชื่อที่ไร้ขีดจำกัดในสมัยโบราณของจีนด้วยเหตุนี้"เทียนถาน"จึงได้รับเลือกให้จัดเป็น "มรดกโลกทางวัฒนธรรม" เมื่อปีค.ศ. 1998
ข้อมูลทั่วไป
ชนเผ่า
เมืองโบราณทั้งเจ็ดของจีน
เมืองทรงเสน่ห์
ท่องเที่ยวเมืองจีน
พิเชฎฐ์ ชัยยัง
การศึกษาอิสระ ประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู สำนักบัณฑิต
สถาบันราชภัฏเชียงราย มกราคม 2553