สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
6 กบฏ
กบฏ
1 ตุลา.
กบฏแยกดินแดน
กบฏ 23
กุมภา.
กบฏล้มล้างพระราชบัลลังก์
กบฏวังหลวง
กบฏแมนฮัตตัน
กบฏล้มล้างพระราชบัลลังก์
จากการสืบสวนของตำรวจได้ความว่า มีบุคคลคณะหนึ่งได้วางแผนการณ์สังหารคณะรัฐมนตรี
และยังมีแผนการณ์อันร้ายแรงไปกว่านั้นคือ
พวกกบฎยังมีแผนการณ์จะลอบวางเพลิงเผากรุงเทพฯอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของพวกกบฎกลุ่มนี้คือ ต้องการล้มล้างพระราชบัลลังก์
ให้มีการปกครองระบบมหาชนรัฐ อย่างที่มีประธานาธิบดี
หรือย่างคอมมิวนิสต์ ไม่มีใครทราบ
อย่างไรก็ดี เป็นที่เข้าใจกันดีในขณะนั้นว่า การล้มล้างพระมหากษัตริย์
หรือพระราชบัลังก์ และแผนการณืก่อวินาศกรรมกรุงเทพฯให้กลายเป็นทะเลเพลิงนั้น
เป็นพวกกลุ่มเดียวกัน หรือมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน
และเชื่อกันว่าเป็นไปตามครรลองของนายปรีดี คือโซเซียลลิสต์
แต่ไม่ใช่โซเซียลลิสต์ในแบบประชาธิปไตย แต่เป็นแบบเลนินหรือแบบปฎิวัติ
การเคลื่อนไหวของพวกกบฎแบบต่างๆนั้น เป็นทรรศนะไปในแนวโน้มของลัทธิโซเซียลลิสต์
และปัญหาการแยกดินแดนแทบทั้งสิ้น
เป็นการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันระหว่างพวกซ้ายสุดกับพวกขวาสุด
มากกว่าจะเป็นพวกที่ฝักใฝ่ประชาธิปไตย
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งนิยมลัทธิเผด็จการแบบนาซี แต่มิได่สวนวิญญาณแบบฮิตเลอร์
เมือได้พิจารณาดูเหตุการณ์ของประเทศในขณะนั้นแล้ว ก็มีความเห็นว่า
เห็นทีจะไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้
นายปรีดีกับพวกสมุนยังคงพยายามที่จะยึดอำนาจคืนอยู่เสมอ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์
2492 จอมพล ป. ได้ออกโรงให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ว่า
รัฐบาลมีความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการที่จะต้องปรพกาศสภาวะฉุกเฉิน
เพราะรัฐบาลเริ่มมองเห็นเงาแห่งการกบฎ และการนองเลือด
ความไม่สงบและความวุ่ยวายกำลังจะเกิดขึ้น
ทั้งนี้เพื่อดำรงค์ไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประเทศ
และรัฐบาลมีอำนาจเต็มที่ในการปราบปรามผู้ดิคการก่อการร้าย
ในขณะที่กำลังเสนอขออนุญาติคณะอภิรัฐมนตรีอยู่นั้น
คณะอภิรัฐมนตรีได้พยายามคัดค้านว่า การประกาศสภาวะฉุกเฉิน
นั้นควรกระทำเมือมีเหตุการณืจริงๆ หรือไม่ก็เลี่ยงไม่ได้
เพราะการประกาศสภาวะฉุกเฉินเป็นการตัดสิทธิ์เสรีภาพของประชาชน และหนังสือพิมพ์
แม้รัฐบาลจะได้กล่าวถึงความจำเป็นต่างๆ ในการที่จะประกาศสภาวะฉุกเฉิน
แต่คณะอภิรัฐมนตรีก็ยังคงยืนกรานอยู่เช่นเดิม จอมพล ป.
จึงต้องยับยั้งด้วยความไม่พอใจ
ในการที่จอมพล ป. กล่าวปราศัยทางวิทยุกระจายเสียง และให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์
ในกรณีที่มีความจำเป็นที่ต้องประกาศสภาวะฉุกเฉินนั้น
ได้รับการวิพากษืวิจารณ์เป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่เหมาะสม
เพราะไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอะไรที่จะกระทำเช่นนั้น
และเป็นการแสดงออกของลัทธิเผด็จการอีกด้วย
แม้ว่าคณะอภิรัฐมนตรีและเสียงของหนังสือพิมพ์
จะได้พยายามคัดต้านอย่างแข็งขันสักเพียงใด จอมพล ป. ก็ประกาศสภาวะฉุกเฉินจนได้
โดยเาศัยเหตุการณ์กบฎเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2492 เป็นข้องอ้าง
โดยได้ประกาศสภาวะฉุกเฉินเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ นั้นเอง
และได้ออกแถลงการณ์ตักเตือนหนังสือพิมพ์ให้ตั้งอยู่ในความสงบ
และให้คำนึงถึงความสงบของประเทศ การเขียนโฆษณาใดๆ
อย่าได้กระทำไปในทางที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบเป็นอันขาด
ถ้าหนังสือพิมพ์ฉบับใดยังคงฝ่าฝืน
และแสดงตนเป็นปริปักษ์ต่อความสงบสุขของชาติต่อไปแล้ว
รัฐบาลจะต้องดำเนินการเท่าที่เห็นสมควร
นอกจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะออกคำแถลงการณ์ตักเตือนหนังสือพิมพ์แล้ว จอมพล ป.
ยังวิงวอนขอความร่วมมือจากประชาชน ให้ตั้งอยู่ในความสงบ
และประกอบกิจกรรมไปโดยสุจริต
อย่าประพฤตนอันเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศเป็นอันขาด.