สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
6 กบฏ
กบฏ
1 ตุลา.
กบฏแยกดินแดน
กบฏ 23
กุมภา.
กบฏล้มล้างพระราชบัลลังก์
กบฏวังหลวง
กบฏแมนฮัตตัน
กบฏ 23 กุมภา
กบฎ 1 ต.ค. 2491 และกบฎแบ่งแยกดินแดน ยังมิทันที่ใครจะลืมเหตุการณ์
กบฎอีกครั้งหนึ่งก็เกิดขึ้น คราวนี้เรียกว่า "กบฎ 23 กุมภาพันธ์ 2492"
เรื่องราวของกบฎครั้งนี้ เปิดฉากขึ้น วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2492 ในตอนเช้า
โดยคณะรัฐมนตรีได้ทราบความเคลื่อนไหว ของการกบฎครั้งนี้มาทุกระยะ
ขณะที่คณะรัฐนมตรีได้มีการประชุมกันอยู่นั้น พันเอกศิลป รัตนพิบูลชัย
เจ้ากรมรักษาดินแดน ได้เข้ามาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และรายงานให้จอมพล ป. ทราบว่า
ได้มีคณะนายทหารชั้นผู้น้อยจำนวนหนึ่งได้นำรถถัง 6 คัน พร้อมด้วยอาวุธครบมือ
กำลังเดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล และเจตนาสังหารโหดคณะรัฐมนตรีทั้งชุด
แต่มิได้เป็นไปตามแผน เพราะพลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทราบแผนล่วงหน้าก่อน
จึงได้ทำการยับยั้งสกัดกั้นไว้ได้
พร้อมให้ทหารชั้นผู้น้อยเหล่านั้นนำรถถังทั้งหมดกลับไปกรม
แล้วแจ้งเรื่องให้ตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมาย
นอกจากการจับกุมทหารชั้นผู้น้อยแล้ว พลตำรวจตรีเผ่า ศรียานนท์
ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายปราบปราม กับ พันตำรวจเอกประจวบ กิรติบุตร
ก็ออกทำการกวาดล้าง
จับกุมบุคคลต่างๆที่มีความเข้าใจว่ามีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับพวกกบฎครั้งนี้
บุคคลแรกที่ทำการจับกุม คือ พันเอกทวน วิชัยขัทคะ
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสมัยนายปรีดี พนมยงค์ ณ บ้านพัก
พร้อมด้วยร้อยเอกสุนทร ทรัพย์ทวี เรือเอกชลิต ชัยสิทธิเวช
นอกจากนี้ยังได้จับกุมทหารอีกหลายคน เพื่อนำมาสอบสวนคดีตามกฎหมาย
ด้วยเหตุการณ์และสถานการณ์ตึงเครียดดังกล่าว ทางรัฐบาลจึงได้มีคำสั่งให้ทั้ง 3
กองทัพเตรียมพร้อมที่จะรับสถานการณ์โดยทันที
ยิ่งไปกว่านั้นยังทำการปิดถนนสายสำคัญๆหลายสาย เช่น ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ
บริเวณพระบรมรูปทรงม้า ทำเนียบรัฐบาล ถนนสายบางกระบือ ร. พัน 3
จากสะพานควายถึงบางซื่อ และยังได้นำรถถังออกมาวิ่งเพ่นพ่านตามถนน
เพื่อเตรียมการปราบกบฎ เพราะจอมพล ป.
แน่ใจว่าการปราบกบฎครั้งนี้จะเป็นชนวนแห่งการกบฎใหญ่ อย่างไม่ต้องสงสัย
แต่ก็หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะไม่มีเรื่องราวหรือเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ
แต่อย่างไรก็ตาม เงาของการนองเลือด มันกำลังคืบใกล้เข้ามาทุกที.....