ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
5 ผู้ยิ่งใหญ่
หลุยส์ ปาสเตอร์
ผู้ประกาศสงครามกับเชื้อโรค
ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ.1860
หลุยส์ ปาสเตอร์ นักเคมีชาวฝรั่งเศส เดินทางไปไต่ภูเขาแอลป์ บริเวณใกล้ชาโมนีซ์
เขานำขวดปิดผนึกไปด้วยกว่า 30 ใบ ในขวดมีน้ำส่าสกัด กับน้ำตาล ก่อนหน้านี้ ปาสเตอร์
เคยทดลองให้เห็นมาแล้วว่า ถ้าเปิดขวดทิ้งไว้กลางอากาศ ที่เต็มไปด้วยฝุ่นละออง
สิ่งที่บรรจุไว้ในขวด จะมีเชื้อโรคปนเปื้อน ครั้งนี้ ปาสเตอร์ขึ้นไปบนภูเขาสูง
1,500 เมตร ซึ่งมีอากาศบริสุทธิ์ปราศจากเชื้อโรค แล้วเปิดขวดให้อากาศเข้าไป
จากนั้นจึงปิดผนึกอีกครั้ง เมื่อกลับมาถึงห้องทดลอง เขาก็แสดงให้เห็นว่า
น้ำส่านั้นไม่บูดหรือเสีย
การค้นพบครั้งนี้ได้นำไปใช้กำจัดเชื้อโรค ในน้ำนม เหล้าองุ่น และเบียร์
ทำให้เครื่องดื่มเหล่านี้ ปลอดภัยและน่าดื่ม จากผลของการศึกษานานแรมปีนี้เอง
ปาสเตอร์ยืนยันว่า " โรค " ที่เกิดในของเหลวชนิดต่างๆ
มาจากเชื้อแบคทีเรีย ในบรรยากาศชั้นล่างๆ ซึ่งเป็นภัยต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิต
เขายังเขียนไว้ในเวลาต่อมาว่า " ในโลกของการทดลอง โชคจะเข้าข้าง
แต่จิตใจที่เตรียมพร้อมแล้วเท่านั้น "
ตัวของเขาก็ได้เตรียมใจไว้พร้อมแล้ว ตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์
วิชาเคมีในปลายทศวรรษ 1840 ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ เมืองสตราสบูร์ก
ซึ่งอยู่ทางตะวันออก ของฝรั่งเศส เขาเขียนจดหมายถึงเพื่อนคนหนึ่งในปี ค.ศ.1851 ว่า
" ผมจวนไขความลับได้แล้ว หมอกที่บดบังจางลงทุกทีแล้ว " อีก 6 ปีต่อมา
เขาก็วิเคราะห์ถึงกระบวนการหมักเชื้อ ในแอลกฮอล์ และสรุปว่าสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋ว
ซึ่งต่อมาเขาเรียกว่า " จุลินทรีย์ " นั้น
เป็นสาเหตุให้ของเหลวบางอย่าง เช่น น้ำส้มสายชู และเหล้าองุ่น เน่าบูด
พระเจ้านโปเลียนที่ 3
ทรงมีรับสั่งให้ ปาสเตอร์แก้ปัญหาเรื่องเชื้อโรค ที่ทำให้เหล้าองุ่นเสื่อมคุณภาพ
เหล้าองุ่นเป็นผลิตผลสำคัญอย่างหนึ่ง ของฝรั่งเศส
ปาสเตอร์ได้ไปเยือนไร่องุ่นนับสิบๆ แห่ง เขาซักถามคนงาน ทดลองชิม
แนะนำตัวอย่างเหล้าองุ่นต่างๆ กลับมาตรวจดู ทั้งขั้นที่ยังบ่มไม่ได้ที่
บ่มได้ที่แล้ว และขั้นที่เสื่อมคุณภาพแล้ว
ผลการทดสอบแสดงว่า
เราอาจทำลายเชื้อโรคที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส โดยไม่มีผลต่อรสชาติของเหล้า
กรรมวิธีนี้ต่อมาเรียกว่า " การฆ่าเชื้อแบบปาสเตอร์ " หรือ " การพาสเจอไรซ์ "
(pasteurisation) ซึ่งปาสเตอร์นำไปใช้ทำให้นมปลอดเชื้อด้วย
อันที่จริง
เคยมีผู้เห็นแบคทีเรีย ด้วยกล้องจุลทรรศน์เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ 200 ปีหน้านั้น
แต่ในครั้งนั้นเข้าใจผิดไปว่าจุลินทรีย์ ผลที่เกิดจากการเน่าเสีย มิใช่สาเหตุ
ปาสเตอร์เป็นบุคคลแรก ที่แก้ไขให้เข้าใจกันอย่างถูกต้อง
ไม่นานนัก
ปาสเตอร์ก็เสาะหาวิธีรักษาโรคห่า ชนิดทั้งในคน และสัตว์ และเสนอแนวคิด
ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างใหญ่หลวงว่า เชื้อโรคได้ "
ปรากฎตัวขึ้นอย่างลึกลับจากที่ไหนก็ไม่รู้ "
แหล่งที่มาแน่ชัดที่สืบสาวไปได้ถึง คือจากความสกปรก และฝุ่นละออง
หลุยส์ ปาสเตอร์ เกิดเมื่อวันที่ 27
ธันวาคม ค.ศ.1822 เป็นบุตรเจ้าของโรงฟอกหนัง ในเมืองซึ่งอยู่ใกล้กับดิจอง
เขาไปยอมเจริญรอยตามบิดา ปาสเตอร์ไต่เต้าจากฐานะครูสอนวิชาเคมี
จนได้เป็นผู้อำนวยการสาขาวิทยาศาสตร์ ในวิทยาลัยครูที่มีชื่อเสียงของปารีส คือ
Ecole Normale Superieu
4 ปีต่อมา คือเมื่อปี
ค.ศ.1864 ปาสเตอร์ได้กล่าวปาฐกถา เรื่องงานของเขาที่ซอร์บอนน์
ซึ่งเป็นที่ของคณะวิทยาศาสตร์ และอักษรศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยปารีส
เขาชี้ให้ที่ประชุมดูของเหลว ที่เป็นสารอินทรีย์บางอย่างในภาชนะปิดผนึก และกล่าว "
(สารนี้) บริสุทธิ์มาตั้งแต่ข้าพเจ้าเริ่มการทดลอง เมื่อหลายปีมาแล้ว
บริสุทธิ์เพราะข้าพเจ้าเก็บไว้ให้ จากเชื้อโรคที่ลอยอยู่ในอากาศ "
ตลอดระยะเวลา 17 ปีต่อมา
ปาสเตอร์ใช้เวลาส่วนใหญ่ หายาป้องกัน (วัคซีน) โรคอหิวาต์สำหรับไก่ และโรคแอนแทร็ก
อันเป็นโรคฝีร้ายซึ่งมักเกิดกับแกะ และวัว ควาย ทำให้ถึงตายได้ และติดต่อถึงคนได้
เขาสังเกตว่าเมื่อปศุสัตว์เป็นโรคนี้ และหายจากโรคได้ครั้งหนึ่งแล้ว
ก็มักไม่เป็นโรคนี้อีกต่อไป เขาจึงฉีดเชื้อโรคที่อ่อนแรง เข้าไปในตัวสัตว์เหล่านี้
เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคตลอดชีพ เขากล่าวว่า " ขั้นตอนก็ง่าย
วิธีของข้าพเจ้า คือ ทำให้จุลินทรีย์ต่อสู้ และทำลายกันเองจนหมดสิ้นในที่สุด "
ต่อมาเขาหันมาสนใจหาทางรักษา
และป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1880 เพื่อผู้หนึ่งซึ่งเป็นสัตวแพทย์
ให้สุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าแก่เขา 2 ตัว เพื่อใช้ทดลอง
ผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัดจะไม่แสดงอาการในช่วง 3 - 12 สัปดาห์ จากนั้นจึงเริ่มชักกระตุก
เพ้อคลั่ง กลัวการกลืนน้ำอย่างยิ่ง และตายภายใน 2 - 3 วัน
วิธีรักษา คือ
ใช้กรดคาร์บอลิก หรือเหล็กเขี่ยไฟที่ร้อนแดง จี้แผลที่ถูกกัด แต่ "
การรักษาแบบนี้มักเป็นเหตุให้คนไข้ตาย ปาสเตอร์ต้องการหาวิธีที่ไม่โหดร้ายทารุณ
เขาไปเก็บตัวอยู่ในป่าเมอดง ใกล้ปารีส เขาขังสุนัขที่เป็นโรคกลัวน้ำไว้ที่นี่ 50
ตัว และพบเชื้ออยู่ในน้ำลาย และระบบประสาทของสุนัข ในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ.1884
หลังจากทดลองกับสุนัข และกระต่ายนับสิบๆ ครั้ง เขาก็เพาะวัคซีนไวรัสพิษสุนัขบ้า
ซึ่งเป็นเชื้อที่อ่อนแรงแล้วได้สำเร็จ
นอกจากจะช่วยต่อสู้โรคพิษสุนัขบ้าแล้ว ผลงานด้านวัคซีนของปาสเตอร์
ยังช่วยเบิกทางสู่วิชาแพทย์แขนง " วิทยาภูมิคุ้มกัน " (immunology)
ทุกวันนี้มีโรคที่ให้พิการ หรือถึงแก่ชีวิตประมาณ 30 ชนิด รวมทั้งโรคหัด โรคโปลิโอ
และโรคคอตีบ ซึ่งป้องกันได้ ด้วยการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน
ในปี ค.ศ.1888
ได้มีการเปิดสถาบันปาสเตอร์ ในกรุงปารีส งานส่วนหนึ่ง คือเพื่อค้นคว้าวิจัย
เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าต่อไป ต่อมาแม้อาการเส้นโลหิตแตก
จะทำให้ปาสเตอร์มีสภาพกึ่งอัมพาต
แต่กระนั้นเขาก็ยังดำรงตำแหน่งผู้นำของสถาบันแห่งนี้ จวบจนกระทั่งถึงแก่กรรม
เมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ.1894 ศพของเขาฝังไว้ในสุสานหินอ่อน
อันสง่างามในสถาบันแห่งนั้น คำจารึกที่สุสานของตนเอง
ซึ่งเขาได้ประพันธ์เตรียมเอาไว้ มีความว่า
"
กฎที่มีตัวเราเป็นเครื่องมือ คือกฎแห่งสันติภาพ การงาน และสุขภาพนั้น
ย่อมเสาะหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อช่วยให้มนุษย์ พ้นจากความหายนะที่ตามล้างผลาญ
กาลิเลโอ
อาร์คิเมดีส
หลุยส์ ปาสเตอร์
ไมเคลอันเจโล
ไอน์สไตน์