ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
5 ผู้ยิ่งใหญ่
ไอน์สไตน์
ยอดอัจฉริยะ เจ้าของทฤษฎีสัมพัทธภาพ
วันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ.1936
นักฟิสิกส์ชื่อ อัลเบิร์ต ไอน์ไตน์ ในนามของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง
ได้ยื่นสารที่เขาเรียกว่า " จดหมายจากมโนธรรม " ถึงประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ
แฟรงคลิน ดี รูลเวลต์ เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลตระหนักถึง การแผ่อำนาจของนาซี
และเตือนภัยถึงระเบิดอะตอม (atomic bomb หรือที่เคยเรียกกันว่า ระเบิดปรมาณู)
ที่ฮิตเลอร์พยายามจะมีไว้ในครอบครอง
จดหมายดังกล่าว
มีใจความตอนหนึ่งว่า " มีสถานการณ์บางอย่าง (ซึ่งเริ่มขึ้นแล้ว)
ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด และฝ่ายบริหารต้องดำเนินการ
อย่างเร่งด่วนหากจำเป็น " หรืออีกตอนหนึ่งว่า " ในช่วง
4 เดือนที่แล้ว มีความพยายามที่จะสร้างปฏิกิริยาลูกโซนิวเคลียร์
กับยูเรเนียมในปริมาณมาก ซึ่งจะก่อให้เกิดพลังงานมหาศาล รวมทั้งธาตุใหม่
ที่เหมือนยูเรเนียมเป็นจำนวนมาก "
ไอน์สไตน์เตือนว่าในไม่ช้า
นักฟิสิกส์เยอรมัน จะสร้างระเบิดชนิดใหม่ที่ " ทรงพลังยิ่ง "
เขาเขียนไว้ว่า " หากระเบิดชนิดนี้เพียงลูกเดียว
เกิดระเบิดขึ้นขณะขนถ่ายที่ท่าเรือ มันก็จะทำลายท่าเรือจนสิ้นซาก
รวมทั้งแถบปริมณฑลด้วย "
เมื่อได้รับจดหมายฉบับดังกล่าว ประธานาธิบดีรูสเวลต์ได้แต่งตั้ง "
คณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยยูเรเนียม " ในทันที แต่สหรัฐฯ
ยังไม่มีทีท่าจะตัดสินใจสร้างระเบิดอะตอม จนกระทั่งเดือนธันวาคม ค.ศ.1941
หลังจากญี่ปุ่น โจมตีฐานทัพเรือสหรัฐฯ ที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ ในฮาวายได้ไม่นาน
ก็ทำให้สหรัฐฯ ต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2
ไอน์สไตน์เพียงร่วมยื่นจดหมายเตือนครั้งนั้น แต่เขามิได้มีส่วน
ในการพัฒนาการสร้างระเบิดอะตอม มีการทดลองระเบิดอะตอมเป็นผลสำเร็จ
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1945 และในเดือนต่อมา
ก็มีการทิ้งระเบิดอะตอมที่เมืองฮิโรชิมา และเมืองนางาซากิของญี่ปุ่น
ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมหันต์ทั้งๆ
ที่จุดประสงค์เพียงเพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้
เมื่อไอน์สไตน์รู้ข่าวการระเบิด และผู้คนที่ต้องตายไปจำนวนมหาศาล
เขาถึงกับเอามือกุมศีรษะ และอุทานอย่างปวดร้าวว่า " โธ่? ไม่น่าเลย "
ในปี ค.ศ.1905
เมื่อไอน์สไตน์อายุ 26 ปี เขาได้ตีพิมพ์การค้นพบสมการ E = mc 2 (E
คือพลังงาน m คือมวล c คือความเร็วของแสง)
ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามวลขนาดเล็ก สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานมหาศาลได้
สมการนี้นำไปสู่การสร้างระเบิดอะตอม ซึ่งเป็นเรื่องที่ทิ่มแทงจิตสำนึก
ของไอน์สไตน์มาตลอด 20 ปีสุดท้ายของชีวิต
อัลเบิร์ต ไอน์สไต์
เกิดที่เมืองอูล์มในเยอรมนี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ในปีต่อมา
ครอบครัวของเขาย้ายมาอยู่ที่มิวนิก บิดาและลุงของไอน์สไตน์เปิดโรงงานวิศวกรรม
และไฟฟ้าเล็กๆ ขึ้นที่นี่ ไอน์สไตน์เริ่มสนใจการทำงานของโลกรอบตัว
ระหว่างล้มป่วยเมื่ออายุเพียง 4 ขวบ
บิดาของเขาให้เข็มทิศแม่เหล็กไว้เล่นอันหนึ่ง ซึ่งทำให้หนูน้อยพิศวงมาก
เพราะไม่ว่าจะหันเข็มทิศไปทางใด เข็มก็จะชี้ไปทางเหนือตลอดเวลา พออายุ 6 ขวบ
มารดาก็ส่งเสริมให้เรียนดนตรี ต่อมาไอน์สไตน์ชอบเล่นไวโอลินเป็นชีวิตจิตใจ
เขาโปรดปรานเพลงของโมซาร์ต ไอน์สไตน์เก่งคณิตศาสตร์มาก อายุ 11 ปี
เขาเรียนวิชาฟิสิกส์ เทียบเท่าระดับมหาวิทยาลัย เขายังเรียนภาษาละติน กรีก
และฝรั่งเศสด้วย แต่น่าแปลก ที่เขาอ่อนวิชาภาษาฝรั่งเศส
ซึ่งต่อมาทำให้เกิดเรื่องเล่าลือว่า เขาเป็นนักเรียนหัวทึบ
ใน ค.ศ.1895 เมื่ออายุ 16 ปี
ไอน์สไตน์สอบไม่ผ่านการคัดเลือก เข้าเรียนในสถาบันเทคนิค
แห่งรัฐบาลกลางในเมืองซูริค เนื่องจากอ่อนวิชาภาษาฝรั่งเศส
แต่เนื่องจากอายุถึงเกณฑ์ ที่จะต้องเข้าสอบคัดเลือก ไอน์สไตน์จึงได้รับคำแนะนำ
ให้เข้าเรียนที่อื่นไปพลางก่อน แล้วค่อยสมัครสอบใหม่ในปีถัดมา ต่อมา
เขาได้ประกาศนียบัตร ในแขนงวิชาทั่วไป จึงได้เข้าเรียนที่สถาบันดังกล่าว
โดยไม่ต้องสอบ เขาศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ ณ ที่นั้นต่อมาอีก 4 ปี
หลังจากเป็นครูคณิตศาสตร์
ที่ซูริคอยู่ช่วงหนึ่ง ไอน์สไตน์ก็เปลี่ยนสัญชาติเป็นสวิส ใน ค.ศ.1902
เขาได้ทำงานในสำนักงานจดทะเบียนสิทธิบัตร ของสวิสที่กรุงเบิร์นในฐานะ "
ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคระดับ 3 ระยะทดลองงาน " ใน ค.ศ.1905
ระหว่างทำงานที่นั่น เขาได้ตีพิมพ์เอกสารงานวิจัย 4 ฉบับ ที่สำคัญยิ่ง
ซึ่งมีภาคแรกของทฤษฏีสัมพัทธภาพ (Theore of Relativity) รวมอยู่ด้วย
ทฤษฎีภาคแรกนี้มีชื่อว่า " ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ "
ไอน์สไตน์เสนอไว้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพว่า มวลและพลังงานสามารถเปลี่ยนสภาพ
ซึ่งกันและกันได้ โดยสรุปเป็นสมการทางคณิคศาสตร์ว่า E = mc 2
การค้นพบของไอน์สไตน์ นำไปสู่การสร้างระเบิดอะตอม
รวมทั้งไขปริศนาว่าดวงอาทิตย์ส่องแสงอย่างไร
ทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็ต้องอาศัยเวลา กระบวนการของปฏิกิริยานิวเคลียร์
ซึ่งจะทำให้มวลของนิวเคลียร์ เพียงน้อยนิดสามารถปลดปล่อยพลังงานแสง
และความร้อนออกมาได้มหาศาล
ใน ค.ศ.1909 ไอน์สไตน์
ลาออกจากสำนักงานจดทะเบียนสิทธิบัตร และสอนฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยในเบิร์น ซูริค
และปรากอยู่ 2 - 3 ปี และสุดท้ายที่เบอร์ลินใน ค.ศ.1914 จากนั้นอีก 2 ปี
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาก็ตีพิมพ์ทฤษฎีภาคที่ 2 คือ
ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
ใน ค.ศ.1921
ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์จากผลงาน ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
(photoelectric effect) ซึ่งพิสูจน์ว่าแสงมิได้เดินทางเป็นสายต่อเนื่อง แต่เป็น
" กลุ่มก้อนคลื่น " เล็กๆ ที่แยกจากกันเรียกว่า โฟตอน (photon)
แม้ว่าคณะกรรมการรางวัลโนเบล
มีความเห็นว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ ยังเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่
แต่ไอน์สไตน์ก็มีความมุ่งมั่น ที่จะเผยแพร่ทฤษฎีนี้ออกไป เขาเดินทางไปทั่วโลกใน
2 - 3 ปีต่อมา เพื่อกระทำในสิ่งที่เรียกว่า " ผิวปากทำนองสัมพัทธภาพ "
คำกล่าวของไอน์สไตน์ที่ว่า " พระเจ้ามิได้เล่นลูกเต๋ากับจักรวาล "
ได้รับการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์หลายครั้ง
เขากล่าวคำพูดติดตลกนี้เพื่อเปรียบเปรยว่า จักรวาลมีรูปแบบของมัน
ขึ้นอยู่กับว่าเราจะค้นพบได้หรือไม่เท่านั้น
ใน ปี ค.ศ.1933
ฮิตเลอร์ก้าวขึ้นมามีอำนาจในเยอรมนี ฮิตเลอร์ไม่เชื่อว่าไอน์สไตน์
(ตอนนั้นอยู่ในสหรัฐฯ) ซึ่งเป็น " แค่คนยิว " จะสามารถ ตั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพ
ขึ้นมาได้ ฮิตเลอร์ กล่าวหาว่าไอน์สไตน์ ขโมยความคิดนี้ มาจากเอกสารบางอย่าง
ซึ่งพบที่ศพของนายทหารเยอรมันผู้หนึ่ง ที่ถูกฆ่าตายในสงครามโลกครั้งที่ 1
อีกเหตุหนึ่ง ที่ทำให้พวกนาซี เกลียดชังไอน์สไตน์
ก็เพราะเขาสนับสนุนลัทธิไซออนนิสซึม (Zionism)
ซึ่งเป็นลัทธิของผู้ที่หาทางตั้งรัฐยิวอิสระ ขึ้นในปาเลสไตน์
ทหารนาซีกองจู่โจมได้เผาหนังสือ และค้นบ้านของไอน์สไตน์
ที่อยู่ใกล้กรุงเบอร์ลิน ในระหว่างที่เขาไม่อยู่ (ไอน์สไตน์ชอบเล่นเรือใบ
เล่นที่แม่น้ำใกล้บ้านหลังนี้) พร้อมกับยึดสมุดบัญชีธนาคารของเขา
รวมทั้งข้าวของเงินทองที่เก็บในตู้นิรภัย ของเอลซาผู้เป็นภรรยาด้วย
ในปีเดียวกันนั้น
ไอน์สไตน์ตัดสินใจตั้งรกรากในสหรัฐฯ เขาได้รับสัญชาติอเมริกัน ใน ค.ศ.1941
11 ปีต่อมา เขาได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานาธิบดี ของอิสราเอล แต่เขาปฏิเสธ
โดยให้เหตุผลว่า " ยังไร้เดียงสาเกินกว่าจะเป็นนักการเมือง "
ไอน์สไตน์ถึงแก่กรรมที่พรินซ์ตัน นิวเจอร์ซีย์ ในเดือนเมษายน ค.ศ.1955
จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต เขายังคงชิงชังวิธีการทำลายล้าง อันน่าสะพึงกลัว
ของระเบิดนิวเคลียร์ ที่นักฟิสิกส์มีส่วนสร้างให้กับโลก
เขาเคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า
"
หากข้าพเจ้ารู้ล่วงหน้าว่าทฤษฎีของข้าพเจ้า
จะนำไปสู่การทำลายล้างอย่างมหันต์เช่นนี้ ข้าพเจ้าขอเป็นช่างทำนาฬิกาเสียดีกว่า
กาลิเลโอ
อาร์คิเมดีส
หลุยส์ ปาสเตอร์
ไมเคลอันเจโล
ไอน์สไตน์