ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม>>
อารยธรรมอินเดีย
โดย ดร.สุนันทา ฟาเบรอ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมอารยัน
อารยธรรมสมัยคุปตะ
อารยธรรมสมัยสุลต่านเตลฮีและสมัยราชวงศ์โมกุล
สมัยตะวันตกเข้าสู่อินเดีย
การแบ่งชนชั้นในสังคม
เมื่อตอนที่พวกอารยันอพยพเข้ามาอยู่ในอินเดียตอนเริ่มแรกนั้น
คนอารยันได้แต่งงานกับชนพื้นเมือง (Dasas,ทาส) ต่อมาอารยันมีความคิดว่า
เผ่าอารยันนั้นมีอารยรธรรมเหนือผู้อื่น เกรงว่าจะสูญพันธุ์
จึงเริ่มเรียกร้องให้ทุกคนรักษาเผ่าพันธุ์อันแท้จริงของตนไว้
ทำให้เกิดการแบ่งชั้นวรรณะ ราวสมัยฤคเวทตอนปลาย วรรณะ มี 4 วรรณะ คือ พราหมณ์ (พระ,
นักบวช) กษัตริย์, ไวศยะ (กสิกร, พ่อค้า) และศูทร (ทาส,คนรับใช้) พวกที่ไม่มีวรรณะ
เรียกว่า พวกจัณฑาล
(พวกพราหมณ์ที่อารยันนำเข้ามาสู่อินเดียต้องการรักษาสังคมแบบอย่างอารยันไว้
ทำให้เกิดประเพณีเคร่งครัด ทำให้เป็นต้นกำเนิดของศาสนาฮินดูในเวลาต่อมา)
ประมาณ 560-468 ปีก่อนค.ศ. ศาสนาพุทธและลัทธิชินศาสตร์
พระโคตมะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำสอนของพระองค์ คือ เน้น
ให้เห็นสภาพจิตที่เป็นอิสระ และว่างเปล่า สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
เพื่อบรรลุไปสู่ความสุขสูงสุดที่เรียกว่า นิพพาน คำสั่งสอน
ของศาสนาพุทธเป็นภาษาบาลี พระมหาวีระผู้เป็นเจ้าลัทธิชินศาสตร์
สอนให้ทรมานหรือละทิ้งความเอาใจใส่ต่อร่างกายเพื่อให้จิตใจบริสุทธิ์ จุดประสงค์ คือ
เพื่อให้หลุดพ้นจากกรรมเช่นเดียวกับพุทธศาสนา คำสั่งสอนของลัทธิชินศาสตร์
ใช้ภาษาปรากฤต ทั้งสองศาสนามีความคิดคล้ายคลึงกันหลายประการ
แม้ว่าการปฏิบัติจะต่างกัน ทั้งสองต่อต้านอำนาจของพราหมณ์ การแบ่งชั้นวรรณะ
และอิทธิพลของคัมภีร์พระเวท 512 ปีก่อนค.ศ. แคว้นคันธาราษฏร์
และแคว้นสินธ์อยู่ในความครอบครองของจักรวรรดิเปอร์เซีย (พระเจ้าดาริอุสที่1)
326-325 ปีก่อนค.ศ. กองทัพพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
แห่งกรีกโจมตีได้แคว้นคันธาราษฏร์ ปัญจาป สินธ์ และดินแดนที่เป็นประเทศ
ปากีสถานปัจจุบัน อิทธิพลของกรีกผ่านมาทางบัคเทรียสู่ศิลปะแบบ คันธาราษฏร์
<< ย้อนกลับ