ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม>>
อารยธรรมอินเดีย
โดย ดร.สุนันทา ฟาเบรอ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมอารยัน
อารยธรรมสมัยคุปตะ
อารยธรรมสมัยสุลต่านเตลฮีและสมัยราชวงศ์โมกุล
สมัยตะวันตกเข้าสู่อินเดีย
อนุทวีปอันเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดียถือเป็นอนุทวีปที่ปิดแห่งหนึ่งของ
ยูเรเซีย เพราะมีพรมแดนธรรมชาติกั้น คือ
ทางตะวันออกมีเทือกเขาของพม่ากั้นการติดต่อกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ทางเหนือมีเทือกเขาหิมาลัยแบ่งแยกอินเดียจากจีน
ทางตะวันตกเฉียงเหนือมีเทือกเขาฮินดูกูฏและที่ราบสูงปามีร์กั้นออกจากเอเซียกลาง
ทางตะวันตกมีที่ราบสูง อิหร่านที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายยาวถึง 2,000
กิโลเมตร ก่อนที่จะมาถึงดินแดนลุ่มน้ำไทกรีสและยูเฟรตีส
แต่ทางนี้นี่เองที่มีทางผ่านที่สำคัญ คือ ทางแม่น้ำกาบูล และทางช่องแคบไคเบอร์
ที่พวกศัตรูเข้ามาโจมตีอินเดีย
ทางที่กองทัพม้าผู้รุกรานจากสเตปใช้นี้เชื่อมโยงกับเส้นทางสายไหมได้
ดังนั้นต่อมาจึงเป็นเส้นทางที่คณะสอนศาสนา
ศิลปินและกองคาราวานของพวกพ่อค้าใช้เป็นทางถ่ายทอดอารยธรรมระหว่างตะวันออกกลาง
อินเดียและจีน
แต่ความสัมพันธ์ทางการค้าจากอินเดียกับประเทศอื่นมักใช้ติดต่อทางทะเล
ด้วยการใช้ประโยชน์จากลมมรสุมในการเดินเรือ
ลักษณะของคนอินเดียมีร่องรอยของหลายเชื้อชาติผสมอยู่ เริ่มตั้งแต่ชนดั้งเดิมที่สันนิษฐานว่ามาจากอาฟริกา คือ พวก Proto-Australoid ต่อมามีคนอพยพมาจากทางตะวันตก คือ พวก Paleo-Mediterranians และจากนั้นพวก Caucasoid หรือ Indo-Aryan ที่อพยพมาจากเอเซียกลางเช่นเดียวกับพวกเตอร์กและมองโกล ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์โมกุลของอินเดีย
หนังสืออ้างอิง
- Altas historique. Paris : Stock.
- Burton Stein, A History of India. Oxford : Blackwell, 1998.
- Georg Feuerstein and others, In Search of The Cradle of Civilization.
Madras : Quest, 1995.
- Krishna Das Rag, India : A Journey through the Ages. New York : Vantage
Press, 1995.
- Sheila R. Canby, Persian Painting. London : British Museum Press, 1993.