ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม>>

อารยธรรมอินเดีย

โดย ดร.สุนันทา ฟาเบรอ

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมอารยัน
อารยธรรมสมัยคุปตะ
อารยธรรมสมัยสุลต่านเตลฮีและสมัยราชวงศ์โมกุล
สมัยตะวันตกเข้าสู่อินเดีย

อารยธรรมสมัยคุปตะ (320-186 ปีก่อนค.ศ.)

พระเจ้าจันทรคุปต์ ทรงตั้งราชวงศ์โมริยะ ที่ ปรึกษาของพระองค์เป็นพราหมณ์ ชื่อ โคทิลยะ หรืออีกชื่อ คือ ชนกิยะ เป็นผู้มีความรู้ในด้านการปกครอง การบริหาร และการเศรษฐกิจ และใช้ความรู้จากคัมภีร์อรรถศาสตร์มาบริหารประเทศโดยเฉพาะ ในด้าน เศรษฐกิจของประเทศในสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ มีนักปราชญ์ชาว กรีก ชื่อ Megasthenes มาอยู่ในราชสำนักด้วย ทำให้เราทราบว่ามีการ แลกเปลี่ยนความคิดระหว่างอินเดียและกรีก พระเจ้าจันทรคุปต์ทรงขยายอาณาเขตมาทางตะวันตกจนถึงเขตแดนของอาณาจักรเซเลอคุสของกรีก ทรงทำสงครามชนะพระเจ้า Nicator แห่งเซเลอคุส พระธิดาของพระเจ้า Nicator ถูกส่งมาเป็นมเหสีของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่เมืองปัตลีบุตร ทรงผูกสัมพันธไมตรีกับกรีก ดินแดนประเทศอินเดียสมัยนี้มีแคว้นมคธ แคว้นมาลวะ แคว้นกุจราช แคว้นเบงกอล อาฟกานิสถาน คือ ตีดินแดนกลับคืนมาจากกรีกทั้งหมด


Megathenes บันทึกไว้ว่า พระราชวังที่กรุงปัตลีบุตรงดงามมาก พระเจ้าจันทรคุปต์ทรงแบ่งอาณาจักรอินเดียเป็น 3 ภาค แต่ละภาคมีข้าหลวงปกครอง ข้าหลวงเหล่านี้ขึ้นโดยตรงกับพระองค์ ตำแหน่งข้าหลวงมักเป็นการสืบทอดในตระกูล ทรงจัดระบบการปกครองตนเองในชนบท กษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดิน ผลิตผลที่ได้หนึ่งในสี่ต้องเข้าท้องพระคลัง รัฐบาลดูแลเรื่องการทดน้ำ มีการสำรวจสัมโนครัว มีการใช้ใบผ่านทางสำหรับคนต่างชาติ มีหน่วยสืบราชการลับดังเช่นประเทศตะวันออกทั้งหลายในสมัยนั้น ทางด้านวิทยาการ ทรงให้สร้างมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ที่สำคัญ คือ มหาวิทยาลัยตักศิลา อันเป็นแหล่งรวมศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ ของตะวันออก

 หน้าถัดไป >>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย