ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »

ประเทศไทย 77 จังหวัด

ภาคใต้

จังหวัด » กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี

» หน้าถัดไป

ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา

ภาคใต้เป็นภูมิภาคซึ่งมีพื้นที่เป็นรูปแหลมยาวยื่นลงไปในมหาสมุทร มีทิศทางจากเหนือ ณ แนวกั้นอ่าวไทยที่เส้นรุ้ง 13 องศา ลงไปทางใต้จดมาเลเซีย ที่เส้นรุ้ง 5 องศา 30 ลิบดา กั้นมหาสมุทรอินเดียไว้ทางด้านทิศตะวันตก และทะเลจีนใต้ทางด้านทิศตะวันออก มีทิวเขาอันต่อเนื่องจากที่ราบสูงยูนนานเป็นแกนหรือโครงของแหลมต่อลงไปจนจดเส้นศูนย์สูตรที่สิงคโปร์ ภาคใต้ของไทยติดต่อกับ ประเทศพม่าทางทิศตะวันตก โดยมีทิวเขาตะนาวศรี และลำน้ำปากจั่นเป็นพรมแดน ติดต่อกับมาเลเซียทางด้านทิศใต้ โดยมีทิวเขาสันกาลาคีรี กับลำน้ำนราธิวาสเป็นพรมแดน มีพื้นที่ 1 ใน 7 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้ ประกอบด้วย พื้นที่ราบ ป่าไม้ ภูเขา หาดทราย น้ำตก ถ้ำ ทะเลสาบ และกลุ่มเกาะในท้องทะเลทั้งสอง ฝั่ง มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือกเขานครศรีธรรมราช โดยมีเทือกเขาสันกาลาคีรี เป็น พรมแดนกั้นระหว่างไทยกับมาเลเซีย รวมความยาวของเทือกเขาภาคใต้ทั้งหมดกว่า 1,000 กิโลเมตร มีแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำท่าทอง แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำปากพนัง และแม่น้ำตรัง

ชายหาดทางฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูงขึ้น จึงมีที่ราบชายฝั่งทะเลยาวเรียบกว้าง น้ำตื้น ส่วนทางด้านทะเลอันดามัน เป็นลักษณะของชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง มีหน้าผาสูงชัน ชายฝั่งเป็นโขดหินและป่าโกงกาง สภาพ อากาศค่อนข้างร้อน แต่เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมมรสุม จึงทำให้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี โดยเริ่มจากเดือนพฤษภาคมถึง เดือนกันยายน เป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะทำให้เกิดฝนตกและคลื่นลมแรงทางฝั่งทะเลอันดามัน และอิทธิพลของ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ทางฝั่งทะเลอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ภาค ใต้จึงมีเพียง 2 ฤดูคือ ฤดูร้อน และฤดูฝน

จากสภาพทางภูมิศาสตร์ทำให้ภาคใต้มีความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียอาคเนย์มาโดยตลอด เช่น ค้าขายกับจีนมาตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 5 จนถึง 16 สินค้าที่ค้าขาย ได้แก่ ไข่มุก เครื่องแก้ว น้ำหอม อัญมณี และนอแรด ในกลางพุทธศตวรรษที่ 10-12 มีการติดต่อกับอินเดีย มีการเผยแผ่ศาสนาพุทธและพราหมณ์ ซึ่งมีอิทธิพลทางด้านศิลปะเป็นอย่างมาก รวมทั้ง วรรณคดี ความเชื่อ ประเพณี และกฏหมาย จากนั้นในพุทธศตวรรษที่ 12-15 มีการค้าเครื่องเทศกับชาวเปอร์เซียและชาว อาหรับ ซึ่งได้นำศาสนาอิสลามมาสู่เกาะสุมาตรา จากนั้นได้ขยายสู่แหลมมลายูถึงประเทศอินโดนีเซีย และเลยมาถึงทางใต้ ของไทยในราวศตวรรษที่ 20 ทำให้ชาวพื้นเมืองภาคใต้บางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม

นอกจากชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมแล้ว ยังมีกลุ่มชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า 'ชาวน้ำหรือชาวเล' อาศัยอยู่ตามริมฝั่งทะเล ในอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา หาดราไวย์และเกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต และตามหมู่เกาะต่าง ๆ ของจังหวัดสตูล ชาวพื้น เมืองเหล่านี้เรียกตัวเองว่า "ชาวไทยใหม่" เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของชนชาติมลายู ชาวน้ำหรือชาวเล มีสีผิวคล้ำ ร่างกายแข็งแรง นิสัยรักสงบ นับถือภูตผีปีศาจ มีประเพณีบวงสรวงบรรพบุรุษและเจ้าเกาะ โดยมีพิธีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ เป็นบทพิสูจน์ความเชื่ออันนี้ ส่วนอาชีพหลักคือ การทำประมง

สำหรับชาว 'ซาไก' หรือที่เรียกว่า เงาะป่า นั้น เป็นชนพื้นเมืองอีกเผ่าหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ โดยเฉพาะที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง อำเภอบันนังสตา และอำเภอเบตง ในจังหวัดยะลา ชาวซาไกมีผิวพรรณและรูปร่างคล้ายชาวน้ำ แต่อาศัยอยู่ตามป่าเขา มีอาชีพหาของป่า และเก่งในการล่าสัตว์

ประชากรทางภาคใต้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่กาแฟ มีสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้ และมะม่วง หิมพานต์ ทำการประมงน้ำลึกและประมงชายฝั่ง การทำนากุ้ง เลี้ยงหอยมุก ส่วนผลงานด้านหัตถกรรม ได้แก่ ผ้าเกาะยอ ผ้าไหมพุมเรียง ผ้าทอเมืองนคร ผ้าบาติก เครื่องประดับเครื่องใช้ประเภทเครื่องเงิน เครื่องทอง ทองเหลืองและเครื่องถม งานฝีมือจักสานย่านลิเพา และเครื่องประดับที่ทำจากเปลือกหอย สิ่งต่าง ๆ

ชาวใต้ส่วนใหญ่จะอดทน เข้มแข็ง ฉลาด มีความมุ่งมั่นสูงและปราดเปรียว การแต่งกายจะแตกต่างไปตาม กลุ่ม คือ ชาวไทยเชื้อสายจีนแต่งกายเป็นแบบจีน ชาวไทยมุสลิมจะแต่งกายคล้ายชาวมาเลเซีย สตรีนุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อยา หยา เป็นเสื้อแขนกระบอก มีผ้าคลุมศีรษะ ผู้ชายนุ่งโสร่ง หรือกางเกง สวมเสื้อแขนยาว โพกศีรษะหรือสวมหมวก ปัจจุบัน มีการแต่งกายที่เป็นสากลมากขึ้น ส่วนภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยสำเนียงชาวใต้ แต่ผู้ที่อยู่ใกล้ชายแดนระหว่างไทยกับ มาเลเซียจะพูดภาษายาวี หรือภาษามาลายู

อาหารของภาคใต้ จะมีรสจัดแต่ก็เป็นที่นิยมของคนทั่วไป เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา แกงส้ม น้ำยาปักษ์ใต้ น้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำพริกกะปิ และมักจะรับประทานกับผักสด นอกจากนี้ยังมี ข้าวยำ บูดูหลน ไก่กอและ รวมทั้งอาหารทะเลต่างๆ

» หน้าถัดไป

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย