ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »

ประเทศไทย 77 จังหวัด

จังหวัด » กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี

» ย้อนกลับ หน้าถัดไป

ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ภาคใต้(2)

ตามหลักฐานทางโบราณคดีได้ระบุว่าแหลมมลายูเป็นศูนย์กลางการค้าขายมานาน และมีเมืองที่เจริญรุ่งเรืองหลายแห่ง เช่น ตักโกละ ลังกาสุกะ พานพาน ตามพรลิงค์ และศรีวิชัย อาณาจักรศรีวิชัย มีราชธานีอยู่ในเกาะสุมาตรา (ในปัจจุบัน) เป็นอาณาจักรแรกที่มีเรื่องราวเกี่ยวพันกับดินแดนในแหลม มลายู โดยมีประเทศราชบนแหลมลายูหลายประเทศ คือ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน ตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) ครหิ (ไชยา) ลังกาสุกะ (อยู่ในประเทศมาเลเซีย) เกตะ (ไทรบุรี) กราตักโกลา (ตะกั่วป่า) และปันพาลา (อยู่ในประเทศพม่า) พลเมืองนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งได้เผยแผ่มาในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13

ภายหลังที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง เมืองตามพรลิงค์ ได้แยกตนเป็นอิสระโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่แคว้นนครศรี ธรรมราช มีอำนาจปกครองเมืองต่าง ๆ ได้แก่ สายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง ชุมพร บันไทสมอ สงขลา ตะกั่วป่า ถลาง และกระบุรี

ต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยอ้างสิทธิคุ้มครองเหนือรัฐมลายูทั้ง 4 คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และ ปะลิส โดยใช้วิธีปกครองแบบเมืองประเทศราช ให้สุลต่าน ของแต่ละรัฐ ปกครองกันเอง แต่จะต้องส่งบรรณาการ มาถวายพระมหากษัตริย์ไทย ตามกำหนดเวลา 3 ปีต่อครั้ง ฝ่ายไทย มีอำนาจ ควบคุมต่างประเทศ และได้ให้ความช่วยเหลือ แก่รัฐเหล่านี้ในกรณีที่ถูกรุกรานจากชาติอื่น รัฐบาลไทยใช้นโยบายออมชอม ปกครองรัฐมลายู และพยายาม กระชับการปกครอง

เมื่อมีโอกาสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ได้เสด็จเยือนมลายูหลายครั้ง และพยายาม ยกฐานะหัวเมืองเหล่านั้น เช่น ทรงยกฐานันดร ผู้ครองรัฐไทรบุรี เป็นเจ้าพระยา จัดให้เมืองไทรบุรี ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ แทนที่จะขึ้น กับเมืองนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ เมื่อทรงปรับปรุงการปกครอง หัวเมืองจัดตั้ง มณฑลต่างๆ ก็โปรดฯ ให้ยกไทรบุรี ขึ้นเป็นมณฑล เมื่อ พ.ศ.2440 โดยรวมสตูลและปะลิส เข้าไว้ด้วย มีสุลต่าน เป็นข้าหลวงปกครองเอง และทรงใช้หลักจิตวิทยา พยายามให้เจ้าเมืองเหล่านั้น สวามิภักดิ์ต่อไทยมากขึ้น แม้จะปกครองกันเอง

ในระยะเวลาก่อน พ.ศ.2443 รัฐบาลอังกฤษ ซึ่งเริ่มเข้ามามีอำนาจ ทางแหลมมลายู ก็ยอมรับ สิทธิของไทย ดังปรากฏ ในสนธิสัญญา ระหว่างไทยและอังกฤษหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ.2369 ปฏิญญาลับ พ.ศ.2440 และข้อตกลง ปักปันเขตแดน พ.ศ.2442 อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า ได้เกิดการโต้แย้งขึ้น ในบรรดาข้าราชการอังกฤษ ในมลายู และข้าราชการอังกฤษ ที่กรุงลอนดอน เกี่ยวกับสิทธิของไทย เหนือดินแดนมลายูอยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะ กระทรวงอาณานิคม ของอังกฤษ มีนโยบายจะขยายอำนาจของตน ทางแถบนั้น

ในระหว่าง พ.ศ.2404-2423 ได้เกิดกรณีพิพาท ระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาลอินเดียของอังกฤษ เรื่องมลายูหลายครั้ง ที่รุนแรงมาก ก็เช่นกรณีเรือรบอังกฤษ ระดมยิงตรังกานู เรื่องวิวาท กรณีเขตแดนเประและรามันห์ และเรื่องการปราบผู้ร้ายข้ามแดน พวกกบฏในปะหัง หนีเข้ามากลันตัน ตรังกานู อังกฤษส่งกำลังเข้ามาปราบ ถึงในเขตไทย แต่เหตุการณ์ต่างๆ สงบลงได้ เพราะกระทรวงการต่างประเทศ ที่กรุงลอนดอน ต้องการคบไทยเป็นมิตร จึงไม่ต้องการละเมิด สิทธิของไทยในมลายู แต่ไทยตระหนักดีว่า สิทธิของไทย เหนือมลายู ยังไม่มีหลักประกันที่แน่นอน

การเจรจาทางการทูต ระหว่างไทยกับอังกฤษ อันเป็นผลให้ไทย ต้องสูญเสียดินแดนมลายู 4 รัฐทางใต้ รวมเนื้อที่ 15,000 ตารางไมล์ และประชากรกว่าห้าแสนคนแก่อังกฤษ หลังจากการต่อรองทางการทูตยืดเยื้อมาร่วม 9 ปี

ในราวต้นปี พ.ศ.2443 เมื่ออังกฤษเริ่มปล่อยท่าที พยายามแผ่นอิทธิพล เข้ามาในรัฐไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู ซึ่งเป็นแหล่ง ที่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก โดยเฉพาะแร่ดีบุก ทั้งนี้เพราะอังกฤษ เกรงกลัวอิทธิพลภายนอก คือ บทบาทของฝรั่งเศส ที่ต้องการเข้ามามีอิทธิพล ในแถบนี้บ้าง เริ่มจากกรณีขุดคดคอดกระที่ ฝรั่งเศสเคยส่งคนมาทาบทามรัฐบาลไทย สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอสัมปทานขุดคลองลัด เชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และทะเลจีนใต้ฝ่ายไทย บริเวณอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง แต่ครั้งนั้น ไทยไม่ยอมให้ เพราะเกรงว่า ฝรั่งเศสอาจเข้ามามีบทบาท บังคับเอาดินแดนนั้น เป็นอาณานิคมไปเสีย หรือมิฉะนั้น อังกฤษอาจถือโอกาส ยึดหัวเมืองภาคใต้ไปเลยก็ได้ มาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสได้รื้อฟื้นเรื่องนี้อีก แต่ไทยเพียงอนุญาตให้ทำการสำรวจได้เท่านั้น

จากเหตุนี้ อังกฤษจึงรีบฉวยโอกาส เปิดการเจรจากับไทยใน พ.ศ.2444 เรื่องจัดตั้งที่ปรึกษา ประจำกลันตันและตรังกานู โดยอ้างถึงความไม่สงบต่างๆ ในรัฐทั้งสอง ซึ่งเป็นผลเสียหายแก่คนในบังคับของตน รวมทั้งการที่เจ้าผู้ครองรัฐ ให้สัมปทาน แก่คนชาติอื่น โดยไม่ปรึกษาความเห็นชอบ จากอังกฤษ ทั้งๆ ที่มีข้อตกลงกันในปฏิญญาลับ พ.ศ.2440 ไว้แล้ว เช่น การที่พระยากลันตัน ให้ชาวมลายู เช่าเก็บผลประโยชน์ ที่เกาะราดัง อังกฤษเห็นว่า เหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งการแผ่ขยายของ มหาอำนาจอื่น เช่น เยอรมัน จะเป็นอันตราย แก่การปกครองของตน ในแหลมมลายู จึงแนะนำให้ไทย จัดการปกครองตัวเมืองมลายู ให้เรียบร้อย โดยยินดี จะหาผู้ชำนาญงาน มาเป็นที่ปรึกษา ของรัฐมลายูทั้ง 3 ให้

»ย้อนกลับ หน้าถัดไป

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย