ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »

ประเทศไทย 77 จังหวัด

จังหวัด » กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี

» ย้อนกลับ หน้าถัดไป

ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(2)

เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1761) อิทธิพลของขอมในแผ่นดินอีสานเริ่มเสื่อมลง หัวเมืองภาคอีสานของไทยนับตั้งแต่หนองหานลงไป จนถึงเมืองร้อยเอ็ด แต่ก่อนอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรขอมทั้งหมด ต่อมาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงในปี พ.ศ.1827 เมื่อถึงสมัยพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ.1893 แขวงเมืองร้อยเอ็ดได้ตกอยู่ปกครองของอยุธยา   ดังนั้น   พระเจ้าฟ้างุ้มจึงยกทัพลงไปตีเอาเมืองร้อยเอ็ดและเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมือง เช่น เมืองพระศาสตร์ เมืองพระสะเขียน เมืองพระลิง เมืองพระนารายณ์ เมืองพระนาเทียน เมือง เซขะมาด เมืองสะพังสี่แจ เมืองโพนผิงแดด

ประวัติศาสตร์ ในสมัยโบราณภาคนี้เคยเป็นอาณาจักรขอมก่อนที่จะตกมาเป็นของไทย ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีชนชาวเขมร และส่วยปะปนอยู่กับชนชาติไทยทางตอนใต้ของภาค ส่วนทางตอนเหนือและตะวันออก มีชนชาวเวียตนามเข้ามาปะปนอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังสงครามมหาเอเซียบูรพา ได้มีชาวเวียตนามอพยพเข้ามาอยู่อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีชนชาติอยู่ทั่วไปทั้งที่เป็นจีนแท้ และลูกผสม

เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ไทยก็เริ่มมีอำนาจและเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ และได้มีการอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่ง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราชอาณาจักรไทยมีอาณาเขตกว้างขวางมาก ชาวไทยพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตัวเองว่า “ส่วย” “กวย” หรือ “กุย” ที่อาศัยในแถบเมืองอัตปือแสนแป (แสนแป) ในแคว้นจำปาศักดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนของราชอาณาจักรไทยโดยสมบูรณ์ (เพิ่งเสียให้ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2436 หรือ ร.ศ. 112) พวกเหล่านี้มีความรู้ความสามารถในการจับช้างป่ามาเลี้ยงไว้ใช้งาน ตลอดทั้งการจับสัตว์ป่านานาชนิด ได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขงมาสู่ฝั่งขวา โดยแยกกันหลายพวกด้วยกัน

พ.ศ. 1896-1916 เริ่มยุคอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างในรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ที่ก่อตัวเข้มแข็งขึ้นในลุ่มแม่น้ำโขงได้แผ่ขยายเข้ามาในดินแดนอีสาน   ครอบคลุมอาณาเขต 2 ฝั่งลุ่มแม่น้ำโขง ชุมชนโบราณขนาดใหญ่เริ่มเปลี่ยนเป็นชุมชนขนาดเล็ก และรับอิทธิพลแบบของล้านช้าง

เมื่ออาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรล้านช้างขยายอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาในดินแดนอีสาน ทั้งสองอาณาจักรจึงประนีประนอมปักปันเขตแดนในสมัยพระเจ้าอู่ทอง โดยอาณาจักรล้านช้างทำการปกครองตั้งแต่ ดงสามเส้า หรือ ดงพระยาไฟ ไปจนถึงภูพระยาพ่อและแดนเมืองนครไทย   และรวมก่อตัวเป็นอารยธรรมลุ่มน้ำโขง

เมืองที่เก่าแก่ที่ปรากฏในทำเนียบ เมืองโบราณแถบอีสานคือเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสร้างเมืองนครราชสีมาขึ้นใหม่ บริเวณที่ตั้งเมืองในปัจจุบันนี้ แทนเมืองโคราชเก่า (ปัจจุบันคือในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ที่กลายเป็นเมืองร้างเนื่องจากราษฎรอพยพหนีความแห้งแล้งและโรคภัยไข้เจ็บที่ชุกชุม เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา มีฐานะของเมืองเทียบเท่าเมืองชั้นเอก

เมืองนครราชสีมา คงจะสร้างในสมัยเดียวกันกับเมืองนครราชสีมา เพราะมีประตูเมือง หอรบ และถนนกลางเมืองแบบเดียวกัน   ลักษณะของเมืองมีความมั่นคงมาก มีป้อมปราการหอรบที่แข็งแรง ข้าศึกจะเข้ายึดเมืองได้ยาก เมื่อสร้างเสร็จสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดเกล้าฯ ให้พระยายมราช (สังข์) ซึ่งเป็นขุนนางที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยมาก มาเป็นเจ้าเมืองเพื่อพระราชทานเป็นความดีความชอบในการปฏิบัติราชการ

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองนครราชสีมามีเมืองขึ้น 3 เมือง ได้แก่ เมืองชัยภูมิ เมืองแปะ (เมืองบุรีรัมย์) เมืองนครจันทึก (สีคิ้ว) เมืองพิมาย ช่วงต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองนครราชสีมา ได้ปกครองเมืองขึ้น 10 เมือง ได้แก่ เมืองพุทไธสง เมืองภูเขียว เมืองชัยภูมิ

เมืองรัตนบุรีได้ปรากฏเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงการปกครองเมืองนครราชสีมา และเมืองก็อยู่ในความปกครองของเมืองนครราชสีมาหลายครั้ง

สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อประมาณ พ.ศ.2200 มีชาวกวย กลุ่มหนึ่งอพยพมาจากเมืองอัตปือแสนแป (แสนปาง) ในแคว้นจำปาศักดิ์ ข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ฝั่งขวาแล้วเดินเลี่ยงตามเชิงเขาพนมดงรักมาทางฝั่งทิศเหนือ ไปทางทิศตะวันตก จนมาถึงดินแดนเมืองรัตนบุรี (จังหวัดสุรินทร์) แล้วแยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐานต่าง ๆ คือ

  • พวกที่ 1 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านโคก เมืองเต่า หรือบ้านกุดหวาย (อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงสี หรือตากะฮาม
  • พวกที่ 2 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองที (บ้านเมืองที ตำบลเมืองทีอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงปุม
  • พวกที่ 3 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านโคกลำดวน (เขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) มีหัวหน้าชื่อ ตากะจะ และเชียงขัน
  • พวกที่ 4 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองลีง (เขตอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงสง
  • พวกที่ 5 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านอัจจะปะนึง หรือบ้านโคกอัจจะ หรือโคกดงยาง (เขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์) มีหัวหน้าชื่อ เชียงฆะ
  • พวกที่ 6 ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านกุดผไท (บ้านจารพัต อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์) มีเชียงชัย เป็นหัวหน้า

เมืองอัตปือ   เดิมเรียกว่าบ้านทุ่งอัตกระบือ หรืออัตกระบือ เป็นเมืองสำคัญหนึ่งอยู่ในเขตลาว ตั้งอยู่ฝั่งโขงตะวันออก ยกฐานะเป็นเมืองอัตกระบือในสมัยกรุงธนบุรี ปัจจุบันเรียกว่า เมือง อัตปือ ด้านการปกครองนั้นขึ้นอยู่กับจำปาศักดิ์ ชื่อเสียงของเมืองอัตปือมีชื่อเสียงด้านมีช้างชุกชุม และคนพื้นเมืองมีความสามารถพิเศษในการจับช้าง หัวหน้าผู้อาวุโส เป็นผู้ปกครองทำนองพ่อบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน ไม่ขึ้นแก่ใครในช่วงนั้นซึ่งปกครองกันเองอย่างเป็นอิสระมีอาชีพในการปลูกข้าวไร่ และข้าวนาดำในพื้นที่ลุ่มรอบ ๆ หมู่บ้าน

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2302 ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (เจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) ครองกรุงศรีอยุธยา ช้างเผือกแตกโรงหนีออกจากเมืองหลวงเข้าป่าไปทางทิศตะวันออก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ โปรดเกล้าให้สองพี่น้อง เป็นหัวหน้ากับไพร่พล 30 นาย ออกติดตามคณะติดตามได้รับคำแนะนำจากเจ้าเมืองพิมายว่า มีพวกกวยซึ่งชำนาญในการจับช้างตามหลักตำราคชศาสตร์ ซึ่งได้พากันไปติดตามช้างจนจับช้างได้โดยความช่วยเหลือจากหัวหน้าหมู่บ้านกวย หลังจากนั้นก็เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา โดยมีหัวหน้าหมู่บ้านกวยติดตามและไปส่งจนถึงกรุงศรีอยุธยา สองพี่น้องกราบทูลถึงการที่สามารถจับช้างเผือกเพราะได้รับความช่วยเหลือจากพวกหัวหน้าหมู่บ้านกวย

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2310 ทำให้กรุงศรีอยุธยาได้รับความบอบช้ำ ต้องเสียกรุงและไพร่พลเมืองตลอดจนพม่าได้ทำการเผาผลาญและทำลายบ้านเมืองไม่ยอมยั้งมือ ทำให้ยากแก่การปฏิสังขรณ์บูรณะเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรี (พระยาวชิรปราการ ขณะนั้น) ทรงพิจารณาเมืองธนบุรีแล้ว ทรงเห็นว่าเมืองธนบุรีเหมาะสมมากกว่าหลายประการคือ เป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะกับไร่พลของพระองค์ในขณะนั้น เป็นเมืองหน้าด่าน สามารถป้องกันไม่ให้ชุมชน ใหญ่ ๆ อย่างชุมชนพระยาพิษณุโลก ชุมชนเจ้าพระยาฝางติดต่อซื้ออาวุธยุทธภัณฑ์จากชาวต่างประเทศได้โดยสะดวก และข้อสำคัญที่สุดก็คือ หากป้องกันเมืองธนบุรีไว้ไม่ได้แล้วก็อาจจะล่าถอย ไปตั้งหลักที่เมืองจันทบุรีได้อีกด้วย 1 และพระยาวชิรปราการจำพระทัยปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุง ธนบุรี แต่ประชาชนทั่วไปขนานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าตาก เมื่อ พ.ศ.2310 และทรงสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นราชธานี มีนามว่า กรุงธนบุรีศรีสินทรมหาสมุทร

พ.ศ.2321 พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพยกไปทางเมืองพิมาย โดยให้เจ้าเมืองพิมายแต่งข้าหลวงออกมาเกณฑ์กำลังจากเมืองปะทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ เมืองสังขะ เมืองรัตนบุรี เพื่อยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ แล้วตั้งให้พระยาสุโพ เป็นผู้รั้งเมืองเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบาง รวมทั้งคุมเอาตัวพระเจ้าองค์หลวง (คือ เจ้านครจำปาศักดิ์ไชยกุมาร) ยกกองทัพล้อมมายังกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเลื่อนเจ้าเมืองทั้ง 3 เมือง คือ ขุขันธ์ สังฆะ สุรินทร์ ขึ้นเป็นตำแหน่ง “พระยา”

พ.ศ.2324 เมืองเขมรเกิดจลาจล พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกกองทัพไปปราบโดยเกณฑ์กำลังจากเมืองขุขันธ์ ปะทายสมันต์ สังขะ สมทบกับทัพหลวง ไปตีเมืองกำพงสวาย เมืองบรรทายเพชร เมืองบรรทายมาศ เมืองซูงตำแรย์ (ถ้ำช้าง) ในช่วงนั้นเป็นระยะเวลาในช่วงปลายรัชกาลของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เกิดการจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี กล่าวคือ กรรมบันดาลให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระอัธยาศัยผิดปกติไปจากพระองค์เดิม พระยาสรรค์กับพวกถือโอกาสคบคิดเป็นกบฏ คุมองค์สมเด็จพระเจ้า กรุงธนบุรีไปขังไว้ แล้วตนออกมาว่าราชการ จึงเกิดการรบพุ่งกันระหว่างฝ่ายกบฏ และฝ่ายต่อต้านกบฏเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ซึ่งกำลังไปราชการที่มาอยู่ที่ประเทศกัมพูชา ทราบถึงการจลาจล รีบยกกองทัพกลับมาถึงกรุงธนบุรี ในวันที่ 6 เมษายน 2525

» ย้อนกลับ หน้าถัดไป

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย