ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »

ประเทศไทย 77 จังหวัด

จังหวัด » กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี

» ย้อนกลับ หน้าถัดไป

ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(3)

ในการทำศึกสงครามกันแต่ละครั้ง บรรพบุรุษชาวสุรินทร์ ขุขันธ์ สังขะ และรัตนบุรี ได้มีโอกาสรับใช้ชาติด้วยความกล้าหาญ และในการรบครั้งหลังได้มีการกวาดต้อนพลเมืองมาบ้าง บางพวกอพยพมาเอง โอกาสนี้มีลาว ปราย เขมร ทางแขวงเมืองเสียมราฐ สะโตง กำพงสวาย บรรทายเพชร อพยพมาอยู่ที่เมืองปะทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) บ้างก็แยกไปตั้งเมืองที่เมือง สังขะ และบ้างก็ไปอยู่บ้านกำพงสวาย (แขวงอำเภอท่าตูม) ในจำนวนผู้ที่อพยพมานั้น มีบุตรีเจ้าเมืองบรรทายเพชร ชื่อนางสาวดาม มาตไว พระยาสุรินทร์ภักดี (เชียงปุม) เจ้าเมืองประทายสมันต์ จึงจัดพิธีแต่งงานกับหลานชายชื่อ สุ่น เมื่อชาวเขมรได้ทราบข่าวว่านางสาวดาม มาตไว เป็นหลานสะใภ้ของพระยาสุรินทร์ภักดี จึงพากันอพยพเข้ามาอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้พลเมืองบ้านประทายสมันต์ที่เดิมเคยเป็นชาวกวยก็มีชาวเขมรเข้ามาปะปน เนื่องจากชาวเขมรมีความเจริญมากกว่า ความเป็นอยู่และขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมก็ค่อยแปรเปลี่ยนไปสู่เขมรมากขึ้น

ด้วยความดีความชอบที่หัวหน้าหมู่บ้านและชายฉกรรจ์จากบ้านประทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ เมืองสังขะ ไปร่วมรบในสงครามเมืองเวียงจันทน์และเมืองเขมร สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงปูนบำเหน็จความชอบให้กับเจ้าเมืองและเลื่อนบรรดาศักดิ์

พ.ศ.2329 สมัยรัชกาลที่ 1 พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลง “ประทายสมันต์” เป็น “เมืองสุรินทร์” และให้เจ้าเมืองพิมายแบ่งจากเขตใต้เมืองรัตนบุรี ดังนี้

  • ทิศเหนือ จด สุวรรณภูมิ
  • ทิศใต้ จด หล้าหินภูดิน
  • ทิศตะวันออก จด ห้วยทับทัน
  • ทิศตะวันตก จด เมืองขมิ้น

เมืองรัตนบุรีมีความชอบได้ตามเสด็จไปทำสงครามหลายแห่งจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็นพระศรีนครเตาท้าวเธอ โปรดเกล้าฯให้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ตามลำดับ พระศรีนครเตา ท้าวเธอปกครองบ้านเมืองด้วยความเรียบร้อยร่มเย็น เจ้าเมืองไม่อยู่ อยู่แต่ภรรยาเป็นคนรับหนังสือ ปรากฏว่ามีคนไปหาจากเมืองหลวงให้ภรรยาเจ้าเมืองรัตนบุรีเปิดหนังสือลับ ทราบความถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกลัวมาก จึงได้ลงโทษพระศรีนครเจาท้าวเธอ เจ้าเมืองรัตนบุรีด้วยการผ่าอกเจ้าเมือง ทราบดีที่ได้รับโทษเป็นเพราะความอิจฉาริษยากลั่นแกล้งของคนอื่น ก่อนถึงแก่กรรมจึงได้สาปแช่งออกไว้ว่า “คนเมืองรัตนบุรีอย่าให้ใครดีกว่ากู” บางกระแสเล่าว่าเจ้าเมืองรัตนบุรีเผลอไปเปิดพระราชสาส์น อาจเป็นเพราะต้องการรู้ความลับ หรือเป็นเพราะความอ้อนวอนของภรรยาไม่ทราบได้ บางกระแสว่า พระศรีนครชัย (บุญจันทร์) อุปราชเมืองรัตนบุรีเป็นผู้เปิดอ่านเองแล้วโยนความผิดให้เจ้าเมือง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2356 ท้าวโอ๊ะ หลานของเจ้าแก้วมงคลแห่งเมืองท่า (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสุวรรณภูมิ) ได้กล่าวโทษเจ้าเมืองสุวรรณภูมิว่า เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ เบียดเบียนข่มเหงประชาชน และบังคับเอาลูกเมียคนอื่น มาเป็นภรรยาของตน ราชสำนักกรุงเทพฯ ได้สอบสวนเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ (ท้าวอ่อน) พบว่ามีความผิดจริง จึงโปรดฯ ให้ถอดออกจากเจ้าเมือง และทรงตั้งให้ท้าวโอ๊ะเป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิมีบรรดาศักดิ์เป็น “พระรัตนวงศา” อันเป็นปีเดียวกันที่ฝ่ายเจ้าเมืองศรีนครเตา (คนต่อมา) ได้นำความกราบบังคมทูลโดยมีใบบอกไปยังราชสำนักด้วย จึงโปรดฯ ให้เปลี่ยนนามเมืองศรีนครเตาเป็น “เมืองรัตนบุรี” และนามเจ้าเมืองจาก “พระศรีนครเตา” เป็น พระศรีนครชัย” ซึ่งหมายถึงชัยชนะ อาจเป็นไปได้ว่า พระศรีนครชัยเป็นเชื้อสายของเจ้าแก้วมงคล คือเป็นลูกหลานของเจ้าแก้วมงคลอีกท่านหนึ่ง เจ้าเมืองรัตนบุรีที่ได้เปลี่ยนนามเป็น “พระศรีนครชัย” มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเจ้าแก้วมงคลในชั้นหลาน ชาวลาวในเขตเมืองสุวรรณภูมิจึงได้เข้ามาอยู่ในเขตเมืองรัตนบุรีมากขึ้น สังคมและวัฒนธรรมของชาวเมือง รัตนบุรีจึงไหลบ่า เข้าสู่เมือง รัตนบุรีและกลายเป็นเมืองของชาวไทยลาว

พ.ศ.2369 เจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ได้วางแผนทำศึกกับ กรุงเทพฯ โดยกกำลังกองทัพข้ามดขงมาตั้งที่บ้านพันพร้าว ฝึกทหารและช้างม้า จนถึงเดือนยี่ แรม ปีจอ พ.ศ.2369 ปลายปี จึงสั่งให้เจ้านครจำปาศักดิ์ (เจ้าราชบุตร โย้) ยกกองทัพจากนครจำปาศักดิ์ เข้ายึดหัวเมืองตะวันออก สั่งให้เจ้าอุปราชติสสะ (น้องชายเจ้าอนุวงศ์) ยกทัพมายึดหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยเอ็ด) เอาไว้ กันหัวเมือง ทางใต้จะต่อสู้ เจ้าราชวงศ์เหง้า บุตรคนที่ 2 ยกทัพจากบ้านพันพร้าว เป็นทัพหน้าลงมาทางบ้านเดื่อหมากแข้ง (อุดรธานี) ล่วงหน้า ไปก่อน 2 วัน แล้วเจ้าอนุวงศ์กับเจ้าสุทธิสาร (โป้) บุตรคนโต ยกทัพหลวงตามมาโดย ออกข่าวลวงว่ามีศุภอักษรแจ้งว่า อังกฤษจะยกทัพเรือมาตีกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าอนุวงศ์เกณฑ์กองทัพจากเวียงจันทน์ไปช่วย เจ้าเมืองกรมการเมืองรายทางไม่รู้เท่าทัน และเห็นว่า เจ้าอนุวงศ์ไปกรุงเทพฯ บ่อยๆ ก็เชื่อว่าจริง จึงช่วยจ่ายเสบียงให้

กองทัพหน้าของเจ้าราชวงศ์เหง้า ได้มาถึงบ้านโคกสูง รายทัพมาถึงบ้านจอหอน (จอหอ) สามแยกทางเกวียน หน้าเมือง นครราชสีมา เมื่อวันพุธ เดือน 3 แรม 3 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2369 เวลาบ่าย 3 โมง ออกข่าวแพร่ สะพัดไปว่าจะไปช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ

วันรุ่งขึ้น เจ้าราชวงศ์เหง้าทำหนังสือให้ทหารถือมาขอเบิกเสบียงอาหารจากในเมืองนครราชสีมา ขณะนั้น เจ้าพระยา กำแหงสงคราม (ทองอินท์) เจ้าเมืองนครราชสีมา และพระยาสุริยเดช (ทองคำ) ปลัดเมืองไม่อยู่ นำทหารส่วนมากไป ราชการที่เมืองขุขันธ์บุรี (เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างพระยาไกรสงครามเจ้าเมืองขุขันธ์ กับหลวงยกกระบัตรผู้น้อง ซึ่ง เกิดวิวาทแย่งสมบัติและความเป็นใหญ่กันในเมืองขุขันธ์บุรี) จึงเหลือพระยา พรหมภักดี ยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา เป็นผู้รักษาราชการ พระณรงค์สงครามเป็นที่ปรึกษาฝ่ายทหาร คุณหญิงโม ภริยาปลัดทองคำ เป็นผู้ดูแลครอบครัว ผู้ไปราชการ และมีข้าราชการผู้น้อยเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบ้าง เมื่อได้รับหนังสือขอเบิกเสบียงอาหารของเจ้าราชวงศ์เหง้า จึงหันหน้าเข้าปรึกษาหารือกัน และมีความเห็นเป็น หลายทาง

ขณะนั้นกองทัพหลวงของเจ้าอนุวงศ์ถึงลำเซิน พักพลอยู่ใกล้ชัยภูมิ เมื่อได้ข่าวว่าทัพหน้ามาถึงเมือง นครราชสีมาแล้ว ไม่มีใครขัดขวาง เจ้าอนุวงศ์ก็เคลื่อนทัพหลวงมาถึงเนินดินทางตะวันออก ข้างเมืองนครราชสีมา แล้วใช้ทหารถือหนังสือมาเชิญ เจ้าเมืองนครราชสีมาให้ออกไปพบเพื่อปรึกษาราชการในการ จะยกทัพไปช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ

พระยาพรหมภักดี ยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา จึงออกไปแทนเข้าพบเจ้าอนุวงศ์ทำความเคารพโดยอ่อนน้อม แล้วแจ้งว่าเจ้าเมืองนครราชสีมาและพระยาปลัดเมืองฯ ไม่อยู่ ไปราชการเมืองขุขันธ์บุรี เหลือแต่ข้าราชการ ผู้น้อย กับทหารเล็กน้อยอยู่รักษาเมือง เจ้าอนุวงศ์ได้ฟังดังนั้นก็ดีใจเพราะจะเข้าเมืองโดยง่าย ไม่ต้องรบ จึงพูดจาเกลี้ยกล่อม พระยาพรหมยกกระบัตร ให้เชื่อฟังคำบอกเล่า และขอเข้าพักในเมืองด้วย พระยาพรหม ยกกระบัตรเห็นจวนตัว ไม่อาจ ปฏิเสธได้จำเป็นต้องเชื้อเชิญเจ้าอนุวงศ์เข้าเมือง เจ้าอนุวงศ์เข้าเมืองนครราชสีมาแล้ว เห็นว่าเมืองนครราชสีมามั่นคง แข็งแรก มีกำแพง คู ประตู หอรบ และเสบียง อาหารพร้อม ตั้งเป็นฐานทัพได้ ถ้าหากทัพหน้าแตกมา ก็จะตั้งรับที่เมืองนครราชสีมา ยึดเอา เมืองนครราชสีมาไว้ จะได้ปกครองดินแดนแถบนี้ทั้งหมด

เจ้าอนุวงศ์ ไม่ยอมออกจากเมือง ได้สั่งให้ทัพหน้าโดยเจ้าราชวงศ์เหง้า ยกไปปากเพรียว (สระบุรี) เพื่อ เตรียมการเข้าตีกรุงเทพฯ และกวาดต้อนครอบครัวเวียงจันทร์ (สมัยก่อน) เอาคืนไปเวียงจันทร์ และสั่งให้ทัพหลวง ทั้งหมดตั้งค่ายชักปีกกาทางทิศเหนือเมืองจากสามแยกทางเกวียน (จอหอ) มาประชิดกำแพงเมืองด้านเหนือ และตั้ง กำแพงเมืองด้านใต้ออกไปทางทิศอาคเนย์ ตะวันออกทุ่งทะเลหญ้า ทำค่าย คู ประตู หอรบ รวม 7 ค่าย ทำมูลดินสูงขึ้น (เดียวนี้ยังอยู่ เรียกว่าบ้านหัวถนน บ้านดอนขวาง และบ้านโนนฝรั่ง)

ชาวเมืองนครราชสีมา เห็นกองทัพลาวไม่ยอมออก และตั้งค่ายประชิดเมืองดังนั้น ก็รู้ว่าเจ้าอนุวงศ์ทรยศแล้ว ไม่เหมือนที่ บอกว่าจะไปช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ ก็แสดงอาการกระด้างกระเดื่องด่าว่าทหารลาว รุ่งขึ้น อีกวันหนึ่ง เจ้าอนุวงศ์รู้สึก ไม่ไว้วางใจเกรงชาวเมืองจะลุกฮือขึ้นทำร้าย จึงสั่งทหารลาวออกตรวจค้นริบอาวุธ ต่างๆ ทุกบ้านเรือน เป็นการแน่ชัดว่า เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฎ เป็นศัตรู

» ย้อนกลับ หน้าถัดไป

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย