ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดสมุทรสงคราม
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดสมุทรสงคราม
จังหวัดสมุทรสงครามแต่เดิมเรียกเมืองแม่กลอง การตั้งถิ่นฐานบริเวณปากแม่น้ำแห่งนี้ สันนิษฐานว่าคนกลุ่มแรกเป็นชาวแม่กลอง (เดิม) จากจังหวัดอุทัยธานี อพยพลงมาตั้งถิ่นฐานในถิ่นนี้ ชาวแม่กลอง (เดิม) ในจังหวัดอุทัยธานีเป็นชาวแม่น้ำ เคยอยู่ริมแม่น้ำกำแพงเพชรมาก่อน เรียกหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นใหม่ ว่าบ้านแม่กลอง ตามชื่อบ้านเดิมของตน ที่มาของชื่อบ้านแม่กลอง ยังมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าด้วยเรื่องกลองใหญ่ ที่วัดใหญ่ ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง ฯ โดยมีนัยอยู่สองทางคือ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลวงศรีสวัสดิ์ (ชื่น เทพสุวรรณ) นายอำเภอเมืองศรีสุวรรณ จังหวัดกาญจนบุรีย้ายมาเป็นนายอำเภอแม่กลอง ได้นำซุงต้นใหญ่ที่ได้มาจากจังหวัดกาญจนบุรีมาขุดทำกลองใบใหญ่ขึ้นใบหนึ่งขึงด้วยหนังวัว ครั้นสร้างเสร็จแล้วได้นำมาถวายที่วัดใหญ่ ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ทางราชการจึงทำตราจังหวัดเป็นรูปกลองลอยน้ำ สองฟากฝั่งเป็นต้นมะพร้าวอันเป็นสัญลักษณ์อาชีพหลักของจังหวัด
เรื่องกลองใหญ่นี้ยังมีอีกนัยหนึ่งเป็นนิยายชาวบ้านเล่าขานต่อ ๆ กันมาว่า มีกลองใบใหญ่ลอยมาติดหน้าวัดใหญ่ ชาวบ้านช่วยกันเก็บไว้ที่วัด กลองดังกล่าวยังปรากฎอยู่จนถึงปัจจุบัน และเนื่องจากกลองใบนี้เป็นกลองขนาดใหญ่มากจึงเรียกว่า แม่กลอง
ท้องถิ่นสมุทรสงคราม ชื่อเดิมของจังหวัดนอกจากชื่อแม่กลองแล้ว ยังมีชื่ออื่นอีกคือ ในสมัยก่อนคนทั่วไปรู้จักอัมพวาในชื่อของ บางช้าง ควบคู่กันมากับ บางกอก ดังเช่นมีคำกล่าวที่ว่า บางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน ที่มาของคำกล่าวนี้อาจเป็นไปได้ว่า ตำแหน่งที่ตั้งและสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของทั้งบางกอก และบางช้างคล้ายคลึงกัน คือต่างอยู่ในที่ดอนอันเกิดจากการทับถมของตะกอนของลำน้ำที่คดเคี้ยวออกสู่ทะเล เหมาะแก่การทำเรือกสวน และอยู่อาศัยกันมาตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา เกิดชุมชนขึ้นที่อัมพวา
เส้นทางคมนาคมทางน้ำ ก่อนออกทะเลที่สำคัญคือ ลำน้ำอ้อม ซึ่งเป็นลำน้ำแม่กลองเก่า ถ้าเริ่มจากปากน้ำแม่กลอง ผ่านอำเภอเมือง ฯ ขึ้นไปตามลำน้ำ จากบ้านคลองผีหลอก เข้าเขตอำเภออัมพวาซึ่งมีลำน้ำสองสายมาบรรจบกัน ทางฝั่งเหนือเป็นลำน้ำธรรมชาติ ทางใต้เป็นคลองขุด เหนือขึ้นไปตามลำน้ำแม่น้ำแม่กลอง แยกออกเป็นสองสาย สายแรกขึ้นไปทางเหนือไปยังอำเภอบางคนที เป็นลำน้ำสายใหญ่ของแม่น้ำแม่กลอง อีกสายหนึ่งเรียกแม่น้ำอ้อม แยกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไปยังอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี บริเวณชุมชนเก่า จากร่องรอยความเป็นมา ทำให้สามารถกำหนดแหล่งการตั้งถิ่นฐานตามแนวแม่น้ำลำคลองในเขตอำเภออัมพวา ได้ดังนี้
ชุมชนบริเวณแม่น้ำอ้อม ชุมชนเก่าแก่คือ บริเวณแม่น้ำอ้อม ตั้งแต่แยกแม่น้ำแม่กลอง บ้านลัดเกาะ บ้านบางกุ้ง ไปจนเข้าเขตอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี พบร่องรอยวัดเก่าตั้งเรียงรายอยู่ตามสองฝั่งลำน้ำ มีการขุดคลองซอยใหญ่น้อยแยกจากแม่น้ำออกไปทั้งสองฝั่ง โดยเฉพาะฝั่งใต้เกือบกล่าวได้ว่า มีคลองซอยทุกระยะสิบเส้น (400 เมตร)
ชุมชนบริเวณฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ได้แก่ บริเวณตั้งแต่อำเภออัมพวาขึ้นไปจรดคลองบางน้อย ในเขตอำเภอบางคนที เป็นบริเวณที่มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวสวนที่หนาแน่น ส่วนมากอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ซึ่งนอกจากมีชุมชนเรียงรายตามริมฝั่งแล้ว ยังขยายตัวไปตามลำคลองอัมพวา และคลองซอย ซึ่งมีเครือข่ายขยายตัวไปทางเหนือ และทางตะวันออกจนถึงเขตติดต่อกับคลองบางน้อย แถวบ้านบางกระบือ
|| อ่านต่อ >>>
จังหวัด » กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ประจวบฯ ปทุมธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี