ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา ได้มีการเดินเรือติดต่อค้าขายระหว่างอินเดียกับจีนขยายตัวมากขึ้น ชาวอินเดียเริ่มเดินทางเข้ามาทำการค้ากับชนพื้นเมือง ในดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวจีนก็เช่นเดียวกัน ทำให้คาบสมุทรอินโดจีนและคาบสมุทรมลายูกลายเป็นเส้นทางผ่านและเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชาวจีน อินเดีย ลังกา อาหรับ เปอร์เซีย กรีก และโรมัน เป็นผลให้ชุมชนในบริเวณดังกล่าวมีการรวมกลุ่ม และพัฒนาขึ้นเป็นรัฐในเวลาต่อมา
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 เส้นทางการค้าระหว่างอินเดียใช้เส้นทางทางทะเลเป็นหลักโดยการเดินเรือข้ามคาบสมุทรมลายู แล้วเดินเรือเลียบตามชายฝั่งทะเลอันดามัน ทางฝั่งด้านตะวันตกและชายฝั่งอ่าวไทย ทางฝั่งด้านตะวันออก
นอกจากเส้นทางดังกล่าวแล้ว เอกสารจีนยังกล่าวถึงเส้นทางคมนาคมระหว่างอินเดีย และจีนที่สำคัญอีกสองเส้นทางคือ เส้นทางลัดข้ามคาบสมุทรมลายูตอนล่าง ซึ่งจะเริ่มจากตะโกลา หรือตะกั่วป่า ข้ามมาทางฝั่งตะวันออกที่บริเวณอ่าวบ้านดอน เส้นทางนี้ใช้มาก่อนพุทธศตวรรษที่ 10 และมีความสำคัญเพิ่มขึ้นโดยลำดับ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 เนื่องจากเกิดโจรสลัดชุกชุมในบริเวณช่องแคบแหลมมะละกา ทำให้นักเดินเรือต้องเลี่ยงมาใช้เส้นทางนี้แทน เส้นทางนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ส่วนเส้นทางที่สำคัญอีกเส้นทางหนึ่งคือ เส้นทางลัดข้ามคาบสมุทรตอนเหนือ เริ่มจากแม่น้ำตะนาวศรีแล้วข้ามทิวเขาตะนาวศรีมายังฝั่งอ่าวไทย เส้นทางดังกล่าวนี้มีผลต่อการเจริญเติบโตของชุมชนบริเวณเมืองประจวบ ฯ ในเวลาต่อมา
เมื่อประจวบ ฯ เป็นเมืองชายทะเลที่เปรียบเสมือนประตูเชื่อมต่อ ระหว่างดินแดนปลายแหลมมลายูกับภาคกลางของไทย ซึ่งแต่เดิมในระยะแรกนั้นการคมนาคมติดต่อระหว่างชุมชนเมือง แถบชายฝั่งทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ใช้วิธีการเดินเรือเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของแหลมมลายู จึงกล่าวได้ว่าการตั้งชุมชนในระยะแรกของเมืองประจวบ ฯ คงมีลักษณะเป็นชุมชนชายฝั่งทะเลขนาดเล็ก ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อรองรับการเดินทาง เป็นจุดผ่านหรือจุดแวะพักเพื่อเดินเสบียงอาหาร น้ำจืด และรวบรวมสินค้าเท่านั้น เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะแก่การหลบคลื่นลมเป็นอย่างดี เพระประกอบไปด้วยเกาะ แก่ง อ่าว และเพิงผา
|| อ่านต่อ >>>
จังหวัด » กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ประจวบฯ ปทุมธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี