ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »

ประเทศไทย 77 จังหวัด »

จังหวัดเพชรบุรี

ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก

ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี จังหวัดเพชรบุรี

งานประเพณีไทยทรงดำ
จัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี งานประเพณีไทยทรงดำของชาวลาวโซ่ง หรือไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย เป็นประเพณีการทำบุญในงานจะมีการจัดการละเล่น และการทำอาหารแบบดั้งเดิมของชาวไทยทรงดำ

งานประเพณีข้าวห่อกระเหรี่ยง
จัดขึ้นเป็นประจำช่วงขึ้น14 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี  เป็นงานประเพณีที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกระเหรี่ยง ซี่งยังคงอาศัยอยู่ในอำเภอหนองหญ้าปล้อง

งานพระนครคีรี
เพื่อเป็นการรำลึกถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์เมืองเพชรบุรี โดย เฉพาะพระนครคีรีและมรดกศิลปวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่มีสืบมาจนถึง ปัจจุบัน ตลอดจนเผยแพร่สิ่งดีงามต่าง ๆ ของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักมากยิ่ง ขึ้น ทางจังหวัดจึงจัดงานพระนครคีรี-เมืองเพชร ขึ้นเป็นประจำ ในราว เดือนกุมภาพันธ์ กิจกรรมในงานได้แก่ ขบวนแห่พยุหยาตราบุรพกษัตริย์ที่เคยครองเมือง เพชรบุรีในสมัยทวารวดีและศรีวิชัย นิทรรศการประวัติศาสตร์และ โบราณคดีเมืองเพชรบุรี การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน สาธิตการปรุง อาหารคาวหวาน อันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองเพชรบุรี การแสดงแสงเสียง ที่บริเวณพระนครคีรี การประกวดพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้ไฟ ประกวดวัวงาม และ ประกวดผลไม้ การแข่งขันฟันอ้อย การเล่นวัวลาน การเห่เรือนก

การวิ่งวัวลานคน
เป็นการแข่งขันที่ดัดแปลงมาจากกีฬาวัวลาน โดยใช้คนวิ่งแทนวัว มีกติกา เหมือนกันทุกประการ ไม่แต่เฉพาะชาวบ้านในท้องถิ่นเท่านั้น มีผู้คนท้อง ถิ่นต่างๆ เดินทางมาร่วมแข่งขันด้วยจึงเป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน และมี เพียงแห่งเดียวที่จังหวัดเพชรบุรี แต่มีกำหนดการเล่นที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่ กับว่าท้องที่ใดจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ซึ่งบางครั้งก็จัดขึ้นในช่วงสงกรานต์

วัวลาน
วัวลานเป็นการละเล่นพื้นบ้าน ในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากการนวดข้าว มีแรงจูงใจ คือ เพื่อความบันเทิง และเพื่อฝึกกำลังเท้าของวัวให้แข็งแรงอยู่เสมอ คลิกอ่านต่อ >>

ประเพณีเล่นเพลงปรบไก่ขอฝน
เป็นกาลละเล่นของชาวบ้านตำบลลาดโพธิ์ อำเภอบ้านลาด เป็นการบวง สรวงศาลหลวงปู่เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ โดยจะเล่นกันในวันเพ็ญเดือน 6 ลักษณะการเล่นเพลงปรบไก่นี้ จะมีพ่อเพลงแม่เพลงแต่งกายพื้นบ้านสีสดใส หลังจากพิธีกรรมต่าง ๆ รวมถึงการไหว้ครูแล้ว ทั้งฝ่ายชายและฝ่าย หญิงจะสลับกันร้องและร่ายรำอยู่กลางวง ท่าร่ายรำของฝ่ายชายปัดไปปัด มาคล้ายกับอาการป้อของไก่ตัวผู้ อาจเป็นเพราะลักษณะนี้จึงเรียกว่าเพลงปรบไก่ บทเพลงที่ใช้ร้องเป็นบทเกี้ยวพาราสีกันและเล่นเป็นเรื่อง 2 เรื่องคือ ไกรทอง และสุวิญชา คลิกอ่านต่อ >>

การแทงหยวก
การแทงหยวก เป็นวิชาความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่อดีต โดยใช้วัสดุที่หาง่ายคือต้นกล้วย มาสร้างงานฝีมือซึ่งมักใช้ในงาน ตกแต่งประดับประดา เมรุเผาศพ งานบวช งานกฐิน และงาน ตกแต่งอื่นๆ สืบทอดกันมาหลายร้อยปี คลิกอ่านต่อ >>

ประเพณีวัวลานหรือวัวระดอก
การเล่นวัวลานมีวิวัฒนาการมาจากการใช้วัวนวดข้าวเพราะลักษณะลานนวดข้าวเป็นวงกลม วิธีการนวดข้าวนั้น วัวที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางไม่ต้องใช้กำลังและฝีเท้ามากเพราะอยู่ในช่วงหมุนรอบสั้น แต่วัวตัวที่อยู่นอกสุดอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางมาก ระยะทางที่ต้องหมุนจะยาวกว่าจึงต้องเลือกวัวตัวที่มีกำลังและฝีเท้าดี ด้วยเหตุนี้เกษตรกรจึงคิดการเล่นวัวลานขึ้นมา เพื่อความสนุกสนานประกวดว่าวัวของใครจะมีฝีเท้าและกำลังดีกว่ากัน และยังมีผลต่อการค้าขายวัวใช้งานอีกด้วยเพราะวัวที่ชนะการเล่นวัวลานจะมีผู้สนใจซื้อในราคาสูง

วัวเทียมเกวียน
เมืองเพชรบุรีได้จัดให้มีการประกวดวัวเทียมเกวียนขึ้นทุก ๆ ปี ในช่วงของการจัดงานพระนครคีรี - เมืองเพชร เพื่ออนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านและสืบทอดประเพณี ชาวบ้านนิยมนำวัวมาประกวดเพราะมีความหมายว่า วัวที่มีความสมบูรณ์จะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงฐานะความเป็นอยู่ของผู้เป็นเจ้าของ ลักษณะการประกวดวัวเทียมเกวียนจะประกวดครั้งละ 1 คู่ กล่าวคือ วัวจำนวน 2 ตัวต่อเกวียน 1 เล่ม หรืออาจจะประกวดทั้งสองคู่ก็มี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม การเดินของวัวในระหว่างที่เดินประกวดจะมีเสาหลักปักไว้เป็นคู่ ๆ วัวเทียมเกวียนจะต้องเดินให้ครบ 3 รอบ และห้ามวัวเดินชนเสาหลัก ในระหว่างที่เดินอาจจะมีดนตรีบรรเลงเพื่อความสนุกสนานด้วย

ละครชาตรี
เป็นละครรำที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับวัฒนธรรมจากละครของอินเดีย เข้ามาสู่เมืองเพชรบุรี ตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน มีเพียงประวัติว่า หม่อมเมืองซึ่งเป็นหม่อมในรัชกาลที่ 5 เป็นคนเพชรบุรี ด้วยเป็น ผู้มีความสามารถในการละเล่นละครชาตรี จึงมักเล่นถวายหน้าพระที่นั่งทุกครั้งที่เสด็จมาจนได้รับพระราชทานบริเวณ "หน้าพระลาน" เพื่อเป็นที่แสดงละครเป็นประจำ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีผู้นำละครนอกมาประสมกับละครชาตรี เรียกว่า ละครเข้าเครื่อง หรือละครชาตรีเครื่องใหญ่ เป็นละครที่รวมศิลปะการร้อง และการรำเข้าด้วยกัน และได้แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน

การแข่งเรือยาว
ประเพณีการแข่งขันเรือยาวของจังหวัดเพชรบุรี นิยมเล่นกันตามวัดต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรี ตั้งแต่กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งในวันแข่งเรือยาวจะเป็นวันเดียวกับที่เจ้าภาพนำผ้ากฐินทอด ณ วัดนั้น การแข่งเรือจะมีขึ้นในเวลาประมาณเที่ยง แข่งขันเป็นคู่ ๆ เรื่อยไป เรือยาวลำใดชนะก็จะได้รางวัล สมัยก่อนรางวัลไม่กำหนดแน่นอน ส่วนมากจะเป็นผ้าแถบ ผ้าแพรสีต่าง ๆ โดยจะใช้ผูกหัวเรือหรือมอบกับฝีพายหญิงที่นั่งพายคู่อยู่ส่วนหัวเรือ ซึ่งจะมี 4 คู่ 5 คู่ หรือมากกว่านั้น หรืออาจเป็นผ้าขาวม้า ซึ่งนิยมมอบให้กับฝีพายผู้ชาย ซึ่งอาจมี 8 คู่ 10 คู่ นั่งอยู่ส่วนท้ายเรือ

เห่เรือบก
เป็นการดัดแปลงจากการเห่เรือน้ำซึ่งเป็นประเพณีดังเดิมของชาวเพชรบุรี การเห่เรือบกเริ่มมากว่า 20 ปี ต่อมาภายหลังจากสร้างเขื่อนเพชร ปิดกั้นแม่น้ำเพชรบุรีที่อำเภอท่ายางเป็นผลให้แม่น้ำเพชรบุรี แห้งขอดลง และส่วนตอนกลางแม่น้ำก็ตื้นเขิน ไม่เหมาะแก่การเห่เรือน้ำเหมือนในอดีต ผู้เคยเล่นเรือน้ำจึงคิดดัดแปลงลักษณะของการเห่เรือน้ำมาเล่นบนบก โดยเอาเนื้อร้องและทำนองมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับท่าทางของฝีพายขณะเดินเห่ ผู้เล่นมีทั้งหญิงและชายซึ่งเป็นทั้งฝีพายและลูกคู่ ส่วนเรือที่จำลองจะประดับประดาสวยงามมาก เนื้อความที่ใช้เห่เรือบกจะเริ่มด้วย บทไหว้ครู บทเกริ่น บทเกี้ยวพาราสี บทชมนกชมไม้ มีข้อสังเกตว่าไม่มีบทว่าโต้ตอบกัน ต้นเสียงจะเห่บทเพลงไปเรื่อยๆ เมื่อเห็นว่าสมควรแก่เวลาก็จะเห่บทอำลาและอวยพรให้ผู้ชม

» สุนทรภู่ ตระกูล “พราหมณ์เมืองเพชร”
» ตามรอยเสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๓
» วรรณกรรมเมืองเพชรบุรี

จังหวัด » กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ประจวบฯ ปทุมธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย