ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดนครปฐม
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดนครปฐม
จังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ด้วยระยะทางเพียงประมาณ 56 กิโลเมตร เป็นเมืองแห่งปูชนียสถานเก่าแก่ที่สำคัญคือ "พระปฐมเจดีย์" ซึ่งนับเป็นร่องรอยแห่งแรกของการเผยแพร่อารยธรรมพุทธศาสนาเข้าในประเทศไทย ทั้งยังเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์มากมายไปด้วยผลไม้ และอาหารขึ้นชื่อนานาชนิด
นครปฐม เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่ง ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย เชื่อมต่อกับสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการตั้งถิ่นฐานทางพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรกในสมัยทวารวดีประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมาจากหลักฐานทางโบราณคดี ทำให้ทราบว่ามีกลุ่มชนเข้ามาอยู่ในพื้นที่นี้มาตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายยุคโลหะ ภายหลังสังคมเกษตรกรรม อายุประมาณ 2,000 ปี มาแล้ว ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ในสมัยทวารวดี และได้พัฒนาการตั้งถิ่นฐานต่อเนื่องกันจนถึงปัจจุบัน
เมืองโบราณในสมัยทวารวดี จะมีความสัมพันธ์กับแนวชายฝั่งทะเลเดิมของอ่าวไทย มีความสูง 3 - 5 เมตร เมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่สูงกว่าแนวชายฝั่งขึ้นไป แนวชายฝั่งดังกล่าวเป็นอ่าวลึกเว้าเข้าไปในแผ่นดิน ด้านเหนือจรดลพบุรี และสิงห์บุรี ด้านตะวันออกจรดนครนายก พนมสาคาม พนัสนิคม และชลบุรี ด้านตะวันตกจรดสุพรรณบุรี อู่ทอง กำแพงแสน และนครชัยศร (เมืองพระประโทน)
อำเภอกำแพงแสน เป็นดินแดนที่มีประวัติการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาแต่สมัยโบราณ เป็นเมืองสมัยทวารวดี ร่วมสมัยกับเมืองโบราณสมัยทวารวดีแห่งอื่น ๆ เช่น เมืองโบราณนครปฐม เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) และเมืองคูบัว (ราชบุรี) นอกจากนี้ยังเป็นดินแดนที่ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เคยอยู่อาศัยมาก่อน
ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จะกระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ ที่มีแหล่งน้ำอันเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อมาได้พัฒนาเป็นชุมชนเมือง ชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ในช่วงเริ่มแรกในจังหวัดนครปฐม จะมีการดัดแปลงพื้นที่ โดยการขุดเป็นร่องน้ำล้อมรอบ และกันด้วยคันดินทั้งสี่ด้าน
เมืองเก่ากำแพงเป็นเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมมุมมน ยังปรากฏร่องรอยคันดินและคู่น้ำล้อมอยู่ในเขตตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน มีขนาดกว้างประมาณ 750 เมตร ยาวประมาณ 1,000 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ ประตูเมืองยังคงเห็นได้ชัดเจนทั้งสี่ประตู คือ ประตูด้านทิศเหนือเรียกว่า ประตูท่านางสรง ประตูด้านทิศตะวันออกเรียกกันว่า ประตูท่าพระ ประตูด้านทิศใต้เรียกกันว่า ประตูท่าช้าง ประตูด้านทิศตะวันตกเรียกกันว่า ประตูท่าตลาด
ภายในตัวเมืองอยู่เกือบกลางเมืองอีกสองแห่ง ภายนอกเมืองทางด้านทิศตะวันออกมีคลองรางพิกุล ที่มุมเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีช่องมาในเมืองเรียกว่า ช่องปากเมือง หรือปากกลาง พบเศษอิฐจมอยู่ทางด้านใต้ของเมือง พบซากเจดีย์ที่ขุดแล้วหลายองค์ นอกบริเวณเมืองพบพระพุทธรูปปูนปั้นรูปสิงโต และซากเจดีย์สมัยทวารวดีอีกหลายองค์ มีลักษณะของฐานแบบเดียวกับที่เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี หลักฐานทางโบราณคดีที่พบได้แก่ หินบดยา ทำด้วยหินทรายสีแดง ซึ่งพบเป็นครั้งแรก (ส่วนใหญ่จะเป็นสีเขียวหรือสีดำเท่านั้น) นอกจากนี้ยังพบจารึกบนฐานธรรมจักรศิลา อักษรปัลลวะ ภาษาบาลี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 3
|| อ่านต่อ >>>
จังหวัด » กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ประจวบฯ ปทุมธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี