ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »

ประเทศไทย 77 จังหวัด »

จังหวัดนครปฐม

ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก

ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดนครปฐม(3)

ในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระเบื้องประดับองค์พระปฐมเจดีย์หลุดล่อนเสียหายเป็นอันมาก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนกระเบื้องใหม่ทั้งองค์ โดยใช้นักโทษจากเรือนจำมณฑลนครชัยศรี มาทำวันละ 30 - 40 คน

ในรัชสมัยพระบทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมอบหมายให้มีการซ่อมแซมพระวิหารหลวง และตกแต่งเพิ่มเติมให้สวยงาม และโปรดเกล้า ฯ ให้เขียนภาพพระปฐมเจดีย์ไว้ที่ผนังด้านในพระวิหารหลวง แสดงให้เห็นลักษณะรูปทรงพระเจดีย์ครั้งสมัยเริ่มสร้างจนถึงปัจจุบัน และยังมีภาพวาดประกอบอื่น ๆ ประกอบอีกด้วย นอกจากนี้ยังทรงให้ขยายบันไดด้านทิศเหนือให้กว้างขึ้น และให้สร้างพญานาคเลื้อยลงมาแผ่แม่เบี้ยเชิงบรรไดอย่างงดงาม โปรดเกล้า ฯ ให้หล่อพระพุทธรูปเก่าจากเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเลือแต่พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท ให้เป็นองค์สมบูรณ์ เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ และถวายพระนามว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์ ฯ อัฐเชิญมาประดิษฐานที่วิหารทิศเหนือ เมื่อปี พ.ศ.2457

นอกจากนั้นพระองค์ยังได้พระราชทานชื่อถนนทั้งสี่ด้าน นอกบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์คือ ด้านตะวันออกชื่อถนนหน้าพระ ด้านทิศเหนือชื่อถนนซ้ายพระ ด้านทิศใต้ชื่อถนนขวาพระ และด้านทิศตะวันตกชื่อถนนหลังพระ และได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างสะพานข้ามคลองเจดีย์บูชา พระราชทานนามว่า สะพานเจริญศรัทธา และตัดถนนจากหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ตรงไปผ่านหน้าวัดพระประโทน พระราชทานชื่อถนนว่า ถนนเทศา

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระราชวังนครปฐม หรือปฐมนคร อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ติดกับบริเวณพระปฐมเจดีย์ สำหรับเป็นที่ประทับเวลาเสด็จนมัสการพระปฐมเจดีย์ พระราชวังแห่งนี้ถูกทิ้งร้างไป เมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์ ปัจจุบันได้ถูกรื้อออกไปทำเป็นที่ทำการเทศบาลนครปฐม

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองนครชัยศรีซึ่งเคยอยู่กับกระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้มาขึ้นกับกรมท่าด้วย เพื่อสะดวกในการบูรณะพระปฐมและได้มีการเกณฑ์พวกเลข (สักเลข) มาทำการบูรณะ

ต่อมาได้มีการรวมเมืองนครชัยศรี สุพรรณบุรี และเมืองสมุทรสาคร ตั้งเป็นมณฑลเทศาภิบาล เมื่อปี พ.ศ.2438 มีที่ทำการมณฑลอยู่ที่เมืองนครชัยศรี โดยที่เมืองนครชัยศรีแบ่งออกเป็นห้าอำเภอคือ อำเภอเมือง ฯ   อำเภอพระปฐมเจดีย์   อำเภอตลาดใหม่  อำเภอบางปลา และอำเภอกำแพงแสน

ในปี พ.ศ.2441 ได้ย้ายที่ทำการมณฑลนครชัยศรี จากตำบลท่านาริมแม่น้ำนครชัยศรี มายังอำเภอพระปฐมเจดีย์ ซึ่งเป็นอำเภอเมือง ฯ ในปัจจุบัน โดยทำการซ่อมแซมพระราชวังปฐมนคร แล้วใช้เป็นที่ตั้งมณฑล

เมื่อปีพ.ศ.2450  พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่สร้างที่ประทับที่เมืองนครปฐม บริเวณสระน้ำจันทร์ ซึ่งเป็นสระน้ำโบราณอยู่ใกล้กับเนินปราสาท ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศตะวันตกประมาณสองกิโลเมตร พระราชทานชื่อว่า พระราชวันสนามจันทร์ ประกอบด้วยพระที่นั่งห้าหลัง และพระตำหนักต่าง ๆ สี่หลัง มีศาลาธรรม และเทวาลัยพระคเณศร์ รูปแบบการสร้างมีทั้งแบบศิลปกรรมไทย ศิลปกรรมยุโรป และศิลปกรรมประยุกต์ มีพระที่นั่งต่าง ๆ ดังนี้คือ

พระที่นั่งพิมานปฐม พระที่นั่งอภิรมฤดี พระที่นั่งวัชรีรมยา พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระตำหนักมารีราชบัลลังก์ พระตำหนักทับแก้ว และพระตำหนักทับขวัญ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาประทับพระราชวังสนามจันทร์อยู่เสมอ นอกจากจะเป็นที่แปรพระราชฐานแล้ว ยังใช้เป็นที่ว่าราชการ เลี้ยงรับรองพระราชอาคันตุกะอย่างเป็นทางการ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และยังมีพระราชประสงค์ให้เป็นค่ายหลวงในกิจกรรมเสือป่า เช่น ซ้อมรบ หรือประลองยุทธ ที่เริ่มทำครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2454 ที่เมืองนครปฐม

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกพระราชวังสนามจันทร์ให้กับมณฑลนครชัยศรี เมื่อปี พ.ศ.2469 ให้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสนครปฐม

ที่มา : หอมรดกไทย

<<< ย้อนกลับ ||

จังหวัด » กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ประจวบฯ ปทุมธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย