ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
นายแพทย์เอกชัย จุละจาริตต์
ความสงบสุขเกิดขึ้นได้อย่างไร
เมื่อใดที่ใจคิดอกุศล ย่อมทำให้เกิดการเบียดเบียนตนเองและหรือผู้อื่น
จึงเป็นผลให้ตนเองและหรือผู้อื่นไม่มีความสงบสุข.
เมื่อใดที่ใจคิดแต่กุศล ย่อมทำให้ไม่เกิดการเบียดเบียนตนเองและหรือผู้อื่น
ขณะเดียวกัน จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและหรือผู้อื่น
จึงเป็นผลให้ตนเองและหรือผู้อื่นมีความสงบสุข.
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว กล่าวคือ
เมื่อใจคิดดี(กุศล) การกระทำทางกาย วาจา ใจ ย่อมดี(กุศล) เมื่อใจคิดชั่ว(อกุศล)
การกระทำทางกาย วาจา ใจ ย่อมชั่ว(อกุศล)และเป็นทุกข์ไปด้วย.
ดังนั้น คนเราจะทำดีหรือชั่วนั้น เกิดจากความคิดนี่เอง.
ถ้าเราควบคุมความคิดไม่ให้คิดอกุศลและให้คิดแต่กุศลได้ การกระทำต่าง ๆ ทางกาย วาจา
ใจ ย่อมเป็นแต่กุศลเท่านั้น หรือทำให้เกิดความสงบสุขที่แท้จริง
เพราะธรรมชาติเป็นเช่นนั้นเอง
เมื่อมีสติคอยบริหารจิตใจ ไม่ให้คิดอกุศลและให้คิดแต่กุศลเท่านั้น
ย่อมทำให้จิตใจมีความบริสุทธิ์ผ่องใส
ซึ่งเป็นหลักของพระพุทธศาสนาหรือโอวาทปาฏิโมกข์
วิธีบริหารหรือดูแลจิตใจ
การรู้ว่า ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าวนั้น ใคร ๆ ก็รู้
แต่วิธีการดูแลจิตใจให้ละอกุศลและทำแต่กุศลเพื่อให้จิตใจมีความสงบสุขนั้นเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะถ้าไม่มีวิธีการและไม่ฝึกปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน
ย่อมทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความสงบสุขและความบริสุทธิ์ผ่องใสของจิตใจ
วิธีบริหารจิตตามแนวพุทธนั้นง่าย แต่ต้องพึ่งพาสติปัญญาทางธรรมและความเพียรของตนเอง
กล่าวคือ ต้องเพียรศึกษาอริยะสัจ 4 และฝึกปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ 8 อย่างถูกต้อง
ครบถ้วน และต่อเนื่อง
การปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ 8 คือการเจริญกรรมฐาน
จะเหลือเพียง 2 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
- ฝึกเจริญสมาธิ(สมถกรรมฐาน) เพื่อฝึกมีสติในการหยุดความคิด พักสมอง และพักร่างกาย
- ฝึกเจริญสติ(วิปัสสนากรรมฐาน) เพื่อฝึกมีสติในการศึกษาธรรม ร่างกาย จิตใจ และฝึกควบคุมจิตใจ ไม่ให้คิดอกุศลและให้คิดแต่กุศลจนเป็นนิสัย หรือฝึกให้คิดและทำตามโอวาทปาฏิโมกข์
การฝึกปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันประกอบด้วยการฝึกเจริญสมาธิและฝึกเจริญสติสลับกันไป เพื่อให้เกิดการดูแลจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสอย่างต่อเนื่อง
ความสงบสุขเกิดขึ้นได้อย่างไร
วิธีเจริญสมาธินั้นง่ายนิดเดียว
วิธีฝึกเจริญสตินั้นง่ายนิดเดียว