สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

การแพทย์แผนโบราณ

สรรพคุณเภสัช

ยารสประธาน

ยารสประธาน หมายถึง รสของยาที่ปรุงหรือผสมเป็นตำรับแล้ว สิ่งที่จะนำมาประกอบขึ้นเป็นยานั้นประกอบด้วยวัตถุธาตุ 3 ประเภท คือ พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุ เมื่อนำมาประกอปรุงเป็นยาสำเร็จรูปแล้วจนเหลือรสของตัวยาสำเร็จรูปอยู่เพียง 3 รสเท่านั้น คือ

  • ยาขนาดใดที่ปรุงขึ้นมาแล้ว รสเย็น ได้แก่ ยาที่เข้าพืช สัตว์ ธาตุที่ไม่ร้อน เช่น เขาสัตว์ เขี้ยวสัตว์ มาปรุงยารสเย็น เช่น ยามหานิล ยามหากาฬ ขาเขียว เป็นต้น ซึ่งมีสรรพคุณแก้ทางเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) แก้ไข้ ระงับความร้อน ใช้สำหรับแก้ไข้ในกองฤดูร้อน
  • ยาขนาดใดที่ปรุงขึ้นมาแล้ว รสร้อน ได้แก่ ยาที่เข้าพืช สัตว์ ธาตุที่รสร้อน เช่น เบญจกูล ตรีกฏุก เหง้าขิง กะเพรา มาปรุงเป็นยารสร้อน เช่น ยาไฟประลัยกัลป์ ยาสัณฑฆาต ยาประสากานพลู ยาประจุวาโย เป็นต้น ซึ่งมีสรรพคุณแก้ในกองวาโยธาตุ (ธาตุลม) แก้ลมกองหยาบ ลมจุกเสียดแน่น ลมพรรรดึก บำรุงธาตุ ใช้สำหรับแก้ไข้ในกองฤดูฝน
  • ยาขนาดใดที่ปรุงขึ้นมาแล้ว รสสุขุม ได้แก่ ยาที่เข้าพืช สัตว์ ธาตุที่ไม่ร้อน เช่น โกฐเทียน กฤษณา กระลำพัก จันทร์เทศ เครื่องเทศที่ไม่ร้อน มาปรุงเป็นยารสสุขุม เช่น ยาหอมอินทจักร ยาหอมเนาวโกฐ ยาสังข์วิชัย เป็นต้น ซึ่งมีสรรพคุณแก้ในกองอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) แก้ไข้ที่ใช้ยารวเย็นไม่ได้แก้ลมกอลละอียด ลมวิงเวียน ใจสั่นหวั่นไหว บำรุงกำลัง ใช้สำหรับแก้ไข้ในกองฤดูหนาว

 

รสยาทั้งสามที่ได้กล่าวมานั้น คือ รสของยาที่ปรุงสำเร็จแล้ว นำไปใช้รักษาโรคและไข้เป็นหลักใหญ่หรือเป็นแม่บท เรียกว่ารสประธาน แต่ในส่วนของวัตถุธาตุแต่ละชนิดก็จะมีรสยาแยกย่อยแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าวัตถุธาตุชนิดใด จะดูดซับเอารสยาจากแผ่นดินเข้าไว้กับตัวซึ่งสามารถแบ่งรสยาทั่วไปออกเป็น 9 รส

»» ยารสประธาน
»» รสของตัวยา 4 , 6 , 8 , 9 รส
»» รสยาประจำธาตุ (รสยาแก้ตามธาตุ)
»» รสยาแก้ตามวัย (แก้ตามอายุ)
»» รสยาแก้ตามฤดู
»» รสยาแก้ตามกาล

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย