เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ปศุสัตว์

การเลี้ยงโคนมสำหรับเกษตรกร

กองปศุสัตว์สัมพันธ์ กรมปศุสัตว์

        อาชีพการเลี้ยงโคนมอาจกล่าวได้ว่าเป็นอาชีพที่ค่อนข้างใหม่สำหรับเกษตรบ้านเรา แต่ตามความเป็นจริง ประเทศเราได้เคยสั่งโคนมพันธุ์ต่างประเทศ เข้ามาทดลองเลี้ยงเมื่อกว่า 50 ปีล่วงมาแล้ว แต่การเริ่มต้นเลี้ยง ในครั้งแรกประสบปัญหาบางประการ จึงนับว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา อาชีพการเลี้ยงโคนมจึงได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง และเริ่มรู้จักแพร่หลายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม อาชีพการเลี้ยงโคนมอาจยึดเป็นอาชีพหลักได้ หรืออาจเป็นอาชีพรองอาชีพหนึ่ง ที่เกษตรกรควรจะทำควบคู่ กันไปกับอาชีพอื่นก็ย่อมได้เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด ทั้งทางตรงและทางอ้อม ปัจจุบันมีเกษตรกร จำนวนมากที่หันมาประกอบอาชีพการเลี้ยงโคทั้งนี้เพราะได้เห็นตัวอย่างจากเพื่อเกษตรกรที่ยึดอาชีพเลี้ยงโค นมมาก่อน ปรากฏว่ามีรายได้ดีสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำให้ครอบครัวมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น อีกทั้ง ยังได้รับผลพลอยได้อื่น ๆ ตามมาอีกด้วย เช่น ทำให้เด็ก ๆ มีจิตใจรักสัตว์ มีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น และใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มูลสัตว์ยังใช้เป็นปุ๋ยและช่วยบำรุงดิน ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรอีกเป็น จำนวนมากซึ่งเคยประกอบอาชีพอย่างอื่น เช่น ทำสวน ทำไร่ ทำนา ได้เล็งเห็นประโยชน์ที่ตนเองจะได้ ต่างก็หันมายึดอาชีพการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพหลักซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้ประสบผลสำเร็จ นั่นหมายถึงได้ผลตอบ แทนที่คุ้มค่าและทำให้เศรษฐกิจของครอบครัวดีขึ้นเป็นลำดับและมีความมั่นคงถาวรสืบไป

การเริ่มต้นเลี้ยงโคนม

การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ทุน สถานที่ ตลาด และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบ ในที่นี้จะกล่าวเน้นเฉพาะทุนในการดำเนินการ ซึ่งทุนดังกล่าวอาจแบ่งแยกออกได้เป็น 5 รายการคือ

  1. ทุนสำหรับเชื้อโรค
  2. ทุนสำหรับสร้างโรงเรือนหรือคอกสัตว์
  3. ทุนสำหรับการเตรียมแปลงหญ้า
  4. ทุนสำหรับการหาแหล่งน้ำหรือการชลประทาน
  5. ทุนสำหรับรับรองจ่าย ซึ่งหมายถึงทุนหมุนเวียน เช่น ค่าอาหารหรือค่าแรงงานต่าง ๆ

การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมอาจเริ่มต้นได้หลายวิธี ซึ่งแล้วแต่ความเหมาะสมและความพร้อมของแต่ละ บุคคล ในการเริ่มต้นที่จะเลี้ยง ซึ่งอาจพอแนะนำ พอเป็นสังเขปได้ เช่น

  • เริ่มต้นโดยการหา หรือเลือกซื้อแม่โคพันธุ์พื้นเมืองหรือแม่ที่มีสายเลือดโคเนื้อที่มีลักษณะดีไม่เป็น โรคติดต่อมาเลี้ยง แล้วใช้วิธีผสมเทียนกับสายเลือดโคพันธุ์นมของยุโรป พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่ง เมื่อได้ ลูกผสมตัวเมียก็จะมีเลือดโคนม 50% ซึ่งเมื่อเลี้ยงดูต่อไปอีกประมาณ 30-36 เดือน ก็จะให้ลูกตัวแรก แม่โคตัวนี้ก็จะเริ่มรีดนมได้
  • เริ่มต้นโดยหาซื้อลูกโคนมพันธุ์ผสมเพศเมียมาเลี้ยงโดยอาศัยนมเทียมหรือหางนมผงละลายน้ำให้กิน ในปริมาณจำกัด พร้อมทั้งให้อาหารข้นลูกโคอ่อนและหญ้าจนกระทั่งหย่านมถึงอายุผสมพันธุ์-ตั้งท้อง- คลอดลูก และเริ่มรีดนมได้
  • เริ่มต้นโดยการจัดซื้อโคนมอายุเมื่อหย่านม, โครุ่น, โคสาว หรือโคสาวที่เริ่มตั้งท้องหรือแม่โคที่เคย ให้นมแล้วจากฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งมาเลี้ยง วิธีนี้ใช้ทุนค่อนข้างสูงแต่ให้ผลตอบแทนเร็ว

หลักในการเลือกซื้อโคนม

ไม่ว่าเกษตรกรจะเริ่มต้นเลี้ยงโคนมด้วยวิธีใดก็ตามควรจะมีหลักในการพิจารณาเลือกซื้อโคนมบ้าง เพื่อให้ได้สัตว์ที่มีคุณภาพดี ซึ่งหลักในการ พิจารณาเลือกซื้อโคนมดังกล่าวมีอยู่หลายประการอาจ กล่าวแนะนำพอเป็นสังเขปได้ คือ

  • ไม่ว่าจะเลือกซื้อโคขนาดใดก็ตามต้องสอบถามประวัติ ซึ่งหมายถึงสายพันธุ์และความเป็นมา อย่างน้อยพอสังเขป
  • ถ้าเป็นโครีดนมควรจะเป็นแม่โคที่ให้ลูกตัวที่ 1 ถึงตัวที่ 4
  • ถ้าเป็นแม่โคที่รีดนมมาหลายเดือนควรจะตั้งท้องด้วย
  • ถ้าเป็นโคสาวหรือแม่โคนมแห้งก็ควรจะเป็นแม่โคที่ตั้งท้องด้วย เพื่อเป็นการย่นระยะเวลาจะได้รีดนมเร็วขึ้น
  • ควรเป็นโคที่มีประวัติการให้นมดีพอใช้และต้องปอดจากโรคแท้งติดต่อและโรควัณโรค

» พันธุ์โคนม
» การเลี้ยงดู
» อาหารและการให้อาหาร
» การป้องกันโรคและสุขาภิบาล

  • ที่มา
    การเลี้ยงโคนม สถาบันพัฒนาฝึกอบรมและวิจัยโคนมแห่งชาติ เชียงใหม่
    การให้อาหารข้นแก่โคนม เดชา เจนกลรบ กลุ่มงานวิจัยอาหารสัตว์กองอาหารสัตว์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย