เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ไม้ดอก-ไม้ประดับ

การปลูกเบญจมาศ

โรคและแมลงที่สำคัญ

1.โรคใบแห้ง

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia chrysanthemi

ลักษณะอาการ อาการเริ่มแรกยอดจะเหี่ยวในเวลากลางวันและฟื้นตัวในเวลากลางคืน ต่อมายอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาล ถ้าบีบลำต้นดูจะรู้สึกว่าต้นกรอบ ไส้กลวงของลำต้นมี สีน้ำตาลแดง โรคนี้จะระบาดได้เร็วในที่ที่มีอากาศร้อน ความชื้นสูง

การแพร่ระบาด จะติดไปกับเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร และส่วนมากเชื้อแบคทีเรีย จะเข้าทำลายได้ง่ายในพืชที่เป็นแผลหรือมีรอยแตก

การป้องกันกำจัด ถ้ามีโรคระบาดในแปลงควรเผาทำลายเสีย อย่าให้เชื้อแพร่กระจายไป และควรใช้กิ่งปักชำที่ปราศจากโรคหรือใช้สารเคมีประเภทสเตรปโตมัยซิน

2.โรคใบจุด

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Septoria sp.

ลักษณะอาการ ใบเป็นจุดสีน้ำตาลไหม้ บางครั้งจะมีขอบแผลสีเหลือง ลักษณะแผลค่อนข้างกลมมีขอบแผลชัดเจน เมื่อแผลขยายใหญ่ขึ้น หรือ หลายๆแผลขยาย มาชนกัน จะทำให้ใบไหม้ แห้งและร่วงหล่นไปในที่สุด โรคใบจุดนี้จะเริ่มต้นที่ใบล่างๆที่ติด พื้นดินก่อนแล้วค่อยๆลามขึ้นไปจนถึงยอด

การแพร่ระบาด สปอร์ที่อยู่ตรงกลางแผลจะปลิวไปตามลมหรือถูกน้ำชะล้างให้กระเด็นจาก ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งได้ โรคนี้จะระบาดมากในฤดูฝน

การป้องกันกำจัด ไม่ควรปลูกต้นเบญจมาศชิดกันเกินไป เพราะจะทำให้อากาศไม่ถ่ายเท มีผลทำให้ความชื้นระหว่างโคนต้นสูง เหมาะแก่การแพร่ระบาดของโรคยิ่งขึ้น และควรพ่น สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แคบแทน มาเนบ หรือ ไซเนบ ให้ทั่วโดยเฉพาะบริเวณโคน ต้น

3.โรคราสนิมขาว

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Puccinia horiana

ลักษณะอาการ เริ่มแรกเกิดจุดสีเหลืองขนาดเล็ก บริเวณส่วนบนของใบ ซึ่งจะค่อยๆขยาย ใหญ่ขึ้นถึงเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนด้านใต้ใบที่ตำแหน่งเดียวกันเริ่ม แรกจะเห็นจุดสีขาวนวล ต่อมาเมื่อจุดนั้นขยายใหญ่ขึ้นเป็นนูนกลมออกสีชมพู และเปลี่ยน เป็นสีขาวเมื่อเจริญเต็มที่ ระบาดมากจะทำให้ใบมีสีเหลืองและลามแห้งไปทั่วทั้งใบ ในดอก จะมีการไหม้แห้งจากปลายกลีบดอกเข้ามา

การแพร่ระบาด เป็นโรคที่ระบาดรุนแรงในภาคเหนือช่วงฤดูหนาวขณะมีอากาศชื้น แต่เมื่อ อากาศร้อนและแห้งแล้งความรุนแรงจะลดลง สปอร์ของเชื้อราจะงอกที่อุณหภูมิระหว่าง 4 -24 องศาเซลเซียส สปอร์จะงอกได้เมื่อผิวใบเปียกน้ำ และในสภาพที่เหมาะสมสปอร์สา มารถ งอกได้ภายในเวลา 2 -2.5 ชั่วโมง

การป้องกันกำจัด เชื้อราสนิมขาวมักแพร่ระบาดโดยต้นพันธุ์ที่เป็นโรค หรือส่วนของพืชที่มี เชื้อราอยู่ สปอร์ของเชื้อราสนิมขาวนี้สามารถมีชีวิตอยู่บนใบที่ร่วงจากต้นได้เป็นเวลานานถึง 8 สัปดาห์ จึงควรป้องกันดังนี้

  • ควรให้ต้นและใบเบญจมาศแห้งที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการรดน้ำถูกใบโดย เฉพาะในช่วงเย็น เนื่องจากใบที่เปียกเป็นสภาพที่เหมาะสมกับการเกิดโรค และป้องกันน้ำ กระเด็นจากใบหนึ่งไปสู่อีกใบหนึ่ง
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำค้างเกาะที่ใบ หรือการมีน้ำจากหลังคาหยดลงใบ ควรระบายอา กาศหรือให้ความร้อนในโรงเรือนในช่วงเย็น
  • ปลูกเบญจมาศให้มีระยะห่างพอสมควร เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี หากการ ระบาดอยู่ในระยะแรก การเด็ดใบที่เป็นโรคออกจะช่วยควบคุมโรคได้
  • ควรขุดหลุมลึกเพื่อฝังซากพืชที่มีอาการของโรค หรือเผาทำลาย

การใช้สารเคมี เนื่องจากการกำจัดทำได้ลำบาก จึงควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมีประ เภทสัมผัส เช่น คลอโรธาโลนิล สลับกับ แมนโคเซบ ฉีดพ่นทุก 7 วัน หากเกิดระบาดมาก การใช้สารเคมีประเภทดูดซึม จะได้ผลดีกว่า แต่เชื้อรามักจะต้านทานต่อสารเคมีประเภทนี้ ได้ง่าย โดยฉีดพ่นทุก 5 -7 วัน และเพื่อป้องกันการดื้อยา การฉีดพ่นสารเคมีทั้งเพื่อป้องกัน หรือกำจัด โรคราสนิมขาว ควรใช้สารเคมีซ้ำกันไม่เกิน 2 -3 ครั้ง เพื่อให้สารเคมีที่ใช้มีประ สิทธิภาพสูงสุด จากนั้นจึงควรเปลี่ยนกลุ่มสารเคมี

4. เพลี้ยไฟ

ลักษณะการทำลาย ชอบทำลายส่วนอ่อนและส่วนยอดของพืช จะทำลายดอกทันทีที่ออก ดอกเป็นตุ่มเท่าหัวไม้ขีด ดอกจะแคระแกรนไม่คลี่บานตามปกติ หรือทำให้กลีบดอกมีสีน้ำ ตาลไหม้ เหี่ยวแห้ง เนื่องจากเพลี้ยไฟมีขนาดเล็ก จึงมักซุกซ่อนหลบหลีกการสังเกต การใช้ สารเคมีฉีดพ่นทำได้ไม่ทั่วถึง

การป้องกันกำจัด

  • ใช้กับดักกาวเหนียว ใช้ในการทำลายการระบาดเท่านั้น ยังไม่มีการทดลองนำกับดัก ชนิดนี้มาเพื่อใช้ลดปริมาณเพลี้ยไฟ
  • ใช้สารสกัดจากสะเดา
  • ศัตรูธรรมชาติ เช่น แมลงตัวห้ำ

การใช้สารเคมี สารเคมีที่แนะนำใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ เช่น คาร์บาริล เอ็นโดซัลแฟน กูซาไธออน - เอ มาลาไธออน เมทธิโอคาบ คาร์โบซัลแฟน โปรไธโอฟอส ฟอร์ มีทาเนต อะบาเมคติน เบนฟูราคาร์บ และฟิโปรนิล ซึ่งการใช้สารเคมีเหล่านี้ควรจะคำนึงถึง พืชที่จะพ่น สภาพและท้องที่การระบาด ตลอดจนความรุนแรงของการระบาดด้วย ถ้าอยู่ใน ช่วงที่มีการระบาดรุนแรงควรพ่นสารเคมีค่อนข้างถี่ คือ ประมาณ 3 -5 วัน โดยพ่นติดต่อกัน 2 -3 ครั้ง จนจำนวนเพลี้ยไฟลดลง แล้งจึงเว้นระยะห่างออกไป สำหรับพืชที่ต้องการดูแล เป็นพิเศษควรใส่ปุ๋ยใบพ่นให้พืชเพื่อให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น

5.หนอนชอนใบ


ลักษณะการทำลาย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ โดยสังเกตเห็นเป็นทางเดินของหนอนภาย ในใบ

การแพร่ระบาด เป็นหนอนที่ทำความเสียหายเป็นอย่างมากในมะเขือเทศและดอก เบญจ มาศ

การป้องกันกำจัด โดยใช้สารเคมี เช่น อะบาเม็คติน หรืออ๊อกซามิล ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ติดต่อ กันอย่างน้อย 4 สัปดาห์

จัดทำโดย

  • นางสาวมลธิรา ลองทอง
  • นางสาวปนัดดา สิงห์ทองชัย

นักศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

» ประเภทของพันธุ์เบญจมาศที่จำแนกตามรูปทรง
» ขั้นตอนการขยายพันธุ์
» การเตรียมดิน
» การปลูก
» การปลูกภายใต้โรงเรือน
» การบังคับไม่ให้เบญจมาศสร้างดอก
» การบังคับให้เบญจมาศสร้างดอก
» การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
» โรคและแมลงที่สำคัญ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย