เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การเลี้ยงกบ
ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
การผสมพันธุ์กบ
1. การผสมพันธุ์ในฤดูผสมพันธ์
ส่วนมากในคืนแรกหรือคืนที่ 2 หลังจากฝนตก กบจะทำการผสมพันธุ์ วางไข่แต่
อาจยึดเยื้อไปได้อีก โดยจะผสมพันธุ์วางไข่หลังจากฝนตกประมาณ 5-7 วัน เมื่อเลือกกบ
ที่มีลักษณะดีแล้วให้นำมาปล่อยในบ่อผสมพันธุ์ในอัตราตัวผู้ 2 ตัวต่อตัวเมีย 10 ตัว
(ตัวผู้กับตัวเมียมีขนาดเท่ากัน) ระดับน้ำในบ่อลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ภายในบ่อ
ใส่พวกสาหร่ายลงไปด้วยพอประมาณ รักษาระตับน้ำให้คงที่ตลอดเวลา ในช่วงนี้งดให้
อาหารประมาณ 2-3 วัน ถ้ายังไม่มีฝนตกให้เปลี่ยนน้ำใหม่และอาจพ่นน้ำในบ่อผสมพันธุ์
ไห้เหมือนกับฝนตก หลังจากนั้นกบก็จะผสมพันธุ์และวางไข่ในเวลาเช้ามืด
2. การผสมพันธุ์นอกฤดู
ได้มีผู้คิดค้นและทดลองปฎิบัติกันหลายวิธี เช่น
เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งจะเติมน้ำจนเต็ม บ่อเลี้ยงกบ และฉีดน้ำให้กบชุ่มชื้นอย่างน้อย 2
วันต่อครั้ง แล้วถ่ายน้ำออกปล่อยให้บ่อแห้ง ประมาณ 2-3 วัน
เมื่อบ่อแห้งดีแล้วจึงทำการคลุมหลังคาให้ร่มครึ้มอย่างเดิมอีกครั้ง หลังจาก
นั้นฉีดน้ำให้บ่อกบชุ่มชื้น 6-7 วันติดต่อกัน แล้วฉีดน้ำต่ออีก 15 นาที
สังเกตว่าในตอน กลางคืนกบจะร้อง
พอเช้าให้ฉีดน้ำในตอนเที่ยงและบ่ายครั้งละครึ่งชั่วโมง หลังจากนั้นใน เวลาประมาณ 4
นาฬิกาถึง 5 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น กบก็จะจับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่
จากนั้นก็จะแยกกันไปหลบในที่อาศัย
ผู้เลี้ยงก็จะสามารถจับพ่อและแม่พันธุ์คืนสู่บ่อเลี้ยงเดิมได้
กรณีดังกล่าวนี้ค่อนข้างยุ่งยาก ทางที่ดีควรแยกเลี้ยงพ่อและแม่พันธุ์กบ เมื่อ
ต้องการจะเพาะก็คัดพ่อพันธุ์กบที่มีน้ำเชื้อดีและแม่พันธุ์ที่มีไข่แก่ลงบ่อเพาะที่เตรียมไว้ดัง
ได้กล่าวแล้วข้างต้น กบจะผสมพันธุ์วางไข่ในคืนแรกหรือคืนที่ 2 ถ้ากบไม่วางไข่จะต้อง
เปลี่ยนน้ำใหม่อีกครั้ง กบอาจผสมพันธุ์วางไข่ได้
แต่ถ้ากบยังไม่วางไข่ก็ต้องเปลี่ยนพ่อและ แม่พันธุ์ใหม่
»
สภาวะแวดล้อมกับการผสมพันธุ์กบ
»
การเตรียมสถานที่เลี้ยงกบ
» การผสมพันธุ์กบ
»
การอนุบาลลูกกบ
»
อาหารและการให้อาหาร
»
การจับและการตลาด
»
การแยกเพศกบ
»
พันธุ์กบ
»
วิธีเลี้ยงกบ
»
การฟักไข่
»
การเลี้ยงกบเพื่อส่งตลาด
»
โรคและวิธีป้องกันรักษา