เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ข้อมูลการเกษตร

ประมง

การเลี้ยงกบ

ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ
สำนักงานส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

โรคและวิธีป้องกันรักษา

การที่กบที่เลี้ยงไว้เป็นโรคต่าง ๆ นั้น สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความสกปรกของบ่อ การจัดการและดูแลไม่ทั่วถึง ทำให้กบมีสภาพอ่อนแอ หรือในกรณีที่กบไม่มีบาดแผล อาจเกิดจากอาหารสกปรกก็ได้ เมื่อผ่าอวัยวะภายในพบว่าถุงน้ำดีมีสีเขียวเข้มถึงน้ำเงินแก่ ไตมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ลำไส้เล็กส่วนท้ายเกิดการตกเลือด ปอดมีตุ่มหนอง วิธีการบำบัดให้ใช้ยาออกซิเตทตราไชคลีน 3 กรัมต่ออาหารกบ 1 กิโลกรัม ให้กบกินทุกมื้อประมาณ 3-7 วัน กบก็จะหายเป็นปกติ น้ำที่ใช้เลี้ยงกบควรอยู่ไนช่วงสภาพความเป็นกรดด่าง (พีเอช) ประมาณ 6.5-8.5 ในวันที่ฝนตกหนักหรืออุณหภูมิเปลี่ยนอย่างรวดเร็วร่างกายของกบจะ ปรับตัวไม่ทัน อาจตายได้ในวันรุ่งขี้นอย่างน้อย 1 ตัวเสมอ ในช่วงฝนตกจึงควรสร้างหลังคา หรือใช้ผ้าใบคลุมบ่อ หรือปรับอุณหภูมิในบ่อเลี้ยงให้คงที่

เมื่อกบเล็กอายุ 1 เดือน ควรมีการถ่ายพยาธิโดยใส่ดีเกลือ 3 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้เพียง 1 มื้อ ทำเดือนละครั้งจะทำให้กบเจริญเติบโตรวดเร็วต้านทานโรคได้ดีขึ้น สิ่งสำคัญในการป้องกันไม่ให้กบเกิดโรคคือ

1. รักษาความสะอาดของบ่อเลี้ยง
2. อย่าเลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป
3. เปลี่ยนน้ำในบ่อบ่อย ๆ หรืออย่างน้อยทุกวัน
4. อาหารที่ให้ควรมีโปรตีนสูงและเป็นอาหารที่กบชอบ
5. มีการจัดการที่เหมาะสม

บรรณานุกรม

  • หลวงสมานวนกิจ. 2503. การเลี้ยงกบนา. วารสารการประมง 13(4) : 325-329
  • เมม บุญพราหมณ์, วิทย์ ธารชลานุกิจ และประวิทย์ สุรนีวนาถ. 2520 การเลี้ยงกบ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 61 หน้า
  • กรมประมง. 2525. การเลี้ยงกบ. เอกสารคำแนะนำงานเผยแพร่และส่งเสริม 12 หน้า
  • ธนาภรณ์ จิตตปาลพงศ์ แล ะประเสริฐ สิตะสิทธิ์. 2531. การใช้อาหารปลา สูตร สปช. เลี้ยงกบ วารสารการประมง 41(6) : 589-592

» สภาวะแวดล้อมกับการผสมพันธุ์กบ
» การเตรียมสถานที่เลี้ยงกบ
» การผสมพันธุ์กบ
» การอนุบาลลูกกบ
» อาหารและการให้อาหาร
» การจับและการตลาด
» การแยกเพศกบ
» พันธุ์กบ
» วิธีเลี้ยงกบ
» การฟักไข่
» การเลี้ยงกบเพื่อส่งตลาด
» โรคและวิธีป้องกันรักษา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย