เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
การปลูกมันสำปะหลัง
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
โรคใบไหม้
ลักษณะอาการ ใบเริ่มเป็นจุดเหลี่ยมฉ่ำน้ำจนถึงอาการไหม้บางส่วนหรืออาจไหม้ทั้งกิ่ง
ถ้ารุนแรงจะมียางไหล ลำต้นแห้งตาย มักพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝน
การป้องกันกำจัด
- ใช้พันธุ์ระยอง 60 หรือระยอง 90 ซึ่งต้านทานโรคดีกว่าพันธุ์ระยอง 1
- ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากต้นที่เป็นโรค
ไรแดง
ลักษณะอาการ จะพบตัวไรแดง มีใยสีขาวบาง ๆปกคลุมอยู่ใต้ใบ
ถ้าระบาดรุนแรงใบส่วนยอดจะงองุ้มและใบส่วนล่างจะร่วงหมด
การป้องกันกำจัด
- หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังกระทบสภาพความแห้งแล้งในขณะที่ต้นมันสำปะหลังยังเล็กอยู่
- เก็บส่วนของพืชที่มีไรแดงอยู่ไปเผาทำลายทิ้ง
- ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ ฟอร์เททธาเนต(formetanate) และไดโคฟอล(dicofol) ฉีดพ่นตามคำแนะนำในฉลาก
เพลี้ยแป้ง
ลักษณะอาการ ต้นแคระแกรน ช่วงข้อสั้น ใบร่วง ยอดแห้ง
มักพบการระบาดในต้นมันสำปะหลังที่โตแล้ว ซึ่งไม่กระทบกระเทือนต่อผลผลิต
แต่จะทำความเสียหายให้กับท่อนพันธุ์ได้
การป้องกันกำจัด
- หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังกระทบสภาพความแห้งแล้งในขณะที่ต้นมันสำปะหลังยังเล็กอยู่
- เก็บส่วนของพืชที่มีเพลี้ยแป้งอยู่ไปเผาทำลายทิ้ง
- ถ้ามีการระบาดรุนแรง ให้ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ โอเมทโธเอท (ometholate) โมโนโครโตฟอส(monocrotophos) หรือมาลาไธออน (malathion) ฉีดพ่นตามคำแนะนำในฉลาก
แมลงหวี่ขาว
ลักษณะอาการ การเข้าทำลายของแมลงหวี่ขาวมักพบราดำเข้าทำลายร่วมด้วย
หากพบการระบาดมากๆ ใบจะม้วนเหี่ยวเป็นสีดำและหลุดร่วงในที่สุด
การป้องกันกำจัด
- หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังกระทบสภาพความแห้งแล้งในขณะที่ต้นมันสำปะหลังยังเล็กอยู่
- เก็บส่วนของพืชที่มีแมลงหวี่ขาวอยู่ไปเผาทำลายทิ้ง
- ถ้ามีการระบาดรุนแรง ให้ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ เมทธามิโดฟอส (methamidophos) ฉีดพ่นตามคำแนะนำในฉลาก
»
ชนิดของมันสำปะหลัง
»
ฤดูปลูก
»
การเตรียมดิน
»
การเตรียมท่อนพันธุ์
»
วิธีการปลูก
»
การดูแลรักษา
» โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
»
วิธีการเก็บเกี่ยว
»
ความเป็นพิษของมันสำปะหลัง