สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสทำสัญญาให้ญี่ปุ่นยึดอินโดจีนเป็นฐานทัพ

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2484 วันเดียวกับที่รัฐบาลฝรั่งเศสที่เมืองวิซี่ได้ทำสัญญา ตกลงยินยอมให้ญี่ปุ่นใช้ เมืองฮานอย และเมืองไฮฟอง เป็นฐานทัพ ญี่ปุ่นได้ส่งทหารขึ้นบก ในอินโดจีนถึง 35,000 คน เป็นการเปลี่ยนสภาพอาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีนโดยสิ้นเชิง ทำให้การทำสัญญาไม่รุกรานกับไทยไร้ความหมาย เกิดปัญหาความเป็นความตาย สำหรับประเทศไทย

รัฐบาลไทยประท้วงขอดินแดนคืน

ประเทศไทยได้ประท้วงไปยังประเทศฝรั่งเศสอย่างรุนแรงว่า การกระทำของฝรั่งเศสนั้น เป็นอันตรายแก่ประเทศไทย ฉะนั้นเมื่อฝรั่งเศสจะรักษาอธิปไตยในอินโดจีนไว้ ประเทศไทยก็จำต้องเรียกร้องเอาดินแดนคืน เพื่อประโยชน์ในการป้องกันประเทศ และเพื่อมิให้ประชาชนชาวไทย ที่อยู่ในปกครองของฝรั่งเศส ต้องตกเป็นอยู่ในปกครองของประเทศที่ 3 ต่อไปอีก

ฝรั่งเศสปฏิเสธ สู้ตาย ให้ญี่ปุ่นดีกว่าคืนให้ไทย

รัฐบาลได้ส่งคณะทูตไปเจรจากับรัฐบาลฝรั่งเศสที่กรุงฮานอย การเจรจาเป็นไปอย่างเผ็ดร้อน ฝรั่งเศสกล่าวหาว่าไทยใช้มีดแทงด้านหลัง ในขณะที่ฝรั่งเศสปราชัย ฝ่ายฝรั่งเศสใช้ถ้อยคำรุนแรง โดยกล่าวว่ายกดินแดนไทยให้ญี่ปุ่นดีกว่าที่จะคืนให้แก่ประเทศไทย

หนังสือพิมพ์ของทั้งสองฝ่ายต่างโจมตีกันอย่างหนัก ฝ่ายฝรั่งเศสได้ระดมทหาร เข้ารักษาพื้นที่ตามชายแดน และได้ยิงปืนข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทย พร้อมทั้งส่งเครื่องบินข้ามแดนเข้ามา เป็นทำนองท้าทายอยู่ตลอดเวลา สถานการณ์ตึงเครียดขึ้นตามลำดับ รัฐบาลจึงเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับฝรั่งเศส เพื่อแก้ปัญหาเรื่องดินแดนให้เด็ดขาด

การเสียดินแดนเมื่อ ร.ศ. 112
ฝรั่งเศสเสนอทำกติกาสัญญาไม่รุกรานกับประเทศไทย
ฝรั่งเศสทำสัญญาให้ญี่ปุ่นยึดอินโดจีนเป็นฐานทัพ
การเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืน
กองทัพไทยเคลื่อนกำลังเข้ายึดดินแดน
การรับมอบดินแดนคืน
การปักปันดินแดน
สร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
การรบที่เกาะช้าง
การต่อสู้ระหว่าง ร.ล.ธนบุรี กับเรือข้าศึก 4 ลำ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย