สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสเสนอทำกติกาสัญญาไม่รุกรานกับประเทศไทย

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นในปี พ.ศ. 2482 ฝรั่งเศสมีความห่วงใย อาณานิคมของตน ในอินโดจีนเป็นอันมาก จึงได้เสนอขอทำสัญญาไม่รุกรานกันกับประเทศไทย เพื่อป้องกันไม่ให้ไทยถือโอกาสยึดดินแดนคืน

คณะรัฐมนตรีของไทยในครั้งนั้น ซึ่งมีนายพันเอกหลวงพิบูลย์สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งที่ได้เคยไปศึกษาที่ฝรั่งเศส ต่างก็เห็นอกเห็นใจฝรั่งเศสที่ถูกรุกรานอยู่ จึงได้ตอบสนองการทำสัญญานั้นด้วยดี แต่ได้เสนอให้ฝรั่งเศสปรับปรุงดินแดนฝั่งลำน้ำโขง ที่ล้ำเข้ามาในประเทศไทยเสียใหม่ ให้เป็นการถูกต้อง ได้มีการต่อรองประวิงเวลากันมาหลายเดือน ในที่สุดก็ได้ทำสัญญาไม่รุกรานกันเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2484 อันเป็นห้วงเวลาที่กรุงปารีส ใกล้จะเสียแก่ฝ่ายเยอรมัน ดังนั้น การที่ฝ่ายฝรั่งเศสประนามว่าไทยใช้มีดทะลวงหลัง เมื่อตนเพลี่ยงพล้ำนั้นจึงไม่เป็นความจริง

สนธิสัญญาดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับ เนื่องจากยังไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันซึ่งกันและกัน ต่อมาฝรั่งเศษได้ขอให้สนธิสัญญามีผู้ใช้บังคับ โดยไม่ต้องมีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันเพื่อที่จะรักษาผลประโยชน์ ของตนในอาณานิคมอินโดจีน เนื่องจากการสงครามในทวีปยุโรป ฝรั่งเศษกำลังพ่ายแพ้เยอรมัน และในทวีปอาเซียน ดินแดนส่วนใหญ่ กำลังถูกคุกคามจากญี่ปุ่น รัฐบาลไทยได้ตอบฝรั่งเศษไปว่ายินดีตกลงปฏิบัติตามสนธิสัญญา ถ้าฝรั่งเศษยอมรับข้อเสนอของไทย 3 ประการ คือ

  1. ขอให้มีการวางแนวเส้นเขตแดนตามลำน้ำโขงให้เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่งประเทศ โดยให้ถือร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดน
  2. ขอให้ปรับปรุงเส้นเขตแดนให้เป็นไปตามธรรมชาติ คือถือแม่น้ำโขงเป็นเส้นเขตแดนระหว่าง ไทยกับอินโดจีนตั้งแต่ทิศเหนือจรดทิศใต้ จนถึงเขตกัมพูชา โดยให้ฝ่ายไทยได้รับดินแดนทางฝั่งแม่น้ำโขงตรงข้ามกับหลวงพระบาง และตรงข้ามกับปากเซคืนมา
  3. ขอให้ฝรั่งเศษรับรองว่าถ้าไม่ได้ปกครองอินโดจีนแล้ว ฝรั่งเศษจะคืนลาวและกัมพูชาให้กับไทย
    ฝรั่งเศษปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว

การเสียดินแดนเมื่อ ร.ศ. 112
ฝรั่งเศสเสนอทำกติกาสัญญาไม่รุกรานกับประเทศไทย
ฝรั่งเศสทำสัญญาให้ญี่ปุ่นยึดอินโดจีนเป็นฐานทัพ
การเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืน
กองทัพไทยเคลื่อนกำลังเข้ายึดดินแดน
การรับมอบดินแดนคืน
การปักปันดินแดน
สร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
การรบที่เกาะช้าง
การต่อสู้ระหว่าง ร.ล.ธนบุรี กับเรือข้าศึก 4 ลำ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย