สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สามก๊ก
คุณค่าด้านสังคม
สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการทำสงครามของคนจีน ดังนี้
- การทำสงครามนั้นมิใช่ใช้กำลังทหารเพียงอย่างเดียว การทำสงคราม
นอกจากการใช้กำลังทหารยังต้องอาศัยสติปัญญาและเล่ห์เหลี่ยมกลอุบายเป็นสำคัญ
จึงจะสามารถเอาชนะข้าศึกศัตรูได้ ดังเช่น
ตอนที่เทียหยกวางกลอุบายล่อล่วงให้กวนอูออกจากเมืองแห้ฝือ
เพื่อให้ทหารโจโฉเข้ายึดเมืองแห้ฝือ และก็ทำได้สำเร็จ
- บุคลิกภาพของผู้นำ ผู้นำที่จะยิ่งใหญ่และประสบความสำเร็จ
นอกจากการจะต้องมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เชี่ยวชาญในการรบแล้ว
ควรมีความพยายามและความอดทนในการทำการที่มุ่งหวัง ดังเช่น
ตอนที่โจโฉใช้ความเพียรพยายามอดทนและใช้จิตวิทยาเป็นอย่างมากในการผูกมัดใจกวนอูให้เกิดความจงรักภักดีต่อตนเอง
ซึ่งโจโฉก็ทำได้สำเร็จขั้นหนึ่ง
แม้กวนอูจะยังคงซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อเล่าปี่ไม่มีคลาย
แต่ก็รู้สึกสำนึกในบุญคุณของโจโฉและพร้อมที่จะตอบแทนคุณภายในภาคหน้า
- ความสำคัญของนักการทูต
นักการทูตมีความสำคัญในการช่วยราชการบ้านเมืองแม้กระทั้งในยามศึกสงคราม
ผู้ที่จะทำหน้าที่ทางการทูตต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีโวหารเป็นเลิศ
ดังเช่น
เตียวเลี้ยวที่สามารถพูดโน้มน้าวใจให้กวนอูยอมรับราชกรากับโจโฉได้เป็นผลสำเร็จ
- พลังของความสามัคคีช่วยให้บ้านเมืองอยู่รอดปลอดภัยจากข้าศึกศัตรู ในการทำสงครามถ้ามีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันย่อมเกิดพลังในการต่อสู้ข้าศึก แต่การขาดความสามัคคีแล้วย่อมเสียที่ให้กับข้าศึกได้ง่าย เช่น การที่อ้วนเสี้ยวไม่ส่งทหารไปช่วยเล่าปี่ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เล่าปี่ปราชัย หรือการที่บิต๊ก บิฮอง กันหยง ทิ้งเมืองเพราะคิดว่าจะสู้โจโฉไม่ได้ และตันเต๋งกลับเปิดประตูรับโจโฉเป็นเหตุให้โจโฉยึดเมืองชีจิ๋วได้ง่าย
สะท้อนค่านิยมในการประพฤติปฏิบัติของคนในสังคม ดังนี้
- ค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ จากเรื่องสามก๊ก ตอน
กวนอูไปรับราชการกับโจโฉสะท้อนให้เห็นค่านิยมความซื่อสัตย์ได้เด่นชัดที่สุด
กวนอูถือเป็นตัวละครสำคัญที่สะท้อนให้เห็นค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์
บทบาทและพฤติกรรมของกวนอู
ไม่ว่าจะแสดงออกต่อภรรยาของเล่าปี่หรือต่อโจโฉก็ล้วนแต่สนับสนุนค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ทั้งสิ้น
- ค่านิยมความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เช่น
การที่โจโฉส่งทหารไปล่อให้กวนอูไล่ตามออกมานอกเมืองและล้อมจับกวนอูไว้
เตียวเลี้ยวทหารฝ่ายโจโฉซึ่งกวนอูเคยช่วยชีวิตไว้เป็นผู้เข้าไปเกลี้ยกล่อมกวนอูให้ไปอยู่กับโจโฉ
กวนอูยอมจำนนแต่ขอเงื่อนไขเป็นสัญญาคือ ขอให้ได้เป็นข้าของพระเจ้าเหี้ยนเต้
- ค่านิยมความกตัญญูรู้คุณ เช่น ตอนที่เตียวเลี้ยวกล่าวถึงลักษณะนิสัยของกวนอู
สะท้อนเรื่องความเชื่อของคนในสังคม ดังนี้
- ความเชื่อในโชคลาง เช่น
แม้โจโฉจะเป็นแม่ทัพที่มีความสามารถในการรบเมื่อยกทัพมาเกิดลมพายุพัดธงชัยหัก
ก็ต้องพึ่งคำทำนายทายทัก
จะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญของการรบแบบโบราณที่ต้องถือฤกษ์ยามและโชคลาง
- ความเชื่อในเรื่องความฝัน เช่น
เมื่อนางบิฮูหยินและกำฮูหยินเล่าความฝันของนางที่เกี่ยวกับเล่าปี่ให้กวนอูฟัง
กวนอูก็วิตก
- ความเชื่อเรื่องบุญกรรมที่ตนได้กระทำไว้ สามก๊ก ตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ แสดงให้เห็นความเชื่อเรื่องบุญกรรมที่ได้ทำมา
สะท้อนเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของสังคมจีน ดังนี้
- การจัดเลี้ยง การจัดเลี้ยงเป็นเอกลักษณ์ของคนจีน
ในสังคมจีนไม่ว่าจะในโอกาสแสดงความยินดี ต้อนรับ
หรือขอบคุณมักจะจัดอาหารเลี้ยงกันเป็นประจำจนกลายเป็นประเพณีไปโดยปริยาย
- การให้ของกำนัล การให้ของกำนัลเป็นสิ่งที่ชาวจีนทำกันในเกือบทุกโอกาสจากเรื่องจะเห็นได้ว่า โจโฉให้เครื่องเงิน เครื่องทอง เสื้อผ้าดี ๆ และให้ผ้าแพรขาวอย่างดีแก่กวนอูเพื่อทำถุงใส่หนวด การให้ของกำนัลเช่นนี้เป็นกลวิธีหนึ่งที่ชาวจีนนิยมกระทำเพื่อเป็นเครื่องผูกใจ
ความเป็นมา
ประวัติผู้แต่ง
ตัวละคร
เรื่องย่อ
คุณค่าด้านสังคม
คุณค่าของกวีนิพนธ์
อิทธิพลที่มีต่อวรรณกรรมอื่น
สำนวนโวหารบางตอน