สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สถานภาพและบทบาทของสตรีอินเดียในสมัยก่อนพุทธกาล
สิทธิ หน้าที่ของสตรีอินเดีย
เรื่องสิทธิเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเกาฏิลียะได้แสดงความใจกว้างต่อผู้หญิงโดยได้กำหนดสิทธิในด้านต่างๆที่ผู้หญิงพึงได้รับแต่ก็มิใช่ว่าผู้หญิงจะมีอิสระเต็มที่
โดยเฉพาะในเรื่องเสรีภาพทางเพศที่ผู้หญิงบางคนบางพวกในปัจจุบันเรียกร้อง
เพราะเกาฏิลียะไม่ได้ให้ความสำคัญแก่เรื่องเพศในแง่ที่เป็นความสนุกสนานทางกาย
แต่สำคัญในแง่ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันครอบครัว ซึ่งเมื่อพิจารณาจากกฎต่าง ๆ
ที่เกาฏิลียะกำหนดแล้ว จะเห็นการส่งเสริมครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียวอย่างชัดเจน
สิทธิในพรหมจรรย์เป็นสิทธิพื้นฐานของเรื่องนี้
สิทธิในพรหมจรรย์
ถ้าผู้หญิงไม่ให้ความสำคัญแก่พรหมจรรย์เพศก็ไม่ใช่เรื่องพิเศษที่กฎหมายจะต้องถือปฏิบัติให้แตกต่างไปจากอวัยวะอื่น
กฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดทางเพศก็ไม่มีเหตุผลจะต้องกำหนดเป็นพิเศษกว่าการทำร้ายร่างกายอย่างอื่นการที่ผู้หญิงซึ่งต้องการให้สังคมยอมรับการมีเพศสัมพันธ์แบบเสรีแต่ต้องการให้ลงโทษผู้ข่มขืนกระทำชำเราด้วยอัตราโทษสูงจึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล
เกาฏิลียะให้ความสำคัญแก่พรหมจรรย์ของผู้หญิง
ดังนั้นจึงมีข้อจำกัดเสรีภาพทางเพศสัมพันธ์ของผู้หญิงไว้ด้วย เกาฏิลียะกำหนดว่า
ผู้ใดทำลายพรหมจรรย์ของหญิงวรรณะเดียวกัน หญิงนั้นยังไม่โตเป็นผู้ใหญ่
โทษตัดมือหรือปรับ 400 ปณะ หากหญิงนั้นถึงตายผู้กระทำผิดต้องโทษประหาร
ผู้ใดทำลายพรหมจรรย์หญิงที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว โทษตัดนิ้วกลาง หรือปรับ 200 ปณะ
และยังต้องจ่ายค่าเสียหายแก่บิดาหญิงนั้นด้วย
ชายจักยุ่งเกี่ยวทางเพศกับหญิงโดยเธอไม่เต็มใจมิได้
ชายผู้ใดทำลายพรหมจรรย์หญิงโดยหญิงนั้นเต็มใจ ชายเสียค่าปรับ 54 ปณะ
หญิงเสียค่าปรับกึ่งหนึ่ง ชายใดสวมรอยชายอื่นผู้จ่ายค่าสินสอดทองหมั้นแก่หญิงแล้ว
โทษตัดมือหรือปรับ 400 ปณะ พร้อมทั้งชดใช้ค่าสินสอดทองหมั้นนั้น ด้วย
เราจะเห็นได้ว่าการทำลายพรหมจรรย์หญิงไม่ว่าหญิงนั้นจะเต็มใจหรือไม่ก็ตามถือเป็นความผิด
หากไม่เต็มใจโทษรุนแรงถึงขั้นที่ชายจะต้องกลายเป็นคนพิการ และถูกประจานไปตลอดชีวิต
หรือหากหญิงถึงแก่ชีวิต โทษก็หนักถึงขั้นประหารชีวิต กล่าวคือ
โทษฆ่าผู้หญิงเท่ากับโทษฆ่าพราหมณ์
การลงโทษในเรื่องนี้มิได้ลงโทษแก่ชายเท่านั้นหากยังลงโทษแก่หญิงด้วยเพื่อให้หญิงรักษาพรหมจรรย์ของตนการลงโทษนี้รวมไปถึงผู้จัดการให้หญิงเสียพรหมจรรย์
และผู้กล่าว หาเท็จในเรื่องดังกล่าวด้วย
ยิ่งถ้าเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นนอกหมู่บ้านซึ่งแสดงให้เห็นเจตนาชัดเจนที่จะทำเรื่องดังกล่าวให้สำเร็จโดยไม่มีผู้รู้เห็น
หรือโดยการฉุดคร่าซึ่งเป็นการบังคับด้วยกำลัง
และเป็นการกระทำที่อุกอาจด้วยแล้วโทษจะเพิ่มขึ้นดังนี้
เมื่อหญิงใดโดยการจัดการของหญิงอื่นยินยอมมอบกายแก่ชายวรรณะ
และชั้นเดียวกัน จะถูกปรับ 12 ปณะ ส่วนหญิงที่เป็นผู้ช่วยจัดการถูกปรับเป็นสองเท่า
หญิงใดช่วยให้ชายมีเพศสัมพันธ์กับหญิง โดยเธอไม่เต็มใจจะต้องเสียค่าปรับ
100 ปณะ พร้อมทั้งให้ค่าเสียหายแก่เธอจนพอใจ
หญิงใดโดยความยินยอมของตนเองมอบกายให้แก่ชาย จักต้องไปเป็นทาสของพระราชา
การร่วมประเวณีกับหญิงนั้นนอกหมู่บ้าน หรือการกล่าวหาเท็จในเรื่องดังกล่าว
มีโทษปรับเพิ่มเป็นสองเท่าของโทษปกติ ผู้ใดฉุดคร่าเอาหญิงไปด้วยกำลังมีโทษปรับ 200
ปณะ หากหญิงนั้นมีเครื่องทองประดับตัวไปด้วยปรับโทษสูงสุด
หากกลุ่มคนลักพาหญิงไปแต่ละคนรับโทษตามกล่าวข้างต้น
การที่เราจะเข้าใจสถานภาพของสตรี ในทัศนะของพระพุทธศาสนาได้กระจ่างนั้น
ก็ต้องกลับไปดูสภาพสังคมอินเดียสมัยก่อนและหลังพุทธกาล
คือสถานภาพของสตรีในสังคมพราหมณ์และฮินดูกันสักเล็กน้อย
ยุคพระเวท เราไม่ทราบอะไรมากนัก
เพราะคัมภีร์พระเวทว่าด้วยการประกอบพิธีกรรมทั้งหมด
ผู้ประกอบพิธีกรรมก็คือพราหมณ์ผู้เชื่อว่าสตรีอินเดียยุคพระเวท
ก็คงถูกกีดกันเรื่องการศึกษาและการประกอบพิธีกรรมเช่นในปัจจุบัน
นอกจากนี้ศาสนาพราหมณ์ช่วงนี้ไม่มีแนวความคิดเรื่องการออกบวชบำเพ็ญเนกขัมมบารมีเลย
สตรีก็คงไม่มีโอกาสได้บวชด้วย
ยุคอุปนิษัท ยุคนี้ศาสนาพราหมณ์เริ่มเรียนอะไร ๆ
จากพระพุทธศาสนามากแม้กระทั่งเรื่องการออกบวชก็เริ่มปรากฏตัวละครในคัมภีร์อุปนิษัทบางเรื่อง
พฤหทารัณยกอุปนิษัท เล่าเรื่องการโต้วาที เรื่องพรหมัน
หน้าพระที่นั่งของกษัตริย์ชนกระหว่างท่านยัชญวัลยกะและนักบวชหญิงชื่อคารคี เป็นต้น
จากจุดนี้ เราก็ควรทราบต่อไปว่า อายุของอุปนิษัทนั้น
มิได้เก่าแก่เกินสมัยพุทธกาล อย่างที่นักปรัชญาฮินดูเข้าใจกัน
อุปนิษัทนี้จัดเป็นวรรณกรรมทางปรัชญา
คงได้รับอิทธิพลนี้จากคำสอนของพระพุทธศาสนาหรือแนวคิดเรื่องการออกบวชไปจากพุทธและเชนแน่นอน
มิเช่นนั้นฐานะของสตรีคงไม่สูงส่งขนาดนี้
ยุคคัมภีร์ธรรมศาสตร์ ตามที่ทราบมาวรรณกรรมชุดนี้มีหลายฉบับเรียกรวมๆกันว่า
ธรรมศาสตร์ ในจำนวนนี้
คัมภีร์มนูธรรมศาสตร์หรือมนูสังหิตาซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังและยอมรับว่าได้บรรจุคำสอนพื้นฐานของศาสนาฮินดูไว้ค่อนข้างสมบูรณ์อายุของมนูธรรมศาสตร์
คงหลังพุทธกาลอย่างน้อย ๆ ก็สองร้อยถึงสี่ร้อยปี
ในคัมภีร์นี้เองได้มีการกล่าวถึงสตรีในลักษณะไม่เท่าเทียมกันกับเพศชายไว้มากมายเหลือเกิน
เช่น
- สตรีไม่มีสิทธิในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
สตรีไม่ควรประกอบพิธีกรรมประจำวันตามที่พระเวทระบุไว้ ถ้าหล่อนประกอบ หล่อนจะต้องตกนรก - ธรรมชาติของผู้หญิงไม่น่าไว้ใจล่อลวงชายทุกประเภท
มันเป็นธรรมชาติของผู้หญิง ที่ล่อลวงชายในโลกนี้ เพราะเหตุนั้นแม้บัณฑิตก็ไม่ปลอดภัย เมื่อคบกับผู้หญิง - สตรีไม่อาจดูแลตัวเองได้ ต้องมีเพศชายคุ้มครองตลอดเวลา
บิดาคุ้มครองหล่อนเมื่อเยาว์วัย สามีปกครองหล่อน (เมื่อเวลาแต่งงาน) ยังสาวอยู่ เมื่อสามีตาย ลูกชายจะดูแลแทนตอนหล่อนแก่เฒ่า สตรีไม่อาจอยู่ตามลำพังได้
ด้วยอิทธิพลของคำสอนนี้ จึงเกิดมีประเพณีสตรีขึ้นในอินเดีย และหญิงม่ายแม้ยังสาวบางเผ่ายังคงปฏิบัติอยู่ กล่าวคือ เมื่อสามีตายก็จะถูกเกลี้ยกล่อมให้โดดเข้ากองไฟตายตามสามีไป โดยเชื่อว่าจะได้บุญกุศลมากคือได้ไปเกิดในสวรรค์
- ผู้หญิงไม่มีสิทธิในมรดกหรือมีสมบัติเป็นของตนเอง
ภรรยา ลูกชาย และทาส ทั้งสามประเภทนี้ ไม่มีสมบัติเป็นของตนเอง ทรัพย์สมบัติที่พวกเขาหามาได้ ย่อมตกเป็นของผู้ชายที่เขาอาศัยอยู่ - ผู้ชายมีสิทธิจะเฆี่ยนตีผู้หญิงหรือแม้แต่สังหารเสีย
ก็มีความผิดเพียงเล็กน้อย
การดื่มเหล้า, การสังหารสตรี ศูทร แพทย์ กษัตริย์ และคนนอกศาสนาเป็นบาปเพียงเล็กน้อย
เหล่านี้คือประกาศิตของท่านมนูปรากฏอยู่ในคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ที่กำหนดสถานภาพของสตรีไว้ต่ำที่สุดเพราะเหตุนี้สตรีชาวอินเดียจึงทุกข์ยากมาก
นอกจากประเพณีสตรีดังกล่าวแล้ว
พวกหล่อนยังต้องเป็นฝ่ายไปขอผู้ชายแต่งงานด้วยการจ่ายค่าสินสอดแพงมาก
บางรายผู้ชายเรียกสินสอดเป็นรถเก๋ง มอเตอร์ไซด์
เป็นต้นสะใภ้บางรายทำสัญญาขอผ่อนส่งสินสอด เมื่อมีเหตุจำเป็นจ่ายไม่ทันกำหนด
ต้องถูกแม่ผัวและญาติพี่น้องผัวทุบตีทรมานอย่างแสนสาหัสในปีหนึ่ง ๆ นับเป็นพัน
เป็นหมื่นราย บางรายถึงกับเอาน้ำมันก๊าดราดส่าหรี แล้วเผาตายทั้งเป็นก็มาก
แม้จะถูกทรมานอย่างนี้ หล่อนก็จำยอม เพราะมนูบอกว่าสตรีแต่งงานแล้วขอหย่าไม่ได้เลย
ไม่ว่าจะด้วยการขายหรือการบอกศาลาเลิกกัน ภรรยาก็ไม่อาจหย่าขาดจากสามีได้
สถานภาพและบทบาทของสตรีอินเดีย
สิทธิ
หน้าที่ของสตรีอินเดีย
กฎเกณฑ์ทางสังคมที่มีผลกระทบต่อสตรีอินเดีย
การยอมรับศักยภาพของสตรีอินเดีย
เสรีภาพและความเสมอภาคของสตรีในสังคมอินเดีย
การคุ้มครองสตรีในสังคมอินเดีย