วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
กลุ่มดาวนายพราน
ท้องฟ้าหน้าหนาวในเขตซีกโลกภาคเหนือ เราจะเห็น กลุ่มดาวนายพราน หรือ โอไรอัน ได้ถนัดตาที่สุด กลุ่มดาวนี้จึงมีประวัติความเป็นมาผูกพันกับมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มีตำนานเล่าขานกันมาหลายยุคหลายสมัย หลายเรื่องราว
กลุ่มดาวนายพราน ภาพโดย Till Credner แห่ง Max-Planck-Institute for Aeronomy
(MPAe)
จะหากลุ่มดาวนายพรานได้ไม่ยาก
โดยสังเกตจากดาวสามดวงซึ่งเรียงกันเป็นเส้นตรง ที่เรียกว่า เข็มขัดนายพราน
อันประกอบด้วย (จากซ้ายไปขวาในภาพ) Alnitak, Alnilam และ Mintaka ที่ชี้ไปยัง
ซีเรียส (Sirius) ในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ (Canis Major)
ซึ่งเป็นดาวที่มีความสุกสว่างมากที่สุดบนท้องฟ้า ดาวกลุ่มนี้ ยังมี Betelgeuse
ที่หัวไหล่ข้างขวา Bellatrix ที่หัวไหล่ซ้าย เท้าซ้ายก็คือดาว Rigel
และเท้าขวาคือดาว Saiph
ภาพกลุ่มดาวนายพราน โดย Naoyuki Kurita ดาบนายพรานคือดวงดาวที่เรียงตัวในแนวดิ่ง
ใต้ดาวสามดวงในแนวเกือบจะเป็นแนวนอน ซึ่งคือ "เข็มขัดนายพราน"
เนบิวล่านายพราน (Orion Nebula)
คือส่วนที่เห็นเป็นปื้นดาวสีออกแดงๆที่ปลาย "มีดนายพราน" นั้นเอง
ผังแสดงชื่อดาวในกลุ่มดาวนายพราน ภาพจาก ScienceNet
กลุ่มดาวนี้ประกอบด้วยดาวหลายดวงที่อยู่ใน กลุ่มดาวมีความสว่างมากที่สุดในท้องฟ้า
และในราววันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี ก็จะมี ฝนดาวตก
ที่ตกจากจุดใกล้ๆดาวกลุ่มนี้ กลุ่มดาวนายพราน ประกอบด้วยดาวจำนวนมากมาย
แต่ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด ก็มี Betelgeuse (อ่านว่า บีเติ้ลจุ๊ยส)
อยู่ที่ไหล่ขวาของนายพราน ชื่อมาจากภาษาอาหรับโบราณอันแปลว่า รักแร้ บางแห่งก็ว่า
เพี้ยนมาจาก Yad Al Jauza คือ มือของ Al Jauza ที่หมายถึง ผู้เป็นศูนย์รวม
(คือพระผู้เป็นใหญ่เป็นศูนย์รวมแห่งจักรวาล - ชาวอาหรับโบราณเชื่อว่า Al Jauza
เป็นเพศหญิง) ในภาษาอาหรับโบราณ แต่ความหมายที่ว่า รักแร้ของนายพราน
ดูจะเป็นที่ยอมรับมากกว่า
Betelgeuse เป็นดาวยักษ์แดงใหญ่ (Red Supergiant)
ที่มีความสุกสว่างเปลี่ยนแปลงได้จาก 0.4-1.3 mag (mag คือหน่วยวัดความสว่าง
brightness ของดาว) มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเรา 300 ถึง 400 เท่า
เป็นดาวที่มีความสุกสว่างเป็นที่ 12 แม้จะมีชื่อทางดาราศาสตร์ว่า Alpha Orionis
หรือ ดาว A ในกลุ่มดาว ORION ซึ่งปกติแล้ว จะเป็นตำแหน่งที่สงวนไว้
สำหรับดาวที่มีความสว่างมากที่สุดในกลุ่มนั้น แต่เป็นเพราะในตอนแรก Betelgeuse
ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นดาวปกติ แต่มาภายหลังจึงทราบว่า
เป็นดาวที่มีการแปรเปลี่ยนของความสว่าง (variable star)
แต่ชื่อตั้งไปแล้วก็เปลี่ยนไม่ได้
Rigel (รีเกล) เป็นดาวที่เรียกทางดาราศาสตร์ว่า Beta Orionis
ทั้งๆที่มีความสว่างมากกว่า Betelgeuse คือมีความสว่างอันดับที่ 7
ของดาวที่เราเห็นในท้องฟ้า ชื่อนี้มาจากภาษาอาหรับโบราณว่า Rijl Al-Jauza แปลว่า
เท้าของพระเจ้า และกลุ่มดาวสามดวงในส่วนที่เป็นเข็มขัดนายพราน คือ Alnitak, Alnilam
และ Mintaka อันมีความหมายในภาษาอาหรับรวมกันว่าเป็นสายเข็มขัดไข่มุกของ Al-Jauza
และ Alnitak แปลว่า เอว Alnilam แปลว่าสายไข่มุก Mintaka แปลว่าเข็มขัดพระเจ้า
Al-Jauza
กลุ่มดาวนายพรานเป็นที่น่าสนใจมากสำหรับนักดาราศาสตร์ปัจจุบัน
เพราะยังมีส่วนที่เป็นที่ก่อตัวกำเนิดดาวใหม่ๆ
อันเป็นสิ่งที่เรายังต้องการศึกษาอยู่มาก
กลุ่มดาวนายพรานมีแห่งกำเนิดดาวที่ได้รับการศึกษาค้นคว้ามากที่สุด คือ
เนบิวล่านายพราน (Orion Nebula) และ เนบิวล่าหัวม้า (Horsehead Nebula)
เนบิวล่านายพราน หรือ Orion Nebula เป็นเนบิวล่าที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ในพวกที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด แต่ก็อยู่ห่างจากโลก 1500 ปีแสง มีขนาดกว้าง
หลายๆปีแสง หากมองด้วยตาเปล่า มันจะดูเหมือนปื้นสีแดงสว่างเรืองๆ
ตรงตำแหน่งที่เป็นดาบของ "นายพราน" ใน กลุ่มดาวนายพราน หรือ โอไรอัน (Orion)
ภาพ เนบิวล่านายพราน (Orion Nebula) โดย Jason Ware
ดวงดาวทารกที่เพิ่งถือกำเนิดจาก เนบิวล่านายพราน
นี้มีอยู่สี่ดวงที่อยู่ในใจกลางกลุ่มก๊าซและฝุ่น เรียกว่า Trapezium
ดวงดาวที่ยังเยาว์วัย มีปฏิกิริยาที่เร่าร้อนรุนแรง
ก่อให้เกิดพายุพลาสมาที่คล้ายกับ ลมสุริยะ แต่มีกำลังเหนือกว่ามากมายมหาศาล
พัดเป่าก๊าซและฝุ่นรอบๆตัวออกไป จนเนื้อที่รอบๆดาวเหล่านี้ว่างเปล่า
ให้เรามองเห็นดวงดาวสุกสว่างภายในได้
ภาพดาว Trepezium จาก กล้องฮับเบิล Hubble Space Telescope (HST)
เนบิวล่าหัวม้า เป็น เนบิวล่ามืด ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด อยู่ใต้ดาว
Alnitak ในส่วนเข็มขัดนายพราน ในภาพแรก ดาวสองดวงที่ใหญ่ที่สุดด้านบน คือ Alnitak
และ Alnilam ด้านใต้ของ Alnitak ที่เห็นเป็นขีดสีดำ
อยู่ใกล้ๆกับดาวที่เป็นปื้นสีฟ้านั้น คือ เนบิวล่าหัวม้า ส่วนกลางด้านใต้ของภาพนี้
คือ เนบิวล่านายพรานที่กล่าวไว้ข้างต้น
หน้าถัดไป >>> โอไรอัน (Orion) ตำนานดาวนายพราน