สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
สมองเสื่อม
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ คณะพยาบาลศาสตร์
สมองเสื่อม คือ อะไร
คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีความเสื่อมถอยไปเรื่อยๆเกี่ยวกับ ความรอบรู้
พฤติกรรม บุคลิกภาพ ซึ่งไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด
และรุนแรงจนกระทบกระเทือนกับการใช้ชีวิตประจำวัน
ขี้ลืมกับหลงลืม เหมือนกันไหม
-ขี้ลืม -หลงลืม
จะลืมในจุดเล็กๆ และรื้อฟื้น
จะลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกินเวลานานพอควรหรือทบทวนจะนึกออก รื้อฟื้นไม่ได้เลย
หรือสับสนแม้ในสิ่งที่คุ้นเคย
-
วางปากกาไว้ที่ไหนนะ เดินไปร้านขายของหน้าบ้านแล้วกลับไม่ถูกเมื่อเช้ายังเขียนอยู่เลย จำไม่ได้เลยว่าหยิบกุญแจ
-
เอ! ล็อคประตูรถหรือยังนะ นี่เงินใคร ของฉันเหรอ
-
ทำไมเงินเหลือแค่นี้ ซื้ออะไรไปบ้าง
การลืมในผู้ป่วยสมองเสื่อม
-
ลืมเหตุการณ์ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา (จำไม่ได้ว่าไปเที่ยวแล้ว บอกว่าไม่เคยไป) แล้วค่อยๆลืมเหตุการณ์ที่เกิดใกล้เข้ามา (เมื่อเช้ากินข้าวกับอะไร)
-
กระตุ้น หรือรื้อฟื้นก็จำไม่ได้เลย
-
เหตุการณ์เก่าเมื่อหลายสิบปีก่อนยังจำได้พอควร แล้วค่อยๆเสียไปเมื่อโรคเป็นมากขึ้น
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม
ผู้ป่วยจะต้องสูญเสียความสามารถ/ความรอบรู้ของสมองหลายๆด้าน โดยต้องมีความจำเสื่อมและมีความบกพร่องอย่างน้อยอีกหนึ่งอย่างในเรื่องต่อไปนี้
-
ความผิดปกติในเรื่องภาษา
พูดไม่ถูก เรียกไม่ได้ เช่น เรียกทีวีเป็นตู้ฉายหนัง ประเมินโดยจากญาติบอก หรือให้ผู้ป่วยบอกว่าของสิ่งนั้นคืออะไร -
ทำกิจกรรมต่างๆไม่ได้
ทำไม่เป็น ทั้งที่ประสาทรับความรู้สึกและกำลังแขนขาปกติและเคยทำได้มาก่อน ประเมินโดยให้ทำตามคำบอก เช่น หวีผม หรือ ส่งหวีให้แต่ผู้ป่วยไม่รู้ต้องใช้อย่างไร -
ไม่รู้จัก ไม่รู้เรื่อง
ไม่รู้จักคนในกระจก ประเมินโดยให้หลับตาแล้วให้คลำสิ่งของ เช่น เหรียญ กุญแจ แล้วให้บอกว่าอะไรอยู่ในมือ -
คิดวางแผนจัดลำดับไม่ได้
เสียความสามารถเกี่ยวกับการวางแผน ความคิดเป็นลำดับขั้นตอน เหตุผลการตัดสินใจ ความคิดในเชิงนามธรรม เช่น ไม่ทราบว่าต้องใส่เสื้อผ้าชิ้นใดก่อน ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรก่อนหลัง
สาเหตุของการเกิดสมองเสื่อม
1.เนื้อสมองเสื่อมสลาย
2.หลอดเลือดสมองตีบ
3.ติดเชื้อในสมอง เช่น ซิฟิลิสและเอดส์
4.ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี 1 และวิตามินบี 12
5.การทำงานของต่อมไร้ท่อผิดปกติ โดยเฉพาะ ต่อมไทรอยด์
6.การกระทบกระแทกกระเทือนที่สมอง
7.เนื้องอกในสมอง
8.สมองเสื่อมเกิดจากช่องในสมองขยายใหญ่ขึ้นจากน้ำเลี้ยงสมองคั่ง
9.ยาหรือสารพิษที่มีผลต่อการทำงานของสมอง
10.การอักเสบของหลอดเลือด
การป้องกัน
ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการป้องกันโรคนี้ อย่างไรก็ตามการปฏิบัติตัวบางอย่างอาจช่วยให้สมองมีความจำที่ดีได้ ได้แก่
1.หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่สมอง เช่น
การดื่มเหล้าจัด การรับประทานยาโดยไม่จำเป็น
2.การฝึกฝนสมอง ได้แก่ การพยายามฝึกให้สมองได้คิดบ่อยๆ เช่น อ่านหนังสือ
หรือเขียนหนังสือบ่อยๆ คิดเลข ดูเกมตอบปัญหา ฝึกหัดการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ เป็นต้น
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เช่น เดินเล่น รำมวยจีน เป็นต้น
4.การพูดคุยพบปะผู้อื่นบ่อยๆ เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยงต่าง ๆ หรือเข้าชมรมผู้สูงอายุ
เป็นต้น
5.ตรวจสุขภาพประจำปี หรือถ้ามีโรคประจำตัวอยู่เดิมก็ต้องติดตามการรักษาเป็นระยะ
เช่น การตรวจหา ดูแลและรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
6.ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง ระวังการหกล้ม เป็นต้น
7.พยายามมีสติในสิ่งต่างๆ ที่กำลังทำและฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา
8.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดไวรัส เอชไอวี