ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
สาเหตุของสงคราม
ชนวนระเบิดของสงครามโลกครั้งที่ 2
เหตุการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2
ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง
สมรภูมิทางตะวันตก
สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก
สมรภูมิทางตะวันออก(เอเชีย)
รายละเอียดการรบครั้งสำคัญ ๆ ในเอเชียแปซิฟิก
สรุปภาพ สถานการณ์การรบในยุโรป
ไทย กับสงครามโลกครั้งที่ 2
สรุปภาพ สถานการณ์การรบในยุโรป
สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลงในปี 1918 ด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมัน
ฝ่ายพันธมิตรในขณะนั้นประกอบด้วย อิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษและสหรัฐอเมริกา
ได้ร่วมกันร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย (the Varsailles treaty) เพื่อจำกัดสิทธิของเยอรมัน
ในอันที่จะเป็นภัยคุกคามอีกครั้ง สนธิสัญญาแวร์ซายลงนามในวันที่ 28 มิ.ย. 1919
ส่งผลให้กองทัพเยอรมันถูกจำกัดขนาดให้เล็กลง ดินแดนต่างๆ ถูกริบ หรือยึดครอง อาทิ
ฝรั่งเศสเข้าครอบครองอัลซาส ลอเรนน์ (Alsace-Lorranine)
เบลเยี่ยมยึดอูเปนและมาลเมดี (Eupen, Malmedy) โปแลนด์เข้าครอง Posen
และปรัสเซียตะวันออกบางส่วน ดานซิก (Danzig) กลายเป็นรัฐอิสระ
ฝรั่งเศสเข้าควบคุมเหมืองถ่านหินในแคว้นซาร์ (Saar)
แลกกับการที่เยอรมันทำลายเหมืองถ่านหินของตน ทางตะวันออกเฉียงเหนือ
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ กลายเป็นเขตปลอดทหาร
(Demilitarized) และยึดครองโดยฝ่ายพันธมิตรลึกเข้าไป 30 ไมล์
นอกจากนี้เยอรมันยังต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงินอีก 6,600 ล้านปอนด์
ในเดือนมกราคม 1933 อดอฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคนาซี ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง
Chancellor ของประเทศเยอรมัน และเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศในที่สุด (Fuhrer) ในปี
1935 ฮิตเลอร์ได้เริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังตกต่ำอย่างรวดเร็ว
และในวันที่ 16 มีนาคม 1935 ฮิตเลอร์ก็ประกาศเสริมสร้างกองทัพเยอรมันขึ้นใหม่
ซึ่งเท่ากับเป็นการฉีกสนธิสัญญาแวร์ซาย แต่เนื่องจากนโยบายต่างประเทศของเขา
ที่พยายามแสดงให้พันธมิตรเห็นว่า เขาไม่ใช่ภัยคุกคามต่อพันธมิตร
และเป็นผู้ที่ต้องการสันติภาพเช่นเดียวกับอังกฤษและฝรั่งเศส
เพียงแต่ต้องการฟื้นฟูประเทศเยอรมันที่ตกต่ำเท่านั้น
ทำให้พันธมิตรนิ่งเฉยต่อการดำเนินการของฮิตเลอร์ ในเดือนมีนาคม 1936
ก็ส่งทหารกลับเข้าไปยึดครองแคว้นไรน์
ที่ตามสนธิสัญญาแวร์ซายกำหนดให้เป็นเขตปลอดทหาร
- ส่งทหารเยอรมันเข้าสนับสนุนกองกำลังชาตินิยมของนายพลฟรังโก ในสงครามกลางเมืองในสเปน
- ลงนามเป็นพันธมิตรกับมุสโสลินีของอิตาลี
- เดือนมีนาคม 1938 ผนวกออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดอาณาจักรใหม่ของเยอรมัน นั่นคือ อาณาจักรไรซ์ที่สาม (the Third Reich - new German Empire)
- เข้ายึดครองตอนเหนือของเชคโกสะโลวะเกียในเดือนกันยายน 1938 และยึดครองทั้งประเทศใน มีนาคม 1939
- เข้ายึดคองเมืองท่าเมเมล (Memel) ของลิธัวเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายเยอรมัน
- ยึดดานซิกและส่วนที่แบ่งแยกเยอรมัน กับปรัสเซียตะวันออกของโปแลนด์
เช้าของวันที่ 1 กันยายน 1939 เครื่องบินของกองทัพอากาศเยอรมัน หรือลุฟวาฟ
(Luftwaffe) ก็เริ่มต้นการทิ้งระเบิดถล่มจุดยุทธศาสตร์ในประเทศโปแลนด์
พร้อมๆกับกำลังรถถังและทหารราบ ก็เคลื่อนกำลังผ่านชายแดนโปแลนด์เข้าไปอย่างรวดเร็ว
เป็นครั้งแรกที่โลกได้เห็นสงครามสายฟ้าแลบ (Blitzkeieg)
วันที่ 2 กันยายน อังกฤษและฝรั่งเศส ในฐานะประเทศพันธมิตรของโปแลนด์
ยื่นคำขาดต่อฝ่ายเยอรมัน ให้ถอนทหารออกจากโปแลนด์ แต่ฮิตเลอร์ปฏิเสธ วันที่ 3
กันยายน 1939 ฝรั่งเศสและอังกฤษ ประกาศสงครามกับเยอรมัน
ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง
ทหารเยอรมัน กำลังรุกเข้าสู่โปแลนด์ ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 39
โดยกองทัพเยอรมันแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ กลุ่มกองทัพเหนือ (Army Group North)
รุกลงใต้จาก Pomerania และจากปรัสเซียตะวันออก และ กลุ่มกองทัพใต้ (Army Group
South) รุกเข้าไปทางชายแดนด้านตะวันตกของโปแลนด์ ภายในเวลาสองวัน
กองทัพอากาศเยอรมันก็สามารถครองน่านฟ้าเหนือโปแลนด์ได้
กองทหารโปแลนด์ถูกเยอรมันรุกแบบสายฟ้าแลบ โปแลนด์ประกาศยอมแพ้ในวันที่
27 กันยายน 1939
สงครามครั้งนี้ ชาวโปแลนด์ทั้งทหารและพลเรือนเสียชีวิตกว่า 66,000
คน บาดเจ็บ 200,000 คน ถูกจับเป็นเชลย 700,000 คน ฝ่ายเยอรมันสูญเสียน้อยกว่ามาก
โดยมีผู้เสียชีวิต 10,500 คน และบาดเจ็บ 30,300 คน
อย่างไรก็ตาม ฝันร้ายของชาวโปแลนด์เพิ่งจะเริ่มต้น เพราะต่อจากนี้ไปอีก 5
ปีแห่งการยึดครอง ชาวโปแลนด์จะถูกปฏิบัติเยี่ยงทาส
เพราะแนวความคิดของนาซีเยอรมันที่มีต่อชาวโปแลนด์ คือชนชาติชั้นทาส (a slave
nation) ดังนั้นการยึดครองโปแลนด์จึงไม่ใช่แค่การยึดครองแต่เพียงดินแดน
หากแต่ต้องการทำลายเอกลักษณ์ของชาติโปแลนด์อย่างสิ้นเชิงอีกด้วย
ภาพการสวนสนามที่เห็นนี้ นาซีเยอรมันใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์
หรือที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเรียกว่า การโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda)
เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเข็มแข็งของทหารเยอรมัน ซึ่งผลจากการเผยแพร่ภาพเหล่านี้
ทำให้ประเทศต่างๆ เกิดความเกรงกลัวศักยภาพของนาซีเยอรมันเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตามคงไม่มีใครปฏิเสธว่า ตามความเป็นจริงแล้ว กองทัพนาซีเยอรมันในขณะนั้น
นับเป็นกองทัพที่มีความเข้มแข็งที่สุดกองทัพหนึ่งของโลก
ภายหลังที่พิชิตโปแลนด์แล้ว ฮิตเลอร์ก็มองต่อไปที่นอร์เวย์ ในฐานะที่จะใช้เป็นฐานของกองทัพอากาศ ส่งเครื่องบินเข้าโจมตีเกาะอังกฤษ 4 เมษายน เยอรมันก็รุกเข้ากรุงออสโล เมืองหลวงของนอร์เวย์ ท่ามกลางการต่อต้านอย่างเหนียวแน่น แต่ไม่นานออสโลก็ยอมแพ้ วันที่ 14 พฤษภาคม 1940 กองทัพเยอรมันก็รุกข้ามแม่น้ำเมิร์ส (Meuse) ที่เมืองซีดาน (Sedan) ล้อมทหารอังกฤษและฝรั่งเศส ที่อยู่ในเบลเยี่ยมและฝรั่งเศสตอนเหนือ
ในการโจมตีเกาะอังกฤษของฮิตเลอร์ ตามแผนยุทธการสิงโตทะเล (Sealion) ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม1940 ในแนวรบด้านรัสเซีย ภายหลังยกเลิกยุทธการสิงโตทะเลในการบุกเกาะอังกฤษแล้ว ฮิตเลอร์เตรียมบุกรัสเซีย แต่ก็ต้องส่งกำลังเข้าบุกยูโกสลาเวียใน 6 เมษายน 1941 และกรีซ (Greece) ก่อน เพราะรัฐบาลยูโกสลาเวียที่เป็นฝ่ายเยอรมันถูกโค่นล้ม โดยฝ่ายปฏิวัติที่สนับสนุนโดยทหารอังกฤษที่กรีซ ซึ่งทำให้แผนการบุกรัสเซียต้องล่าช้าออกไป
เยอรมันใช้เวลาเพียง 10 วันในการยึดยูโกสลาเวีย และใช้เวลากว่าสองสัปดาห์ ยึดกรีซได้สำเร็จ หลังจากต้องเสียเวลาในการจัดการกับประเทศในบอลข่านแล้ว ฮิตเลอร์ก็เปิดฉากบุกรัสเซียในเวลา 03.30 รุ่งอรุณของวันที่ 22 มิถุนายน 1941 ในยุทธการบาร์บารอส
ภายหลังจากที่เยอรมันพิชิตเบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศสแล้ว กองทัพเยอรมันก็รุกมาอยู่ที่ชายฝั่งของฝรั่งเศสตรงข้ามกับเกาะอังกฤษ ฮิตเลอร์ก็วางแผนที่จะบุกเกาะอังกฤษ เป็นขั้นตอนต่อไป โดยมุ่งบุกไปทางตอนใต้ของเกาะ ภายใต้ชื่อยุทธการ สิงโตทะเล (Sealion)
การโจมตีที่หนักที่สุดมีขึ้นในวันที่ 16 เมษายน 1941 จนเกิดคำศัพท์ใหม่ในพจนานุกรมว่า Blitz ซึ่งการโจมตีครั้งนี้ส่งผลให้ถนนหนึ่งในสามของลอนดอนถูกทำลาย ครอบครัว 160,000 ครอบครัวไม่มีน้ำปะปา ไฟฟ้า และแก๊สใช้
ปลายเดือนมิถุนายน ภายหลังจากสูญเสียเครื่องบินไปเป็นจำนวนมาก เยอรมันก็เริ่มอ่อนล้า ประกอบกับฮิตเลอร์เริ่มมองไปที่แนวรบด้านตะวันออก พร้อมทั้งเตรียมการบุก 12 ตุลาคม 1941 ฮิตเลอร์ก็เลื่อนยุทธการสิงโดทะเลออกไปอย่างไม่มีกำหนด และหันไปเปิด แนวรบด้านตะวันออก กับรัสเซียแทน ปล่อยให้อังกฤษมีเวลาฟื้นตัว และกลายเป็นฐานทัพของฝ่ายพันธมิตรในการส่งกองทัพอากาศเข้าโจมตีเยอรมัน และเป็นฐานในการยกพลขึ้นบกครั้งสำคัญใน วันดีเดย์ ซึ่งส่งผลให้เยอรมันตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในที่สุด
วันที่ 6 มิถุนายน 1944 ถือว่าเป็นวันดี เดย์ เป็นวันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรกองทัพอเมริกันและสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งนอร์มังดีของฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญมากของสงครามตอนนั้นโจมตีป้อมปราการยุโรปของฮิตเลอร์ (Fortress Europe) ด้วยกำลังมหาศาลเท่าที่เคยมีมา เพื่อเปิดสงครามด้านที่สองของเยอรมัน ซึ่งกำลังเผชิญกับรัสเซียทางด้านตะวันออก กำลังของฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมดก็ออกจากอังกฤษ มุ่งหน้าสู่นอร์มังดี (Normandy) นับจากวันดีเดย์เป็นต้นไป เยอรมันก็เริ่มเป็นฝ่ายถอย ชัยชนะที่มีมาแต่ต้น การเริ่มต้นของการปลดปล่อยฝรั่งเศสก็เริ่มต้นขึ้น พร้อมๆกับการเริ่มต้นของการล่มสลายของระบอบนาซีในปี 1945