สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

ภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์

หลักการของภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์
ผู้นำแบบสร้างสรรค์ ในฐานะหัวหน้าสูงสุดด้านการเรียนรู้ของโรงเรียน
ผู้นำแบบสร้างสรรค์กับการตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ลุ่มลึก
ผู้นำ แบบสร้างสรรค์กับ การวิเคราะห์และตีความข้อมูล
ผู้นำแบบสร้างสรรค์กับกลยุทธ์การส่งเสริมนวัตกรรมหรืองานสร้างสรรค์
ผู้นำแบบสร้างสรรค์กับการสร้างการเรียนรู้แบบทีม

ผู้นำแบบสร้างสรรค์กับการตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ลุ่มลึก

(Asking the Right Questions)

ผู้นำแบบสร้างสรรค์ในฐานะผู้นำการเรียนรู้ ควรเปลี่ยนจุดเน้นเดิมที่เน้นเรื่อง กระบวน การสอนของครู (Teaching process) และงานที่มอบหมายให้ครูทำไปสู่จุดเน้นเรื่องการสร้างโอกาสการเรียนรู้ของนักเรียนและงานที่มอบหมายให้นักเรียนทำมากกว่า โดยการเปลี่ยนจุดเน้นเช่นว่านี้ จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพลวัตด้านภาวะผู้นำ (Leadership dynamic) ด้วย กล่าวคือ แม้งานนิเทศครูยังมีความจำเป็นเมื่อมองในแง่เพื่อการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนก็ตาม แต่ยังมีความสำคัญน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการที่ผู้นำเปลี่ยนไปใช้วิธีทำงานร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครู เพื่อวางแผนการเรียน การจัดตารางเรียนและการนำนักเรียนเพื่อการทำงานวิชาการ ทั้งนี้ ผู้นำ ซึ่งแต่เดิมมีทักษะหลัก คือ ทักษะการสังเกต การประเมินและการกำกับดูแลการเรียนการสอนนั้น จำเป็นต้องมีทักษะสำคัญเพิ่มเติมได้แก่ ทักษะในการฟัง (Listening) ทักษะการต้องคำถาม (Questioning) ทักษะในการตั้งข้อพิสูจน์ (Probing) และทักษะการให้คำแนะนำ (Guiding) เป็นต้น ซึ่งทักษะเหล่านี้จะสะท้อนให้เห็นในการใช้แบบภาวะผู้นำ (Leadership style) ของผู้บริหารจากเดิมเป็นแบบ “นักบอกคำตอบ” (Declarative) ไปเป็น “นักตั้งคำถาม” (Interrogative) แทน

เพื่อให้ประสบความสำเร็จ ผู้นำแบบสร้างสรรค์จะต้องพัฒนาเทคนิค “การบริหารแบบแวะเวียนไปเยี่ยม หรือ Managing By Wandering Around (MBWA) “ให้เชี่ยวชาญ เทคนิคดังกล่าวเป็นเรื่องทั้งศิลปะ (Art) และการปฏิบัติ (Practice) การรับฟัง (Listening) และการเรียนรู้ (Learning) โดยสาระสำคัญที่ได้จากเทคนิค MBWA ถือเป็นการสร้างสัมพันธ์ (Relationships) ที่ดีควบคู่ไปกับการสร้างความไว้วางใจ (Trust) ที่ดีต่อกันอีกด้วย

MBWA ทำให้ผู้นำต้องออกจากห้องทำงานของตน เป็นการเพิ่มการปรากฏตัวให้เห็น (Visibility) และสร้างความใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานทั้งครูและนักเรียนมากขึ้น ผู้นำสามารถดำเนินการตามขั้นตอน MBWA ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. ทำการติดต่อแบบตัวต่อตัว (Face to face) กับลูกค้า (Customers) และผู้ที่เป็นลูกค้าโดยตรงของครูใหญ่ก็คือครู ในฐานะที่เป็นผู้นำทางวิชาการ ครูใหญ่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการพบปะสนทนากับครูทั้งภายในภายนอกห้องเรียนเพื่อหารือในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน

2. พยายามสร้างโอกาสให้ตนสามารถเข้าถึงก้นบึ้งของปัญหาหรือความคิดเห็นที่แท้จริงด้วยการรับฟังอย่างตั้งใจ ซึ่ง Tom Peters ปรมาจารย์ด้านบริหารเรียกว่า “วิธีฟังอย่างจริงใจ (Naive listening)” กล่าวคือ ทำการรับฟังด้วยใจที่เปิดกว้าง (Open mind) มากกว่าการรวบรัดการสนทนาให้เข้าประเด็นที่ตนมีจุดยืนล่วงหน้าไว้แล้ว

3. ตอบสนองโดยเร็วต่อสิ่งที่ได้รับฟัง ทั้งนี้การตอบสนองและการลงมือทำตามที่รับปากกับคู่สนทนาโดยพลัน จะช่วยสร้างความรู้สึกที่ไว้วางใจ (Trust) และช่วยสร้างโอกาสให้เกิดการรับฟังและการเรียนรู้ในอนาคตได้ง่ายขึ้น


4. ค้นหาสาระที่แท้จริงซึ่งซ่อนเร้นภายใต้การสนทนาแบบผิวเผิน โดยใช้คำถามที่มีอำนาจทะลุทะลวง (Penetrating questions)ให้ได้คำตอบแท้จริง โดย การทำให้บรรยากาศการสนทนาเป็นแบบสบาย ๆ ไม่รู้สึกอึดอัด มีความจริงใจและเป็นกันเอง จะช่วยทำให้ปัญหาทั้งหลายขององค์การที่ผู้นำอาจไม่เคยทราบมาก่อน ได้รับการนำขึ้นมาสนทนาและร่วมกันหาทางแก้ไข ประเด็นปัญหาสำคัญของผู้นำที่ต้องทราบในเรื่องนี้ได้แก่ คำถามประเภทใดที่ผู้นำทางวิชาการควรนำมาถาม และผู้นำจะนำการสนทนากับครูอาจารย์อย่างไรจึงจะได้คำตอบหรือสาระที่นำมาสู่การสร้างโอกาสการเรียนรู้ของนักเรียนได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น เป็นต้น ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นที่ควรถามเช่น

  • จริง ๆ แล้ว พวกเรามีความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไร
  • เราได้สร้างความน่าท้าทายและกระตุ้นให้นักเรียนอยากรู้อยากเรียนเพียงพอแล้วหรือยัง
  • ในชั้นเรียนตามปกติมีนักเรียนจำนวนเท่าไรที่แสดงความกระตือรือร้นต่อการเรียนเป็นประจำ
  • มีหลักฐานอะไรที่บ่งชี้ว่า นอกจากข้อมูลผลการทำข้อสอบมาตรฐานแล้ว เรามีวิธีการอย่างอื่นที่ใช้อยู่แล้วเพื่อให้ทราบว่า ผลการเรียนรู้ของนักเรียนของเราบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ
  • อะไรคืออุปสรรค์สำคัญที่ขัดขวางการเรียนรู้ของนักเรียน ที่พวกเรายากที่แก้ไขได้
  • ขณะนี้เรายังขาดอะไรบ้างที่จำเป็นต่อการสอนที่ดีมีประสิทธิผลของครู
  • ยังมีความรู้และทักษะใดขาดบ้างที่นักเรียนจำเป็นต้องมีหรือต้องปฏิบัติได้ เมื่อเขาจบจากโรงเรียนของเรา
  • เราจะทำการบูรณาการเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปในหลักสูตรและการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
  • เราจะมีวิธีบริหารเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างไรและทำอย่างไรเราจึงสามารถช่วยลดภาระงานอื่นที่มิใช่งานด้านเรียนการสอนของครูได้อย่างไร
  • เรายังต้องการข้อมูลอะไรเพิ่มเติมอีกบ้างที่จำเป็นและช่วยให้เรารู้จักและเข้าใจนักเรียนของเรามากยิ่งขึ้น

การถามคำถามแบบนี้หรือคำถามอื่นที่คล้ายทำนองนี้ จะทำให้ขยายวงสนทนาทั้งรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งโรงเรียนได้มากขึ้น ทั้งนี้จุดหมายปลายทางของการสนทนาก็คือ การยกระดับคุณภาพการคิดเชิงสร้างสรรค์(Productive thinking) ของครูและบุคลากรของโรงเรียน ผู้นำทางวิชาการที่มีประสิทธิผล จะต้องไม่อยู่แต่ภายในสำนักงานของตน แต่จะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ร่วมงานกับคณะอาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง และสมาชิกอื่นของชุมชน เพื่อเปิดวงสนทนาแบบมีส่วนร่วมต่อประเด็นสำคัญคือ การปรับปรุงโอกาสการเรียนรู้ที่โรงเรียนจัดให้กับนักเรียน

ทักษะการเป็นผู้นำ
บันไดสู่ความเป็นผู้นำ
ภาวะผู้นำปริวรรต
ภาวะผู้นำแบบสร้างสรรค์

 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย