ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

รัตนโกสินทร์ตอนต้น

(รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 3)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
การปกครองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์
กฎหมายและการศาล
เศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สภาพสังคมและการศึกษา
การศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี
วรรณกรรมและศิปลกรรม
การป้องกันเอกราชของประเทศ
ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี

ศาสนา

การสังคายนาและชำระพระไตรปิฎก
การเสียกรุงครั้งที่ 2 ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมลงไปมาก และพระไตรปิฎกก็บกพร่องอยู่มาก รัชกาลที่ 1 จึงมีพระราชดำริให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นที่วัดมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ.2331 ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน พระสงฆ์ที่มีส่วนสำคัญในการสังคายนาพระไตรปิฎกนี้ ได้แก่ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) พระวันรัต (สุ) พระพิมลธรรม (วัดพระเชตุพนฯ) พระพุฒาจารย์ (เป้า) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ชำระพระไตรปิฎกตั้งแต่ครั้งกรุงเก่าที่กระจัดกระจาย ให้เป็นระเบียบหมวดหมู่ แล้วจารลงบนใบลาน คัดลอกพระไตรปิฎกเป็นฉบับหลวงขึ้น ปิดทองทั้งปกหน้าปกหลัง แลด้านข้างเรียกว่า “ฉบับทองหรือทองใหญ่ หรือฉบับทองทึบ” และเชิญประดิษฐานไว้ในตู้ประดับมุก ในหอพระมณเทียรธรรมกลางสระ ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง

  • สมัยรัชกาลที่ 2 ทรงส่งสมณทูตไปยังลังกาเพื่อศึกษาความเป็นของศาสนาในลังกาและได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาจากลังกา
  • สมัยรัชกาลที่ 3 ทรงให้ตรวจสอบพระไตรปิฎกทั้งจากลังกาและมอญ และให้จารึกอย่างสวยงาม สมัยนี้ได้รับยกย่องว่ามีพระไตรปิฎกที่สวยงามและถูกต้องที่มากที่สุด

การสังคายนาพระธรรมวินัย รัชกาลที่ 1
ทรงออกกฎหมายสำหรับพระสงฆ์หลายฉบับ เพราะพระสงฆ์สมัยนั้นหย่อนพระธรรมวินัยไปมาก ไม่สนใจเล่าเรียนพระไตรปิฎก การเทศน์ พระสงฆ์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของฆราวาส จึงจำเป็นเข้าต้องกำหนดโทษขั้นรุนแรง สมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สำรวจความประพฤติของสงฆ์ ปรากฏว่าพระสงฆ์ถูกจับสึกและหนีเข้าป่าเป็นอันมาก

การตั้งธรรมยุติกนิกาย
ในสมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฏทรงผนวชอยู่ ณ วัดมหาธาตุ ทรงสนพระทัยศึกษาพระไตรปิฎก พระพุทธวจนะ และพระธรรมวินัยและทรงเห็นว่า พระภิกษุสงฆ์ในสมัยนั้นไม่ได้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย จึงต้องการจะทำการสังคายนาเสียใหม่ พระองค์ได้ทรงพบพระภิกษุรามัญผู้หนึ่ง ชื่อ ซาย เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก พระองค์จึงทรงถือเป็นแบบอย่างและทรงปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ข้อปฏิบัติของพระองค์จึงผิดไปจากพระสงฆ์รูปอื่นๆ การห่มผ้าก็เป็นแบบรามัญ พระองค์จึงย้ายที่ประทับมาอยู่ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ทรงให้นามคณะสงฆ์ของพระองค์ว่า “คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย” ส่วนคณะสงฆ์เดิมเรียกตนเองว่า “คณะสงฆ์มหานิกาย” หลักธรรมของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ถือว่าเป็นหลักธรรมถูกต้อง เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผลมากขึ้น ทำให้ใกล้ชิดและได้รับความเลื่อมใสจากประชาชนมากขึ้น ที่สำคัญคือ มีการเปลี่ยนแปลงการเทศน์ จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย ทำให้เข้าใจง่าย

การส่งสมณทูตไปลังกา
สมัยรัชกาลที่ 2 ได้มีพระภิกษุลังกา ชื่อ พระสาสนวงศ์ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและต้นโพธิ์ลังกามาถวายใน พ.ศ. 2357 ไทยได้ส่งสมณทูตไปยังลังกาทวีป เพื่อสอบสวนพระศาสนาทั้งหมด 9 รูป มีพระอาจารย์ดีกับพระอาจารย์เทพเป็นหัวหน้า และได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาจากลังกา 6 ต้น ถือว่าเป็นต้นโพธิ์ที่สืบเชื้อสายมาจากต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่พุทธคยาในอินเดีย โปรดเกล้าฯให้นำไปปลูกที่นครศรีธรรมราช 2 ต้น วัดสุทัศน์ฯ 1 ต้น วัดสระเกตุฯ 1 ต้น ที่กลันตัน 1 ต้น และวัดมหาธาตุ 1 ต้น สมัยรัชกาลที่ 3 พระสงฆ์เดินทางไปลังกาเพื่อขอยืมพระไตรปิฎกมาตรวจสอบกับของไทย 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 พ.ศ.2385 ครั้งที่ 2 พ.ศ.2387 กว่าจะส่งคืนก็ล่วงเข้าสมัยรัชกาลที่ 4

การสร้างและปฏิสังขรณ์วัด
ศาสนานับเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งปวงไม่ว่าประชาชนหรือพระมหากษัตริย์ ส่วนหนึ่งของพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เกือบทุกรัชกาลในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือ การสร้างและปฏิสังขรณ์วัด มีดังนี้

  1. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวังชั้นนอก เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับวัดพระศรีสรรเพชญสมัยอยุธยา และวัดมหาธาตุสมัยกรุงสุโขทัย เป็นที่ประดิษฐานแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร วัดนี้จึงได้ชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “วัดพระแก้ว”
  2. วัดสุทัศนเทพวราราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขนาดใหญ่เช่นเดียวกับวันพนัญเชิงสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณกำแพงพระนครตรงใจกลางเมืองกรุงเทพฯ เป็นที่ประะดิษฐานของพระศรีศากยมุนี หรือพระโตหล่อด้วยโลหะ ซึ่งอัญเชิญมาจากวิหารหลวงวัดมหาธาตุ สุโขทัย วันนี้ได้ชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “วัดพระโต”
  3. วัดพระเชตุพนวิมลคลาราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่จากเดิมชื่อว่า วัดโพธาราม พระราชทานนามว่า “วัดพระเชติพนวิมลมังคลาวาส ต่อมาเปลี่ยนเป็น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (สมัยรัชกาลที่ 4) เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่จากวัดพระศรีสรรเพชญ กรุงศรีอยุธยา และพระพุทธสาวกปฏิมากร วัดคูหาสวรรค์ กรุงธนบุรี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่และโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ ราชบัณฑิต และช่างต่างๆให้ช่วยกันชำระตำราต่างๆ เช่น วิชาแพทย์โบราณ ยาแก้โรคต่างๆ ตำราหมอนวด กวีนิพนธ์ต่างๆ โดยจารึกไว้บนแผ่นศิลาตามเสาและผนังรายรอบบริเวณวัด วัดนี้จึงจัดว่าเป็น “วิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทย”
  4. วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดมะกอก แล้วเปลี่ยนเป็นวัดแจ้งในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร (รัชกาลที่ 2) ได้ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่ เมื่อขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดว่า วัดอรุณราชธาราม ภายหลังเปลี่ยนเป็น วัดอรุณราชวราราม วัดนี้มีพระปรางค์องค์ใหม่ที่เป็นปูชนียสถานที่สำคัญและงดงามมาก

ขนบธรรมเนียมประเพณี

ขนบธรรมเนียมประเพณีสมัยต้นรัตนโกสินทร์ยึดตามแบบอยุธยา ที่สำคัญได้แก่

  1. ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์ (โกนจุก) พระราชพิธีพระเมรุมาศ (การเผาพระบรมศพ) พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีสมโภชช้างเผือก ฯลฯ
  2. ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับพราหมณ์ เช่น พิธีการโล้ชิงช้า การสร้างโบสถ์พราหมณ์ ฯลฯ
  3. ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวบ้านเมือง เช่น พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระราชพิธีอาพาธพินาศ พระราชพิธีพืชมงคล ฯลฯ
  4. ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับชาวบ้าน เช่น การเล่นเพลงสักวา พิธีการทำขวัญนาค การแต่งงาน การเผาศพ การโกนจุก พิธีตรุษสงกรานต์ สารทไทย ฯลฯ
  5. ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น พิธีวิสาขบูชา อาสาฬหบูชา มาฆบูชา เข้าพรรษา ออกพรรษา การบวชนาค เทศน์มหาชาติ สมโภชพระแก้วมรกต ฯลฯ

พระราชพิธีและขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆที่สำคัญๆ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ได้รับการฟื้นฟูหลายพิธี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีสมโภชช้างเผือก พระราชพิธีสมโภชพระแก้วมรกต การเล่นสักวา พระราชพิธีตรียัมปวาย(โล้ชิงช้า) พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตรา ทางสถลมารคและชลมารค พระราชพิธีอาพาธพินาศ พระราชพิธีวันวิสาขบูชา ฯลฯ พระราชพิธีดั้งเดิมเก่าแก่ของไทยนี้แสดงให้เห็นถึงอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรือง ความสามัคคีกลมเกลียวของคนในชาติ รวมทั้งความมั่นคงเป็นปึกแผ่นมาช้านานของชาติไทย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

🍁 ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

🍁 สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

🍁 ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

🍁 พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

🍁 สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

🍁 กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

🍁 ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้

🍁 ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
ผู้เรียนเป็นฝ่ายสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง มิใช่ได้มาจากครูและในการสร้างความรู้นั้น ผู้เรียนจะต้องลงมือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา

🍁 ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
มิติทางวิชาการหลายมิติที่ซ้อนทับ เคลื่อนไหว และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในทุกบริบทที่เกี่ยวข้อง

🍁 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
สังคมทุกสังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ตราบใดที่สังคมนั้นยังต้องมีการติดต่อและสัมพันธ์กับสังคมอื่น การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง

🍁 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์

🍁 กำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิต
ทำไมโลกซึ่งแต่เดิมเป็นลูกไฟดวงหนึ่ง ไม่ได้ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น จึงเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตได้มากมายเช่นนี้

🍁 โรคสัตว์สู่คน

🍁 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

🍁 โรคอารมณ์สองขั้ว

🍁 คู่มือ อสม.กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

🍁 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด

🍁 ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจ

🍁 การจูงใจ

🍁 การแกว่งแขน รักษาโรค

🍁 ประวัติขนมไทย

🍁 กัญชา

🐍 โปรดระวังงูฉก

สภาพสังคมที่เปลี่ยนไป
สภาพแวดล้อมเริ่มไม่เป็นมิตร

ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต
คือความแปรปรวนทางจิตใจ
ขาดความมั่นคงทางอารมณ์

ความเสี่ยงสูงต่อการที่จะความล้มเหลว
ถ้าไม่ปรับตัวรับมือความเปลี่ยนแปลง

ประคับประคองชีวิต
เปลี่ยนแนวคิดและเป้าหมายถ้าจำเป็น

ซื่อสัตย์ต่อตนเองและหลักการ
แน่วแน่แก้ไข...

ไม่มีอะไรมาทำร้ายได้.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ลำปาง นครแห่งความสุข
ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเนิ่นนานเพียงใด สิ่งที่เรียกว่าเพื่อนจะอย่างไรก็ยังคงเป็นเพื่อนอยู่อย่างนั้น อีกครั้งที่ได้เรียนรู้และสัมผัส มิตรภาพอันอบอุ่นท่ามกลางความหนาวเย็นหน่อยๆแห่งลำปาง

🌿 พาเด็กไปเลี้ยงแกะ (สวนผึ้ง ราชบุรี)
หายใจเอาอากาศดีๆเข้าปอด ในอ้อมกอดแห่งพืดเขาตะนาวศรี ธารน้ำร้อน โป่งยุบ น้ำตก ไอติมกะทิมะพร้าวอ่อนแสนอร่อย ที่รัก จะนอนกลางดิน จะกินกลางดาว หรือจะขับถ่ายกลางสายธารก็แล้วแต่ ด้วยข้อมูลจากความรู้สึกอันเป็นการส่วนตัว "สวนผึ้ง" ย่อมไม่ได้มีแค่แกะให้เลี้ยง อย่างแน่นอน

🌿 ปั้นทรายโลก บูชาพระพิฆเนศ เมืองแปดริ้ว
จากตื่นตาตื่นใจ เป็นเลื่อมใสศรัทธาศิลปินผู้สร้างจากนั้นดูเหมือนว่าจะต้องมนต์สะกด ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จย่อมอยู่ที่นั่น การแบ่งปั้นย่อมบังเกิด อลังการของปะติมากรรมทรายในรูปแบบต่างๆ ที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวได้อย่างน่าอัศจรรย์และเหมือนจริง

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆